DSpace Repository

การพัฒนาต้นแบบอินโฟกราฟิกเพื่อสื่อสารการปฏิบัติตนทางกายภาพบำบัดทางไกล ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด-19)

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประภัสสร จันทร์สถิตย์พร
dc.contributor.author ธิติ เจริญยศ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-08-04T06:18:44Z
dc.date.available 2023-08-04T06:18:44Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82596
dc.description วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. ออกแบบและสร้างสรรค์ชิ้นงานอินโฟกราฟิกโดยอ้างอิงแนวคิดทฤษฎีการสื่อสารทางสุขภาพ จำนวน 6 ชิ้นงาน ใน 2 ประเด็นได้แก่ การออกกำลังกายเพื่อการฟื้นฟูหลังการติดเชื้อไวรัสโคโรนา และ การจัดการอาการหอบเหนื่อย โดยอ้างอิงทฤษฎีการสื่อสารสุขภาพ 3 ทฤษฎีได้แก่ ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อทางสุขภาพ (Health belief model : HBM), ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา (Social cognitive : SC) และ ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน (Theory of planned behavior : TPB) และ 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจด้านเนื้อหา, การออกแบบ และการนำไปปฏิบัติ ในกลุ่มบุคคลทั่วไป และกลุ่มนักกายภาพบำบัดปฏิบัติการ กลุ่มละ 5 คน พบว่าในประเด็นการออกกำลังกายเพื่อการฟื้นฟูหลังการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ทั้ง 2 กลุ่มมีความพึงพอใจด้านเนื้อหาและด้านการนำไปปฏิบัติ ในชิ้นงานที่อ้างอิงจากแนวคิด HBM มากที่สุด ด้านการออกแบบ ทั้ง 2 กลุ่มมีความพึงพอใจในชิ้นงานที่อ้างอิงจากแนวคิด TPB มากที่สุด ในประเด็นการจัดการอาการหอบเหนื่อย พบกว่ากลุ่มบุคคลทั่วไปมีความพึงพอใจด้านเนื้อหา และการออกแบบในชิ้นงานที่ อ้างอิงจากแนวคิด HBM และ SC เท่ากัน และพึงพอใจในชิ้นงานที่อ้างอิงแนวคิด TBP ด้านการนำไปปฏิบัติมากที่สุด ขณะที่นักกายภาพบำบัดปฏิบัติการมีความพึงพอใจด้านเนื้อหา, การออกแบบ และการนำไปปฏิบัติ ในชิ้นงานที่อ้างอิงจากแนวคิด HBM มากที่สุด
dc.description.abstractalternative This research aims to 1) design and create six infographics using health communication theories. The infographics focus on post coronavirus infection therapeutic exercises and managing shortness of breath, employing the Health belief model, Social cognitive theory, and Theory of planned behavior. 2) The study also assesses the satisfaction of the general population and physiotherapists with the infographic's content, design, and implementation. The results indicate that both groups are satisfied with the content and implementation of the post coronavirus infection therapeutic exercises infographics based on the Health belief model. For managing shortness of breath, both groups express the highest satisfaction with the infographics based on the Theory of planned behavior. The general population shows equal satisfaction with the content and design of infographics based on the Health belief model and Social cognitive theory, while their highest satisfaction regarding implementation is associated with the Theory of planned behavior. Physiotherapists exhibit the highest satisfaction with the content, design and implementation of Health belief model-based infographics.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.618
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Arts and Humanities
dc.subject.classification Arts, entertainment and recreation
dc.subject.classification Design
dc.title การพัฒนาต้นแบบอินโฟกราฟิกเพื่อสื่อสารการปฏิบัติตนทางกายภาพบำบัดทางไกล ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด-19)
dc.title.alternative Development of infographic prototypes communication enabling tele-rehabilitation during COVID-19 pandemic
dc.type Thesis
dc.degree.name นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นิเทศศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2022.618


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record