DSpace Repository

ปัจจัยพยากรณ์การตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านเดี่ยวมือสองของกลุ่มผู้บริโภค

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธีรดา จงกลรัตนาภรณ์
dc.contributor.author วนัชภรณ์ จรูญโรจน์ ณ อยุธยา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-08-04T06:18:50Z
dc.date.available 2023-08-04T06:18:50Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82615
dc.description วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract การวิจัยเชิงปริมาณครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างทางลักษณะประชากร และสำรวจการเปิดรับสื่อ การสื่อสารการตลาด และการรับรู้ความเสี่ยง ของกลุ่มผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครที่มีต่อการตัดสินใจซื่ออสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านเดี่ยวมือสอง รวมถึงอธิบายความสามารถในการพยากรณ์การตัดสินใจซื้อบ้านเดี่ยวมือสอง จากปัจจัยด้านการเปิดรับสื่อ การสื่อสารการตลาด และการรับรู้ความเสี่ยงของกลุ่มผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และมีความสนใจซื้อบ้านเดี่ยวมือสอง จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะประชากรของกลุ่มผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครที่แตกต่างกันในด้านเพศ/อายุ/อาชีพ/จำนวนสมาชิกอาศัยในบ้านเดียวกัน มีการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านเดี่ยวมือสองแตกต่างกันที่นัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ลักษณะประชากรที่มีการตัดสินซื้อระดับสูงที่สุด คือ LGBTIQ+/อายุ 41-60 ปี/อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน/จำนวนสมาชิกภายในบ้าน 1-2 คนส่วนผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษา/รายได้เฉลี่ยต่อเดือน/สถานภาพแตกต่างกัน มีการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านเดี่ยวมือสองที่ไม่แตกต่างกันที่นัยสำคัญทางสถิติ 0.05 การเปิดรับข้อมูลโดยรวม, การรับรู้การสื่อสารการตลาดโดยรวม และการรับรู้ความเสี่ยงโดยรวมสามารถพยากรณ์การตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านเดี่ยวมือสองของกลุ่มผู้บริโภคกรุงเทพมหานครที่นัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยตัวแปรอิสระดังกล่าว สามารถพยากรณ์การตัดสินใจซื้อได้ร้อยละ 41 โดยปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยงสามารถพยากรณ์การตัดสินใจซื้ออย่างมีนัยสำคัญมากที่สุด รองลงมาเป็นการเปิดรับข้อมูล  และการรับรู้การสื่อสารการตลาด ตามลำดับ เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
dc.description.abstractalternative The objective of this quantitative research is to investigate media exposure, marketing communication, and risk perception in order to explain their predictive ability in forecasting the decision-making process of purchasing secondhand detached houses. Additionally, the study aims to compare the demographic characteristics of the population. Data was collected through questionnaires from a sample group of 400 individuals aged 20 and above, residing in Bangkok, and interested in purchasing secondhand detached houses. The research findings indicate that there are differences in the decision-making process of purchasing secondhand detached houses based on demographic factors such as gender, age, occupation, and the number of household members living together. However, there are no significant differences in the decision-making process based on the consumers' educational level and average monthly income. Overall, the study demonstrates that Information Receptivity, marketing communication, and risk perception play a role in predicting purchase decisions for secondhand detached houses among consumers.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.627
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Business
dc.subject.classification Information and communication
dc.subject.classification Marketing and advertising
dc.title ปัจจัยพยากรณ์การตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านเดี่ยวมือสองของกลุ่มผู้บริโภค
dc.title.alternative Factors predicting consumer decision to purchase second-hand detached houses
dc.type Thesis
dc.degree.name นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นิเทศศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2022.627


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record