DSpace Repository

การศึกษาองค์การในรูปแบบ Fast government ของภาครัฐไทยกรณีศึกษากรมสรรพากรและกรมการขนส่งทางบก

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปกรณ์ ศิริประกอบ
dc.contributor.author กัญญาวีร์ ปิตุรัตน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-08-04T06:55:01Z
dc.date.available 2023-08-04T06:55:01Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82814
dc.description วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์การปฏิบัติงานแบบ FAST Government กรณีศึกษากรมสรรพากร และกรมการขนส่งทางบก (2) ศึกษาระดับขององค์การในการเป็นองค์การแบบ FAST Government (3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการปรับเปลี่ยนองค์การแบบ FAST Government โดย FAST Government แบ่งออกเป็น 4 ปัจจัย ได้แก่ Flatter Government (รัฐบาลแนวราบ) Agile Government (รัฐบาลแบบคล่องตัว) Streamlined Government (รัฐบาลแบบมีประสิทธิภาพสูงสุด) Tech-enabled Government (รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์) ซึ่งระเบียบวิธีการวิจัยที่ใช้ในงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบพหุวิธี (Multi Methods) โดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพในการศึกษาการปฏิบัติงาน ปัญหา และอุปสรรคของกรมสรรพากรและกรมการขนส่งทางบกในการปรับองค์การแบบ FAST Government โดยการสัมภาษณ์บุคลากรกรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก และบุคลากรหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จำนวน 12 คน และใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ในการวิเคราะห์ระดับขององค์การในการเป็นองค์การแบบ FAST Government จากการใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) จากผลการวิจัย พบว่า กรมสรรพากรและกรมการขนส่งทางบกมีการปฏิบัติงานแบบ FAST Government ที่มีความคล้ายคลึงกัน คือมีความพยายามในการปรับเปลี่ยนรูปแบบในการปฏิบัติงาน เพื่อความรวดเร็ว ตอบสนองความต้องการของประชาชนมากขึ้น โดยการนำเทคโนโลยีและวิธีการปฏิบัติงานแบบคล่องตัว (Agile) เข้ามาประยุกต์ใช้ โดยกรมสรรพากรและกรมการขนส่งทางบก มีระดับการเป็นองค์การแบบ FAST Government ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาอุปสรรคของโครงสร้างที่มีขนาดใหญ่อาจทำให้เกิดความล่าช้า ไม่คล่องตัวได้ตามที่ทั้งสองกรมต้องการ อีกทั้งบุคลากรยังขาดความรู้ความชำนาญในการใช้เทคโนโลยี
dc.description.abstractalternative This research aimed to study and analyze the Fast Government operation: a case study of The Revenue Department and Department of Land Transport, examine the organizational level of the Fast Government, and investigate problems and obstacles of organization toward Fast Government. FAST Government is divided into four factors: Flatter Government, Agile Government, Streamlined Government, and Tech-enabled Government. The multi-method research approach was applied. The qualitative research method was used to study the operations, problems, and obstacles of The Revenue Department and Department of Land Transport, and other concerned people resulted from the Fast Government transform by interviewing a total of 12 staff from The Revenue Department, Department of Land Transport and other concerned people. The quantitative method was used to analyze the organizational level of the Fast Government using the questionnaire, and the results were analyzed with descriptive statistics. The research results demonstrated that the Fast Government operations of The Revenue Department and the Department of Land Transport were similar. They attempted to transform the work operation for quick service and respond to people’s needs by implementing technologies and agile operation. The overall level of the Fast Government of The Revenue Department and Department of Land Transport was moderate. Further, the result illustrated that problems and obstacles were the large scales of organizational structure that caused the lagging. Additionally, the personnel lacked proficiency in using technology.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.734
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title การศึกษาองค์การในรูปแบบ Fast government ของภาครัฐไทยกรณีศึกษากรมสรรพากรและกรมการขนส่งทางบก
dc.title.alternative The study of Thailand government organization toward fast government: case studies of the revenue department and department of land transport
dc.type Thesis
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline รัฐประศาสนศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2022.734


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record