dc.contributor.advisor |
พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม |
|
dc.contributor.author |
พงศ์ภัค ศรีสิงหสงคราม |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-08-04T06:12:53Z |
|
dc.date.available |
2023-08-04T06:12:53Z |
|
dc.date.issued |
2565 |
|
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82588 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบและปัจจัยสำคัญทางด้านภาคเศรษฐกิจจริงและปัจจัยทางด้านภาคการเงินต่อราคาบ้านเมื่อเกิดสภาวะความเสี่ยงด้านสูงและความเสี่ยงด้านต่ำสำหรับกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ และกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ในการศึกษานี้ได้มีการแบ่งกลุ่มของข้อมูลเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มปัจจัยในภาพรวม และกลุ่มปัจจัยย่อย ทั้งนี้เพื่อตอบวัตถุประสงค์ผู้วิจัยได้มีการนำเทคนิค Feature Importance ด้วยการใช้อัลกอริทึม Random Forest และเสริมด้วยแบบจำลอง Semi-parametric Quantile Regression ซึ่งจะช่วยให้แบบจำลองเหมาะสมกับการวิเคราะห์การแจกแจงการกระจายข้อมูลที่ไม่ปกติ ผลการศึกษาแบ่งตามลักษณะกลุ่มประเทศดังนี้
สำหรับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วพบว่าปัจจัยทางด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบายการเงินที่มีสัดส่วนสูงที่สุดในการกำหนดราคาบ้านทั้งในช่วงความเสี่ยงด้านสูงและด้านต่ำอีกทั้งเมื่อปัจจัยดังกล่าวปรับตัวเพิ่มขึ้นยังส่งผลต่อราคาบ้านให้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสำหรับทุกควอนไทล์ ทั้งนี้เมื่อพิจารณาเฉพาะในปัจจัยย่อยของกลุ่มตัวแปรต่างๆ ที่มีความสำคัญที่สุดและส่งผลต่อราคาบ้านในแต่ละกลุ่มจะพบว่าปัจจัยที่ควรสังเกตุและมีความสำคัญมากเพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาบ้านได้แก่ ปัจจัยด้านรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของรัฐบาล, ปัจจัยด้านดัชนีราคาด้านสินค้าและบริการเบ็ดเตล็ด, ปัจจัยด้านดัชนีราคาด้านการนันทนาการและวัฒนธรรม, ปัจจัยด้านการลงทุนแบบพอร์ตโฟลิโอผ่านตราสารทุน, ปัจจัยด้านสัดส่วนสินเชื่อภาคครัวเรือนเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และปัจจัยด้านดัชนีอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง เป็นต้น
สำหรับกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่พบว่าตัวแปรทางด้านดัชนีอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงและสัดส่วนสินเชื่อต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศมีสัดส่วนสูงที่สุดรวมกันอยู่ที่ประมาณสัดส่วนร้อยละ 60 ถึง 70 ของตัวแปรทั้งหมดในแบบจำลองในการกำหนดราคาบ้าน ทั้งนี้สำหรับประเทศพัฒนาแล้วอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงเมื่อเกิดการแข็งค่าขึ้นจะส่งผลต่อราคาบ้านในทิศทางลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสำหรับทุกควอไทล์ ทั้งนี้เมื่อพิจารณาเฉพาะในปัจจัยย่อยของกลุ่มตัวแปรต่างๆ ที่มีความสำคัญที่สุดและส่งผลต่อราคาบ้านในแต่ละกลุ่มจะพบว่าปัจจัยที่ควรสังเกตุและมีความสำคัญมากเพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาบ้านได้แก่ ปัจจัยด้านรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน, ปัจจัยด้านการสะสมทุนถาวรเบื้องต้น, ปัจจัยด้านดัชนีราคาด้านสินค้าและบริการเบ็ดเตล็ด, ปัจจัยด้านการลงทุนแบบพอร์ตโฟลิโอผ่านตราสารหนี้, ปัจจัยด้านสัดส่วนสินเชื่อภาคเอกชนเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ, ปัจจัยด้านเครื่องมือ Loan-to-Value และ ปัจจัยด้านปริมาณเงินตามความหมายกว้าง เป็นต้น
ดังนั้นเพื่อรักษาเสถียรภาพของภาคการเงินและภาคเศรษฐกิจจึงนั้น ผู้ออกนโยบายควรที่จะมุ่งไปที่ปัจจัยที่มีความสำคัญและส่งผลต่อราคาบ้านให้เหมาะสมกับลักษณะของกลุ่มประเทศและพิจารณาการกับกำดูแลผ่านนโยบายเสถียรภาพด้านราคาบ้านตามสถานการณ์ให้เหมาะสม |
|
dc.description.abstractalternative |
This research aims to examine the impact and key factors on housing prices during high and low-risk scenarios for two main groups of countries: emerging markets and developed markets. The study employs two main groups of variables: overall factors and sub-factors. To address the research objectives, Feature Importance techniques using Random Forest algorithms are utilized, along with the addition of a Semi-parametric Quantile Regression model. This approach enables a suitable analysis of atypical data distribution patterns.Findings from the study can be summarized as follows:
For Developed Markets, The study highlights that interest rate policy factors exhibit the highest proportion in determining housing prices during both high and low-risk periods. Notably, an increase in these factors significantly contributes to a decline in housing prices, as supported by statistically significant results.Regarding the sub-factors in the developed market group, the following factors are crucial for maintaining housing price stability: government expenditure on public consumption, miscellaneous goods and services price index, recreational and cultural activities price index, portfolio investment through equity securities, household credit-to-GDP ratio, and the actual exchange rate.
For Emerging Markets, The study reveals that the actual exchange rate and the credit-to-GDP ratio collectively account for the highest proportion, approximately 60% to 70%, of all variables in the housing price model. Moreover, statistically significant results indicate that housing prices decline significantly when the actual exchange rate strengthens.Regarding the sub-factors in the emerging market group, the following factors are found to be essential in maintaining housing price stability: household consumption expenditure, basic capital accumulation, miscellaneous goods and services price index, portfolio investment through debt securities, private sector credit-to-GDP ratio, Loan-to-Value (LTV) ratio, and broad money supply.
Therefore, policymakers should focus on these significant factors and their impact on housing prices to ensure stability in the financial and economic sectors. Policy interventions should be tailored to the characteristics of each country group, taking into account the appropriate measures to maintain stability in housing prices according to the prevailing situation. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.424 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.title |
เสถียรภาพของภาคการเงินและภาคเศรษฐกิจจริงภายใต้ความเสี่ยงด้านต่ำและด้านสูงของราคาบ้าน |
|
dc.title.alternative |
Macro-financial stability under downside risk and upside risk of house prices |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
เศรษฐศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2022.424 |
|