DSpace Repository

หมอนรองหน้าอกเพื่อลดอาการปวดต้นคอหลังการส่องกล้องท่อน้ำดีและตับอ่อน

Show simple item record

dc.contributor.advisor พรเทพ อังศุวัชรากร
dc.contributor.author อชิรญา ปลอดอักษร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-08-04T06:08:43Z
dc.date.available 2023-08-04T06:08:43Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82554
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract การส่องกล้องทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (ERCP) เป็นหัตถการมาตรฐานสำหรับการตรวจประเมินและรักษาโรคของท่อน้ำดีและตับอ่อน นิยมจัดท่าผู้ป่วยในท่านอนคว่ำ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยจำเป็นต้องหมุนศีรษะไปทางด้านขวา 80 องศาตลอดระยะเวลาทำหัตถการ ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดคอหลังทำการส่องกล้องได้ และในปัจจุบันยังไม่มีอุปกรณ์ที่ออกแบบมาสำหรับช่วยจัดท่าผู้ป่วยเพื่อลดอาการปวดคอ ในงานการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดอุบัติการณ์การปวดคอของผู้ป่วยหลังเข้ารับการส่องกล้องท่อน้ำดีและตับอ่อน และประเมินความพึงพอใจของแพทย์ผู้ส่องกล้อง โดยสุ่มผู้ป่วยทั้งหมด 250 ราย แบ่งเป็นกลุ่มใช้หมอนรองหน้าอก 125 ราย และกลุ่มควบคุม 125 ราย หมอนที่ถูกออกแบบตามหลักการยศาสตร์ช่วยทำให้เกิดการหมุนของกระดูกสันหลังส่วนอก เพื่อชดเชยการทำงานของกระดูกสันหลังส่วนคอ ผู้วิจัยเข้าประเมินอาการปวดคอของผู้ป่วยก่อนการทำ ERCP, หลังการทำ ERCP 1 ชั่วโมง, 1 วัน และ 7 วัน โดยใช้ Visual analog scale (0-10) รวมถึงความยากในการสอดกล้องและความพึงพอใจของแพทย์โดยใช้แบบประเมินคะแนน 0-10 ผลการศึกษาพบว่าอุบัติการณ์อาการปวดคอหลังการทำ ERCP 1 วัน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างสองกลุ่ม โดยในกลุ่มใช้หมอนพบร้อยละ 19.2 และในกลุ่มควบคุมพบร้อยละ 30.4 (p = 0.041) อาการปวดคอระดับปานกลางถึงรุนแรงในกลุ่มควบคุมสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.032) ความยากในการสอดกล้องและความต้องการในการยกไหล่ของผู้ป่วยขณะทำหัตถการลดลงในกลุ่มใช้หมอน (p = 0.001 และ p = 0.002 ตามลำดับ) แม้ว่าการประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยระหว่างสองกลุ่มจะไม่มีความแตกต่างกัน (p = 0.082) อย่างไรก็ตามคะแนนความพึงพอใจของแพทย์ผู้ส่องกล้องในกลุ่มใช้หมอนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)
dc.description.abstractalternative Endoscopic retrograde cholangiopancreatography (ERCP) is commonly performed in the prone position. However, patients need to maintain their 80-degree right neck rotation throughout the procedure time, which might cause post-ERCP neck pain. Currently, there is no specially designed device to support the patient undergoing ERCP to reduce the pain. This study aimed to reduce neck pain for patients undergoing ERCP in the prone position and evaluate the efficacy and satisfaction of the thoracic support pillow to position. A total of 250 patients were randomized to use the pillow group or control group. The thoracic pillow caused the rotation of the thoracic spine, which compensated and reduced the degree of rotation of cervical spine. Pain score of the neck were reported by patients at before ERCP, 1-hour, day-1, and day-7 after ERCP by using VAS (0-10). Scope intubation difficulty was rated by endoscopists. Satisfaction scores of the endoscopist and patients were recorded by using scale of 0-10. The results showed that the incidence of neck pain at day 1 post-ERCP was statistically significant difference between pillow groups and control group (19.2% vs 30.4%, p = 0.041). Moderate-to-severe difficult scope intubation and shoulder lifting in control group higher than pillow group (p = 0.001, p = 0.002, respectively). Satisfaction scores of the endoscopist were significantly higher in pillow group (p < 0.001).
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.753
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Medicine
dc.subject.classification Professional, scientific and technical activities
dc.title หมอนรองหน้าอกเพื่อลดอาการปวดต้นคอหลังการส่องกล้องท่อน้ำดีและตับอ่อน
dc.title.alternative Thoracic support pillow to reduce post ERCP neck sprain
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์การแพทย์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2022.753


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record