DSpace Repository

การเมืองเรื่องธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ: การคุ้มครองทางสังคมในกิจการประมงทะเล

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุภางค์ จันทวานิช
dc.contributor.author ไพรินทร์ มากเจริญ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-08-04T06:54:59Z
dc.date.available 2023-08-04T06:54:59Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82807
dc.description วิทยานิพนธ์ (ร.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract งานวิจัยเรื่องการเมืองเรื่องธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ: การคุ้มครองทางสังคมในกิจการประมงทะเลนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ธรรมาภิบาลความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติในกิจการประมงทะเล และวิเคราะห์ผลของการดำเนินงานและการคุ้มครองทางสังคมต่อแรงงานข้ามชาติในกิจการประมงทะเล ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิชาการที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่รัฐ เจ้าของเรือประมงพาณิชย์ แรงงานข้ามชาติ เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้อง จำนวน จำนวน 20 คน รวมทั้งการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมในการตรวจแรงงานประมงทะเลรวมกับเจ้าหน้าที่รัฐ การเข้าร่วมประชุมการสัมมนาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 ครั้ง ผลการวิจัยพบว่า 1) รัฐไทยมีพัฒนาการด้านนโยบายในการบริหารจัดการและคุ้มครองแรงงานข้ามชาติในกิจการประมงทะเลเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและปัจจัยหลักที่รัฐให้ความสำคัญ ตั้งแต่การใช้นโยบายด้านความมั่นคง นโยบายการผ่อนผันให้ทำงานและนำแรงงานเข้าสู่ระบบกฎหมายเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ จนกระทั่งปัจจุบันเป็นนโยบายภายใต้แรงกดดันจากภายนอก 2) การเมืองเรื่องธรรมาภิบาล ในช่วง พ.ศ.2558-2562 (ก่อนปลดใบเหลือง) กระบวนการบริหารจัดการร่วมกันเกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีอำนาจไม่เท่ากัน รวมทั้งมีการเจรจาซึ่งหน้า มีความไว้วางใจ มีความมุ่งมั่นในการทำงาน และความเข้าใจร่วมกันน้อย ทำให้ขาดความร่วมมือร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจการประมงทะเล มีรูปแบบเป็น ‘ธรรมาภิบาลแบบสั่งการ’ (Directive Governance) คือ ภาครัฐเป็นผู้กำหนดทิศทาง การบังคับใช้กฎหมายและบริหารจัดการแรงงานผ่านนายจ้าง และยังคงไว้ซึ่งการรวมศูนย์อำนาจและสั่งการแบบบนลงล่าง แต่ยังไม่สามารถสร้างระบอบที่เป็นกระบวนการตามแนวคิดธรรมาภิบาลความร่วมมือที่ทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมคิดร่วมทำได้ ต่อมาในช่วง พ.ศ.2562 (หลังปลดใบเหลือง) - 2565 เป็นช่วงรัฐบาลแบบปกติ ภาครัฐมีการสร้างกลไกในการบริหารจัดการที่ส่อให้เห็นความมีธรรมาภิบาลความร่วมมือมากขึ้น โดยเฉพาะกรมสวัสดิการแรงงาน กระทรวงแรงงาน ตัวอย่างของการรับฟังความคิดเห็นอันนำมาสู่การประนีประนอมเพื่อหาทางออกร่วมกันที่ชัดเจน เช่น กรณีประกันสังคม 3) ผลของการดำเนินงานและการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติในกิจการประมงทะเล แม้จะมีพลวัตรในเชิงหลักการ เช่น การออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองแรงงานประมงทะเลโดยตรง แต่ยังคงมีปัญหาด้านการปฏิบัติใช้ เช่น กรณีการเรียกร้องค่าชดเชยจากกองทุนเงินทดแทน ที่มีอุปสรรคในด้านเอกสาร และปัญหาข้อเรียกร้องที่เกิดขึ้นตามมาภายหลังจากการดำเนินการของภาครัฐ
dc.description.abstractalternative The research aimed to analyze the collaborative governance of relevant agencies in transnational migrant workers management in sea fishery industries and to analyze the results of operations of social protection for transnational migrant workers in sea fishery industries. This study used a qualitative research design. Data were collected from documents and academic works. In-depth interviews with 20 key respondents were conducted to collect data from government officials, commercial fishing boat owners, migrant workers, NGO officials, and relevant key informants, totaling. Participant observations totaling 10 times were performed to inspect transnational migrant workers in sea fishery industries and government officials, as well as relevant seminars. The findings revealed the following: 1) Thai Government has developed policies for the management and protection of transnational migrant workers in the sea fishery industry, which has changed over time and depends on major factors considered by the government. This ranges from the use of stability policies, the policies on easing work and bringing labor into the legal system for economic development, to the current policies under external pressures. 2) Regarding the governance politics, in the period of 2015–2019 (before lifting the yellow card), the joint management process took place under unequal power of stakeholders. In addition, there were face-to-face discussions, trust building, commitment to work, and less shared understanding, leading to a lack of cooperation among stakeholder groups in the sea fishery business. The governance was characterized by "directive governance", i.e., the government determined the direction, law enforcement, and worker management through employers and maintaining a top-down centralization of power and command However, the government has not yet been able to establish a regime based on the concept of collaborative governance, where stakeholders participate in brainstorming and collaborative action. Later in the period of 2019 (after the yellow card was lifted) to 2022, it was a period with normal government systems. The government sector created mechanisms in management that demonstrate an increased focus on collaborative governance, especially the Department of Labor Protection and Welfare, Ministry of Labor. Examples of listening to opinions leading to negotiation for a clear solution include the case of social security. 3) For the results of operations of social protection for transnational migrant workers in sea fishery industries, there are dynamics in principle, such as legislation to directly protect workers management in sea fishery industries; however, there are still practical problems, such as the case of claiming compensation from the Compensation Fund with obstacles in terms of documentation and the problems of claims arising after the implementation of the government sector.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.740
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title การเมืองเรื่องธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ: การคุ้มครองทางสังคมในกิจการประมงทะเล
dc.title.alternative Politics of governance in transnational workers management: social protection in sea fishery industries
dc.type Thesis
dc.degree.name รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline รัฐศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2022.740


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record