DSpace Repository

การประมาณค่าอัตรามรณะของผู้สูงอายุไทยโดยใช้วิธีการโฮริอูจิกับโคล และวิธีการมิทรา

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุวาณี สุรเสียงสังข์
dc.contributor.advisor ปุณฑวิกา นาคา
dc.contributor.author ปาณิสรา แย้มสุข
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
dc.date.accessioned 2023-08-04T06:41:28Z
dc.date.available 2023-08-04T06:41:28Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82722
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อคำนวณเบี้ยประกันภัยของสัญญาประกันชีวิตแบบบำนาญ ส่วนแรกเป็นการประมาณค่าอัตรามรณะของผู้สูงอายุไทยด้วย 6 ตัวแบบ คือ ตัวแบบกอมเพิทซ์ ตัวแบบคานนิสโต ตัวแบบกอมเพิทซ์โดยใช้วิธีการประมาณพารามิเตอร์โฮริอูจิกับโคล ตัวแบบกอมเพิทซ์โดยใช้วิธีการประมาณพารามิเตอร์มิทรา ตัวแบบคานนิสโตโดยใช้วิธีการประมาณพารามิเตอร์โฮริอูจิกับโคล ตัวแบบคานนิสโตโดยใช้วิธีการประมาณพารามิเตอร์มิทรา ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย ข้อมูลจำนวนประชากรปลายปีระหว่างปีพ.ศ. 2558 – 2564 จำแนกตามเพศและรายอายุ จากกระทรวงมหาดไทย และข้อมูลจำนวนการตาย ระหว่างปีพ.ศ. 2559 – 2564 จำแนกตามเพศและรายอายุ จากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ทำการเปรียบเทียบค่าอัตรามรณะที่ได้จากแต่ละตัวแบบ แต่ละวิธีการ เพื่อหาตัวแบบที่มีความเหมาะสม ด้วยค่าร้อยละสมบูรณ์ของความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย หลังจากนั้นนำอัตรามรณะที่ได้มาคำนวณเบี้ยประกันภัยของแบบประกันภัยตัวอย่างและทำการเปรียบเทียบเบี้ยประกันภัยสุทธิที่ได้และเบี้ยประกันภัยสุทธิที่คำนวณจากตารางบำนาญไทย ปี 2552 เบี้ยประกันภัยของสัญญาประกันชีวิตแบบบำนาญตัวอย่างที่มีระยะเวลาการชำระเบี้ยประกันภัย 10 ปี เป็นรายปี อายุของผู้เอาประกันภัย คือ 30 ถึง 50 ปี คุ้มครองถึงอายุครบ 110 ปี และใช้อัตราดอกเบี้ยร้อยละสองต่อปี พบว่าเมื่อผู้เอาประกันภัยมีอายุมากขึ้น เบี้ยประกันภัยสุทธิจะมีค่ามากขึ้น เบี้ยประกันภัยของเพศชายมีค่าน้อยกว่าเพศหญิงในช่วงอายุ 30 – 36 ปี แต่มากกว่าในช่วงอายุ 37 – 50 ปี  นอกจากนี้ เบี้ยประกันภัยสุทธิที่คำนวณจากตารางบำนาญไทย ปี 2552 มีค่ามากกว่าเบี้ยประกันภัยที่คำนวณจากตัวแบบ อีกทั้งยังพบว่าการระบาดของโควิด 19 ไม่ส่งผลต่ออัตรามรณะ
dc.description.abstractalternative The objective of this research is to calculate pension premiums. The first part is to estimate the mortality rate of the Thai elderly with six mortality models, including Gompertz model, Kannisto model, Gompertz model by Horiuchi-Coale parameter estimation method, Gompertz model by Mitra parameter estimation method, Kannisto model by Horiuchi-Coale parameter estimation method, and Kannisto model by Mitra parameter estimation method. This study employed two datasets: one from the Ministry of Interior containing the number of populations by age and sex from 2015–2021 and another from the Ministry of Public Health containing the number of deaths by age and sex from 2016–2020. The obtained mortality rates were compared to determine the most suitable model using the MAPE. After that, calculate the net premiums of the designed pension product and to compare with the net premiums computed from the 2009 Thai Pension Table. Premiums of a pension contract with a ten-year annual premium payment period, covering individuals aged 30 to 50 and providing coverage until the age of 110 with a 2% annual interest rate. The premium increased with the age of the insured. Premiums for men were lower than for women aged 30 to 36, but higher for ages 37 to 50. The premium was lower than that using the 2009 Thai pension table, and the mortality rates were not affected by the COVID-19 outbreak.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.458
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Economics
dc.subject.classification Business
dc.subject.classification Mathematics
dc.subject.classification Financial and insurance activities
dc.title การประมาณค่าอัตรามรณะของผู้สูงอายุไทยโดยใช้วิธีการโฮริอูจิกับโคล และวิธีการมิทรา
dc.title.alternative Estimation Thai elderly mortality rates by Horiuchi-Coale method and Mitra method
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การประกันภัย
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2022.458


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record