dc.contributor.advisor |
กัญจน์ศักดิ์ เพชรานนท์ |
|
dc.contributor.author |
ชลลดา เสรีสมนึก |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-08-04T05:54:45Z |
|
dc.date.available |
2023-08-04T05:54:45Z |
|
dc.date.issued |
2565 |
|
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82372 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 |
|
dc.description.abstract |
“ทรัพย์อิงสิทธิ” ถูกสร้างและรับรองขึ้นโดยพระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. 2562 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 27 ตุลาคม 2562 โดยมีหลักการสำคัญคือ เป็นสิทธิที่ให้บุคคลหนึ่งสามารถใช้สอยประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลอื่นได้เสมือนตนเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยพระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. 2562 กำหนดให้สามารถนำสิทธิดังกล่าวไปเป็นหลักประกันการชำระหนี้โดยการจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้
ตามมาตรา 703 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทรัพย์สินที่จำนองได้แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์จดทะเบียนที่กฎหมายกำหนดให้จำนองได้ ซึ่งคำว่า “อสังหาริมทรัพย์” ตามมาตรา 139 นอกจากจะหมายถึงที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวรหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น ยังหมายความรวมถึงทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินนั้นด้วย แต่ในทางปฏิบัติทรัพย์สินที่นำมาจำนองเป็นการทั่วไปมักอยู่ในรูปแบบของวัตถุซึ่งมีรูปร่างทั้งสิ้น ดังนั้นจึงต้องศึกษาว่า “ทรัพย์อิงสิทธิ” เป็นทรัพย์สินที่สามารถนำมาจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้จริงหรือไม่ หากจำนองได้จะมีรูปแบบและวิธีการในการจำนองอย่างไร และจะนำกฎหมายว่าด้วยเรื่องจำนองมาปรับใช้กับทรัพย์อิงสิทธิอย่างไร นอกจากนี้จะมีประเด็นปัญหาใดๆ ในทางกฎหมายเกี่ยวกับการจำนองทรัพย์อิงสิทธิหรือไม่อย่างไร
จากการศึกษาพบว่าทรัพย์อิงสิทธิยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องเนื้อหาแห่งสิทธิ สถานะทางกฎหมาย และการกำหนดมูลค่า อาจทำให้มีปัญหาในการนำไปจำนองตามกฎหมาย จึงเสนอแนะว่าหน่วยงานผู้ร่างกฎหมายควรจัดทำคำอธิบายหลักเกณฑ์และวิธีการจำนองทรัพย์อิงสิทธิ รวมถึงแนวทางการนำบทบัญญัติว่าด้วยการจำนองมาปรับใช้กับทรัพย์อิงสิทธิ นอกจากนี้วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ยังเสนอให้มีการปรับแก้ไขกฎหมายทรัพย์อิงสิทธิในบางมาตราอีกด้วย |
|
dc.description.abstractalternative |
Rights over leasehold asset was created and recognized by Rights over Leasehold Asset Act B.E. 2562 (2019) with effect from 27th of October 2019. A holder of the rights over leasehold asset has a right to utilize the immovable property as if he/she is a property owner within a specific period. According to the Act, the rights over leasehold asset can be used as collateral for a mortgage under the Civil and Commercial Code.
Under Section 703 of the Civil and Commercial Code, a mortgaged property can be classified into two categories which are immovable property and movable property with regard to which the law may provide registration for that purpose. Following to Section 139, “Immovable property” means land and things fixed permanently to land, and includes real rights connected with the land. Practically, properties which usually being mortgaged are things or corporeal objects. Thus, it is necessary to study whether the “rights over leasehold asset” can be mortgaged or not. If yes, how can it be mortgaged? How can we apply legal provisions in respect of the mortgage on the rights over leasehold asset? Will there be any legal problems regarding mortgage on the rights over leasehold asset?
According to this study, the rights over leasehold asset still has unclear substance, legal status, and valuation. These could lead to legal problems regarding mortgage according to the laws. Thus, the legislator should prepare an explanation on principles and methods of mortgage on the rights over leasehold asset, including how to apply legal provisions of the mortgage on the rights over leasehold asset. In addition, this thesis proposed changes to a provision with respect to the rights over leasehold asset. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.646 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Social Sciences |
|
dc.subject.classification |
Real estate activities |
|
dc.subject.classification |
Journalism and reporting |
|
dc.title |
ปัญหาทางกฎหมายในการนำทรัพย์อิงสิทธิมาจำนอง |
|
dc.title.alternative |
Legal issues on mortgage of rights over leasehold asset |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
นิติศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2022.646 |
|