DSpace Repository

ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของอาการโรคหืดในพนักงานทำความสะอาด ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor พรชัย สิทธิศรัณย์กุล
dc.contributor.advisor เจตน์ รัตนจีนะ
dc.contributor.author ศิวกร สันตินิภานนท์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-08-04T06:08:36Z
dc.date.available 2023-08-04T06:08:36Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82545
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract อาชีพพนักงานทำความสะอาดเป็นอาชีพหนึ่งที่มีความเสี่ยงสูงในการสัมผัสกับปัจจัยเสี่ยงสารเคมีจากการทำงาน พนักงานทำความสะอาดมีการสัมผัสสารที่ใช้ในขั้นตอนการทำความสะอาดที่หลายชนิดก่อให้เกิดโรคหืดได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของอาการโรคหืดในกลุ่มพนักงานทำความสะอาด ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการทำงาน ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และข้อมูลเกี่ยวกับอาการทางระบบการหายใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์อาการโรคหืดและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยใช้สถิติ Multiple logistic regression ผลการศึกษาพบว่า มีผู้เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 340 คน ความชุกของอาการโรคหืดในพนักงานทำความสะอาดเท่ากับร้อยละ 16.2 (95%CI: 12.4-20.5) และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของอาการโรคหืด พบว่าผู้ที่มีคนในบ้านสูบบุหรี่มีอัตราส่วนแต้มต่อของการมีอาการโรคหืดเป็น 4.13 เท่า (OR 4.13, 95%CI: 2.12-8.02) ของผู้ที่ไม่มีคนในบ้านสูบบุหรี่ ผู้ที่มีอาการภูมิแพ้ทางจมูกมีอัตราส่วนแต้มต่อของการมีอาการโรคหืดเป็น 4.08 เท่า (OR 4.08, 95%CI: 2.00-8.30) ของผู้ที่ไม่มีอาการภูมิแพ้ทางจมูก ผู้ที่มีเชื้อราในบ้านมีอัตราส่วนแต้มต่อของการมีอาการโรคหืดเป็น 2.40 เท่า (OR 2.40, 95CI: 1.11-5.16) ของผู้ที่ไม่มีเชื้อราในบ้าน ผู้ที่สูบบุหรี่มีอัตราส่วนแต้มต่อของการมีอาการโรคหืดเป็น 2.77 เท่า (OR 2.77, 95%CI: 1.29-5.96) ของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ และผู้ที่ปฏิบัติงานในห้องครัวมีอัตราส่วนแต้มต่อของการมีอาการโรคหืดเป็น 2.18 เท่า (OR 2.18, 95%CI: 1.10-4.31) ของผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติงานในห้องครัว สรุปผลการศึกษา พนักงานทำความสะอาดมีแนวโน้มที่จะมีอาการโรคหืดมากกว่าประชากรทั่วไป สถานประกอบการควรจัดให้มีแนวทางการจัดการสุขภาพที่เหมาะสม เช่น การเฝ้าระวังสุขภาพกับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง การอบรมให้ความรู้เพื่อลดปัจจัยเสี่ยง เช่น การเลิกบุหรี่ การจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่เหมาะสม เป็นต้น
dc.description.abstractalternative Cleaning is one of the high-risk occupations related to chemical exposure at work. Cleaners are exposed to several chemicals causing occupational asthma. The objective is to study the prevalence of asthma symptoms and its associated factors among cleaners working at a hospital in Bangkok. All subjects completed a questionnaire on demographic characteristics, occupational variables, environmental variables and respiratory symptoms. Data was analyzed by descriptive statistics and Multiple logistic regression was used to evaluate associated factors of asthma symptoms. The study found that among 340 participants, the prevalence of asthma symptoms is 16.2 (95%CI: 12.4-20.5) and the asthma symptom is significantly associated with household secondhand smoking exposure (OR 4.13, 95%CI: 2.12-8.02), allergic rhinitis (OR 4.08, 95%CI: 2.00-8.30), molds in the house (OR 2.40, 95%CI: 1.11-5.16), smoking (OR 2.77, 95%CI: 1.29-5.96) and working in a kitchen (OR 2.18, 95%CI: 1.10-4.31).  In conclusion, cleaners are more likely to have asthma symptoms than the general population.   Medical surveillance in high-risk groups, health education for reducing risk factors such as smoking cessation, and appropriate personal protective equipment should be supported in the workplace.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.514
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Medicine
dc.subject.classification Human health and social work activities
dc.subject.classification Medicine
dc.title ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของอาการโรคหืดในพนักงานทำความสะอาด ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
dc.title.alternative Asthma symptoms prevalence and associated factors among cleaners in a hospital in Bangkok
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2022.514


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record