dc.contributor.advisor |
สมนพร บุณยะรัตเวช สองเมือง |
|
dc.contributor.advisor |
ไพโรจน์ ฉัตรานุกูลชัย |
|
dc.contributor.author |
อลาณณา วิเชียรธวัชชัย |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-08-04T06:08:53Z |
|
dc.date.available |
2023-08-04T06:08:53Z |
|
dc.date.issued |
2565 |
|
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82564 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 |
|
dc.description.abstract |
ความสำคัญและวัตถุประสงค์ของการวิจัย: ภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลเป็นภาวะที่เกิดตามกระบวนการเสื่อมตามวัย ซึ่งเกิดจากการที่มีแคลเซียมและไขมันมาสะสมที่บริเวณดังกล่าวจนกลายเป็นหินปูน การมีหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลมีความสัมพันธ์ในการเพิ่มอุบัติการณ์การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคลิ้นหัวใจไมตรัลทั้งชนิดรั่วและตีบ ปัจจุบันยังไม่มีวิธีมาตรฐานในการวินิจฉัยและการประเมินความรุนแรงของภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัล แต่มักใช้การตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจภาพสองมิติและการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในการวินิจฉัย เนื่องจากพยาธิสรีรวิทยาและความเสี่ยงในการเกิดของภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลและลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบมีความคล้ายกัน จึงทำการศึกษาหาความชุกของภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลในผู้ป่วยลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบระดับรุนแรง ความสัมพันธ์ของการตรวจด้วยวิธีต่างๆในการวินิจฉัยและแบ่งระดับความรุนแรงของภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัล รวมไปถึงความสัมพันธ์ของภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลกับการเกิดโรคลิ้นหัวใจไมตรัลทั้งชนิดตีบหรือรั่ว
วิธีการดำเนินวิจัย: การศึกษานี้ทำในผู้ป่วยลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบระดับรุนแรงที่เข้ารับการรักษาเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกเทียมผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัดของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่ พฤษภาคม 2556 ถึง ธันวาคม 2564 โดยหากไม่มีภาพจากการตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจภาพสองมิติและการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ก่อนเข้ารับการรักษาด้วยการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกเทียมผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัดในระบบของโรงพยาบาลจะไม่ได้เข้าร่วมในการศึกษา ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยได้จากเวชระเบียน วินิจฉัยและประเมินระดับความรุนแรงของภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลจาก 3 วิธี โดยใช้เกณฑ์การแบ่งระดับความรุนแรงแบบเป็นระบบที่ดัดแปลงมาจากวิธีการที่คิดขึ้นโดยเมโยคลินิกและคลีฟแลนด์คลินิก การวินิจฉัยโรคลิ้นหัวใจไมตรัลตีบโดยใช้แนวทางการวินิจฉัยจากชมรมคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาปี 2552 และ วินิจฉัยโรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วโดยใช้แนวทางการวินิจฉัยจากชมรมคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาปี 2560 มีการประเมินหาความเที่ยงของผู้ประเมินทั้งในกรณีคนเดียวกันและผู้ประเมินต่างคนกันร่วมด้วย ผลการศึกษาหลักคือเพื่อศึกษาความชุกของภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลแบบรุนแรงในผู้ป่วยกลุ่มนี้ นอกจากนี้ยังต้องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการวินิจฉัยภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลโดยใช้การตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจภาพสองมิติ การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยวิธีประเมินปริมาณหินปูนรอบวง และการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยการวัดคะแนนแคลเซียม รวมไปถึงศึกษาความสัมพันธ์ของการเกิดภาวะลิ้นหัวใจไมตรัลตีบหรือลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วในผู้ป่วยที่มีภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัล
ผลการศึกษา: จากผู้ป่วยลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบระดับรุนแรงที่เข้ารับการรักษาเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกเทียมผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัดที่ศึกษาทั้งสิ้น 188 คน มีอายุเฉลี่ย 81±8 ปี พบว่ามีภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลแบบรุนแรง 47 คน (25%) และมีอายุเฉลี่ย 83±8 ปี โดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (63%) ในกลุ่มภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลแบบรุนแรงพบว่ามีโรคลิ้นหัวใจตีบระดับรุนแรง 4.26% ระดับปานกลาง 19.15% ระดับน้อย 55.32% และมีโรคลิ้นหัวใจรั่วระดับรุนแรง 2.13% ระดับปานกลาง 19.15% ระดับน้อย 72.34% นอกจากนี้ยังความชุกของโรคลิ้นหัวใจตีบระดับปานกลางและรุนแรงพบในกลุ่มที่มีภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่พบหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัล (p < 0.001) แต่ไม่พบความสัมพันธ์ดังกล่าวในโรคลิ้นหัวใจรั่วระดับปานกลางและรุนแรง (p = 0.484) จากการศึกษาพบว่าการวินิจฉัยและประเมินระดับความรุนแรงของภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลมีความสอดคล้องกันในแต่ละวิธี โดยเปรียบเทียบผลการวินิจฉัยของการตรวจจากคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจภาพสองมิติกับเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Spearman’s rho 0.9114), การตรวจจากคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจภาพสองมิติกับคะแนนแคลเซียม (Spearman’s rho 0.8979) และการตรวจจากเอกซเรย์คอมพิวเตอร์กับคะแนนแคลเซียม (Spearman’s rho 0.989) นอกจากนี้เมื่อทดสอบความสอดคล้องกันของผลการวินิจฉัยจากทั้ง 3 วิธีพบว่ามีความสอดคล้องกันดี (Kappa 0.7245)
สรุปผล: หนึ่งในสี่ของผู้ป่วยลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบระดับรุนแรงที่เข้ารับการรักษาเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกเทียมผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัดพบว่ามีภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลแบบรุนแรงร่วมด้วย โดยในผู้ป่วยกลุ่มนี้พบว่ามีโรคลิ้นหัวใจไมตรัลตีบระดับปานกลางถึงรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ การวินิจฉัยระดับความรุนแรงของภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลจากการตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจภาพสองมิติ การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยวิธีประเมินปริมาณหินปูนรอบวง และการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยการวัดคะแนนแคลเซียมพบว่ามีความสอดคล้องกันดี จากการศึกษานี้จึงแนะนำว่าสามารถใช้วิธีการใดก็ได้จาก 3 วิธีที่กล่าวมาในการวินิจฉัยและแบ่งระดับความรุนแรงของภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัล |
|
dc.description.abstractalternative |
Background and aims: Mitral annular calcification (MAC) is a chronic degenerative process affecting the fibrous structure supporting the mitral valves. It has numerous cardiovascular associations, including increased cardiovascular risk, arrhythmias, and dysfunction of the mitral valve. Currently, MAC lacks a standard definition and severity classification. We categorize the severity of MAC using 2-dimensional transthoracic echocardiography (2D-TTE) and cardiac computed tomography angiography (cardiac CTA). Calcified aortic stenosis (AS) and MAC share similar mechanisms of etiology and pathophysiology. We intend to investigate the prevalence of severe MAC in patients with severe AS and the correlation between various imaging techniques used to evaluate MAC and mitral valve disease.
Methods: Between May 2013 and December 2021, we conducted a retrospective cross-sectional descriptive study in cohort of patients under going transcatheter aortic valve implantation (TAVI) at King Chulalongkorn Memorial Hospital. Clinical information was extracted from medical records. The pre-TAVI 2D-TTE and non-contrast cardiac computed tomography (cardiac CT) were reviewed, as well as the calcium score. The severity of MAC was then assessed for each method using the modified Mayo clinic classification system and the modified Cleveland clinic classification system. The mitral stenosis (MS) and mitral regurgitation (MR) diagnoses were based on the 2009 and 2017 American society of echocardiography guidelines, respectively. MAC prevalence was studied. Spearman's correlation was used to determine the correlation between 2D-TTE and cardiac CTA as well as the association between MAC and mitral valve diseases.
Results: Our cohort included a total of 188 patients (mean age of 81±8 years). 134 patients (71.3%) demonstrated evidence of MAC. Twenty-five percent (47 patients) had severe MAC. The average age of this group was 83±8 years, and the majority were female (63%). For patients with severe MAC, 4.26 percent had severe MS, 19.15 percent had moderate MS, 55.32 percent had mild MS, 2.13 percent had severe MR, 19.15 percent had moderate MR, and 72.34 percent had mild MR. The prevalence of moderate to severe MS was significantly different between patients with MAC and patients without MAC (p <0.001), whereas there was no difference in the prevalence of moderate to severe MR (p 0.484). Qualitative 2D-TTE grading versus qualitative CT grading (Spearman's rho 0.9114), qualitative 2D-TTE grading versus CT calcium score (Spearman's rho 0.8979), and qualitative CT grading versus CT calcium score (Spearman's rho 0.989) demonstrated a strong correlation in grading MAC severity. We also identified a significant correlation between these three methods (Kappa 0.7245).
Conclusions: A fourth of severe AS patients evaluated for TAVI had severe MAC. In these patients, the prevalence of moderate to severe MS increased significantly. A strong correlation exists between 2D-TTE and cardiac CT for the diagnosis and severity assessment of MAC. Either 2D-TTE or cardiac CT can be utilized to diagnose and classify MAC, according to our studies. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.1038 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Medicine |
|
dc.subject.classification |
Human health and social work activities |
|
dc.subject.classification |
Medicine |
|
dc.title |
การศึกษาความชุกของภาวะหินปูนเกาะที่ขอบลิ้นหัวใจไมตรัลในผู้ป่วยลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบระดับรุนแรงที่เข้ารับการรักษาเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกเทียมผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัดโดยใช้การตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจภาพสองมิติและเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ |
|
dc.title.alternative |
The prevalence of severe mitral annular calcification in patients with severe aortic stenosis underwent transcatheter aortic valve implantation assessed by 2-dimensional echocardiography and cardiac computed tomography angiography |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
อายุรศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2022.1038 |
|