DSpace Repository

ผลของการเลือกโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายต่อการศึกษาในระดับอุดมศึกษาและผลตอบแทนในตลาดแรงงานของชาวมุสลิม: กรณีศึกษาจังหวัดปัตตานี

Show simple item record

dc.contributor.advisor นพพล วิทย์วรพงศ์
dc.contributor.author ฟาเดีย สาและ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-08-04T06:12:54Z
dc.date.available 2023-08-04T06:12:54Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82590
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเลือกโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ต่อการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ผลตอบแทนในตลาดแรงงาน และทุนทางสังคมของชาวมุสลิมจังหวัดปัตตานี ดำเนินการวิจัยด้วยการเก็บข้อมูลปฐมภูมิแบบ Quota/Convenience sampling  โดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นจากวรรณกรรมปริทัศน์ เกณฑ์การคัดเข้า ได้แก่ เป็นคนไทยมุสลิม อายุ 25-49 ปี และจบระดับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนในจังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างมีขนาดเท่ากับ 483 ตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้แบบจำลองสมการถดถอย โดยพิจารณาปัญหา Endogeneity งานวิจัยนี้แบ่งประเภทของโรงเรียนออกเป็นโรงเรียนสามัญศึกษา โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม และสถาบันศึกษาปอเนาะ ผลการศึกษา พบว่า (1) เพศหญิง การสื่อสารภาษาไทยในบ้าน คุณลักษณะของพ่อแม่ และการอาศัยอยู่ในพื้นที่เมืองมีผลต่อการเลือกโรงเรียน (2) ก่อนการพิจารณาปัญหา Endogeneity พบว่า ประเภทโรงเรียนมีผลต่อการเรียนต่อหลังจบระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและรายได้ต่อเดือน และ (3) เมื่อพิจารณาปัญหา Endogeneity พบว่า ประเภทโรงเรียนส่งผลต่อการเรียนต่อหลังในระดับอุดมศึกษา แต่ไม่ส่งผลทางตรงต่อผลตอบแทนในตลาดแรงงาน ทว่าการจบการศึกษาในระดับอุดมศึกษาส่งผลทางบวกต่อผลตอบแทนในตลาดแรงงาน (4) ในด้านทุนทางสังคม พบว่า ก่อนการพิจารณาปัญหา Endogeneity สถาบันศึกษาปอเนาะส่งผลทางลบต่อการได้รับสนับสนุนทางทรัพยากรและทางอารมณ์ แต่ภายหลังพิจารณาปัญหา Endogeneity พบว่าโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามและสถาบันศึกษาปอเนาะกลับส่งผลทางบวกต่อการได้รับสนับสนุนทางทรัพยากรและทางอารมณ์ ทั้งนี้ ตัวแปรการจบการศึกษาในระดับอุดมศึกษาส่งผลทางบวกต่อทุนทางสังคมเสมอ ผลการศึกษาทั้งหมดชี้ให้เห็นว่า แม้ว่าประเภทโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจะไม่ได้ส่งผลทางตรงต่อผลตอบแทนในตลาดแรงงานและส่งผลอย่างไม่ชัดเจนต่อทุนทางสังคม แต่ประเภทโรงเรียนกลับส่งผลทางอ้อมต่อทั้งผลตอบแทนในตลาดแรงงานและทุนทางสังคม ผ่านการสำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษา
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were to examine the impacts of high school choice on higher education enrollment, labor market outcomes, and social capital among Muslims in Pattani. This study was conducted using primary data from 483 individuals collected with a quota/convenience sampling method. The inclusion criteria were that research participants had to be Muslim Thais, had to be between 25 and 49 years of age, and had to have been educated in a high school in Pattani. Data were analyzed using regression models that accounted for the endogeneity problem. This study classified high schools into three categories including general-education schools, Islamic private schools, and Pondok institutions. Results showed that (1) being female, using Thai for communications at home, parental characteristics, and living in an urban area affected school choice; (2) school choice was found to have a positive effect on tertiary-education enrollment and monthly income, when endogeneity was not corrected for; (3) once the endogeneity problem was addressed, school choice had a positive effect on tertiary-education enrollment but the effects on labor market outcomes in terms of employment status or monthly income disappeared, while tertiary education continued to play an important and positive role in labor market outcomes; and (4) with regard to social capital, before considering the endogeneity problem, going to a Pondok institution was found to have a negative association with the receipt of instrumental and emotional support, but once the endogeneity problem was considered, it was found that going to an Islamic private school or a Pondok institution had a positive effect on instrumental and emotional support. This study also found that tertiary education had a positive influence on all aspects of social capital. In conclusion, while choice of high school did not have a direct effect on labor market outcomes and an inconsistent effect on social capital, it exerted an indirect effect on labor market outcomes and social capital through its positive association with the receipt of tertiary education.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.426
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title ผลของการเลือกโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายต่อการศึกษาในระดับอุดมศึกษาและผลตอบแทนในตลาดแรงงานของชาวมุสลิม: กรณีศึกษาจังหวัดปัตตานี
dc.title.alternative Impacts of high school choice on higher education enrollment and labor market outcomes among muslims : a case study of Pattani
dc.type Thesis
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2022.426


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record