DSpace Repository

การศึกษาวิจัยแบบสุ่มเปรียบเทียบปริมาณฝอยละอองน้ำลายระหว่างการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนชนิดเพื่อการวินิจฉัยในผู้ป่วยที่มีและไม่มีกล่องครอบศีรษะ

Show simple item record

dc.contributor.advisor รภัส พิทยานนท์
dc.contributor.advisor รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร
dc.contributor.author จักรภพ ชัยขจรวัฒน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-08-04T06:08:19Z
dc.date.available 2023-08-04T06:08:19Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82521
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract ที่มาและวัตถุประสงค์: การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนเป็นหัตถการที่ก่อให้เกิดฝอยละอองฟุ้งกระจายซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อก่อโรคทางเดินหายใจชนิดต่าง ๆ รวมถึงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อบุคคลากรทางการแพทย์ การศึกษานี้ต้องการศึกษาประสิทธิภาพของการใช้กล่องอะคริลิคครอบศีรษะของผู้ป่วยต่อการลดการฟุ้งกระจายของฝอยละอองระหว่างส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนชนิดเพื่อการวินิจฉัย ระเบียบวิธีการวิจัย: การศึกษาควบคุมแบบสุ่มในผู้ป่วยที่รับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนชนิดเพื่อการวินิจฉัยระหว่างเดือนกันยายนถึงธันวาคม พ.ศ. 2564 ผู้ป่วยได้รับการสุ่มให้อยู่ในกลุ่มที่มีกล่องครอบศีรษะ (กลุ่มศึกษา) หรือกลุ่มที่ไม่กล่องครอบศีรษะ (กลุ่มควบคุม) วัดปริมาณฝอยละอองด้วยเครื่องวัดปริมาณอนุภาคฝอยละอองที่ติดตั้งที่ตำแหน่งวิสัญญีพยาบาลและแพทย์ผู้ส่องกล้องอย่างต่อเนื่องระหว่างทำหัตถการ ศึกษาค่าเฉลี่ยของความแตกต่างของปริมาณฝอยละอองน้ำลายระหว่างการทำหัตถการและก่อนการทำหัตถการเทียบระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่มีและไม่มีกล่องครอบศีรษะ และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของปริมาณฝอยละอองน้ำลาย รวมทั้งความปลอดภัยของการใช้กล่องครอบศีรษะระหว่างการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน ผลการวิจัย: จากผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษา 196 คน ผู้ป่วย 190 คนได้รับการวิเคราะห์ ข้อมูลพื้นฐานประชากรไม่แตกต่างกันระหว่างสองกลุ่ม ค่าเฉลี่ยระยะห่างระหว่างใบหน้าแพทย์ผู้ส่องกล้องกับปากผู้ป่วย 67.2±4.9 เซนติเมตร ค่าเฉลี่ยของความแตกต่างของปริมาณฝอยละอองน้ำลายขนาด 0.3, 0.5 และ 1.0 ไมโครเมตรระหว่างทำเทียบกับก่อนทำหัตถการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนชนิดเพื่อการวินิจฉัยที่ตำแหน่งวิสัญญีพยาบาล และ ฝอยละอองน้ำลายขนาด 0.3 ไมโครเมตรที่ตำแหน่งแพทย์ผู้ส่องกล้อง พบว่ามีค่าลดลงในกลุ่มที่มีกล่องครอบศีรษะ และเพิ่มขึ้นในกลุ่มควบคุม (P<0.001, 0.001, 0.014 และ <0.001 ตามลำดับ) การไอ การเรอ และการเคลื่อนไหวของร่างกายของผู้ป่วยระหว่างรับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนทำให้ฝอยละอองน้ำลายเพิ่มขึ้น ไม่พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในการกลุ่มที่มีกล่องครอบศีรษะ สรุปผล: การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนชนิดเพื่อการวินิจฉัยในผู้ป่วยที่มีกล่องครอบศีรษะมีความปลอดภัย และสามารถลดการฟุ้งกระจายของฝอยละอองน้ำลายสู่บุคคลากรทั้งวิสัญญีพยาบาลและแพทย์ผู้ส่องกล้อง
dc.description.abstractalternative Background: Esophagogastroduodenoscopy (EGD) has been identified as an aerosol-generating procedure (AGP) during the COVID-19 pandemic. The risk of AGP and benefits of utilizing protective measures have never been fully studied. Objective: To evaluate the efficacy of head box during diagnostic EGD. Methods: A randomized control, open label study in patients scheduled for diagnostic EGD between September and December 2021 was conducted. Patients were randomly assigned to either head box group or without head box group (control group). Particles were measured with 6-size particle counters at the nurse anesthetist and endoscopist position.  Primary composite outcomes were the mean difference of aerosol particle levels during and before EGD at the nurse anesthetist face position and at the endoscopist face position. Secondary outcomes were factors increasing aerosol particle levels and safety of the head box. Results: From 196 enrolled patients, 190 were analyzed. Baseline characteristics were not different between the two groups. The mean distance between endoscopist face and patient mouth was 67.2±4.9 cm. The mean differences of 0.3-, 0.5- and 1.0-micron particles during the procedure and at baseline before the procedure at nurse anesthetist position and the mean differences of 0.3-micron particles at the endoscopist position was found to have decreased in the head box group and increased in the control group (P<0.001, 0.001, 0.014 and P<0.001, respectively). Cough, burping, and body movement increased aerosol particles. No additional adverse events were observed in the head box group. Conclusions: EGD with the head box is safe and can reduce significant aerosolization to endoscopy personnel including nurse anesthetists and endoscopists. 
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.1019
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Medicine
dc.subject.classification Human health and social work activities
dc.subject.classification Medicine
dc.title การศึกษาวิจัยแบบสุ่มเปรียบเทียบปริมาณฝอยละอองน้ำลายระหว่างการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนชนิดเพื่อการวินิจฉัยในผู้ป่วยที่มีและไม่มีกล่องครอบศีรษะ
dc.title.alternative The comparison of aerosol particle during diagnostic upper gastrointestinal endoscopy in patients with and without head box: a randomized control trial
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline อายุรศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2022.1019


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record