dc.contributor.advisor |
อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล |
|
dc.contributor.author |
ปารเมศ อภัยฤทธิรงค์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-08-04T07:28:23Z |
|
dc.date.available |
2023-08-04T07:28:23Z |
|
dc.date.issued |
2565 |
|
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82988 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (อ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 |
|
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาการสืบทอดขนบการเฉลิมพระเกียรติและการสร้างสรรค์ใหม่
ในบทอาศิรวาทในสิ่งพิมพ์รายคาบสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 8 จำนวน 30 ชื่อเรื่อง รวม 247 สำนวน รวมถึงศึกษาความสำคัญของบทอาศิรวาทดังกล่าว
ผลการศึกษาพบว่า บทอาศิรวาทเป็นบทประพันธ์ที่แต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคลพระมหากษัตริย์รวมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ มักแต่งเป็นบทร้อยกรองขนาดสั้นเนื่องในโอกาสสำคัญต่าง ๆ มีเนื้อหาหลัก 2 ส่วน ได้แก่ การเฉลิมพระเกียรติและการถวายพระพรชัยมงคล บทอาศิรวาทมีทั้งการสืบทอดขนบการเฉลิมพระเกียรติในวรรณคดีและมีการสร้างสรรค์ใหม่ กล่าวคือ ในด้านรูปแบบ มีการสืบทอดการใช้รูปแบบคำประพันธ์ตามอย่างวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติแต่โบราณ และการใช้รูปแบบคำประพันธ์ที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ บทประพันธ์มีความยาวที่สอดคล้องกับลักษณะของสิ่งพิมพ์รายคาบ ในด้านเนื้อหาและแนวคิด บทอาศิรวาทสืบทอดเนื้อหาและแนวคิดเฉลิมพระเกียรติตามขนบ ได้แก่ การสรรเสริญพระมหากษัตริย์ตามคติศาสนา คือ ธรรมิกราชา โพธิสัตวราชา จักรพรรดิราชา และเทวราชา การสรรเสริญพระมหากษัตริย์ว่าเป็นผู้ทรงพระปรีชาสามารถด้านการปกครองและศาสตร์ต่าง ๆ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อประชาราษฎร และทรงเป็นผู้มีบุญญาธิการ นอกจากนี้ ยังมีการสรรเสริญพระเกียรติผ่านการชมบ้านเมืองและพระราชพิธีซึ่งแสดงถึงพระเกียรติยศ ตลอดจนสืบทอดเนื้อหาถวายพระพรชัยมงคลแด่พระมหากษัตริย์ด้วย ขณะเดียวกัน บทอาศิรวาทในสิ่งพิมพ์รายคาบแสดงให้เห็นการสร้างสรรค์เนื้อหาเฉลิมพระเกียรติตามแนวคิดอย่างใหม่ซึ่งสัมพันธ์กับยุคสมัย ทั้งยังมีการระบุโอกาสในการเฉลิมพระเกียรติอย่างชัดเจน ในด้านวรรณศิลป์ มีการสืบทอดการใช้ถ้อยคำ ความเปรียบ และลำดับความตามขนบการเฉลิมพระเกียรติในวรรณคดี ขณะเดียวกันก็มีการสร้างสรรค์ความเปรียบการวางเนื้อหาและการดำเนินเรื่องเพื่อสร้างความน่าสนใจ จึงกล่าวได้ว่าบทอาศิรวาทเป็นวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติรูปแบบใหม่ที่ได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางมากขึ้นด้วยความเฟื่องฟูของสิ่งพิมพ์รายคาบ ส่งผลให้บทอาศิรวาทมีความสำคัญต่อการส่งเสริมสถาบันพระมหากษัตริย์ มีความสำคัญต่อการเป็นบันทึกประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 8 รวมทั้งมีความสำคัญต่อพัฒนาการของสิ่งพิมพ์รายคาบไทยและพัฒนาการของวรรณคดีไทย |
|
dc.description.abstractalternative |
This thesis aims to study the literary conventions and creations in 247 “Asirawat” poems published in 30 periodicals between the reign of King Rama V and the reign of King Rama VIII. The study finds that "Asirawat" is a literary work mostly composed in short verses to praise and bless the monarch and members of the royal family on significant occasions. The content is divided into two main parts: praise and blessing. "Asirawat" both adheres to the conventions in traditional Thai panegyrics and establishes its own disticnt styles. In terms of form, it employs traditional versification, as used in traditional Thai panegyrics, as well as invents new versifications. The length of each poem conforms to the characteristics of the respective periodicals. In terms of content and concepts, "Asirawat" upholds conventional panegyrical contents and concepts from traditional literature, including religious portrayals of the monarch as Dharmikaraja, Bodhisattvaraja, Cakravartin, and Devaraja. Its also emphasizes the concept that the monarch is a wise and talented ruler, that the monarch is dedicated to royal duties for the people’s benefit, and that the monarch possesses an almighty power of merit. Additionally, "Asirawat" also includes other panegyric contents that appreciates the city and royal ceremonies to showcase the King’s prestige. Meanwhile, "Asirawat" within the periodicals demonstrates creative panegyrical content by introducing new concepts relevant to specific reigns and clearly indicating royal occasions. In terms of literary techniques, "Asirawat" maintains the use of phraseology, metaphors, and content organization seen in the traditional panegyrics while introducing new metaphors and narration styles to captivate attention. Therefore, it can be concluded that "Asirawat" is a novel form of Thai panegyrics that gains widespread popularity through the ascendency of periodicals. It plays a significant role in venerating the Thai monarchy and functions as an historical record spanning from the reign of King Rama V to the reign of King Rama VIII. Importantly, it constitutes an essential part of the development of Thai periodicals and Thai literature. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.710 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Arts and Humanities |
|
dc.subject.classification |
Arts, entertainment and recreation |
|
dc.subject.classification |
Fine arts |
|
dc.title |
บทอาศิรวาทในสิ่งพิมพ์รายคาบไทยสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 8 : วรรณคดีเฉลิมพระเกียรติในสื่อสิ่งพิมพ์สมัยใหม่ |
|
dc.title.alternative |
"Asirawat" in Thai periodicals from the Reign of King Rama V to the reign of King Rama VIII : Thai panegyric literaturein modern publications |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
ภาษาไทย |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2022.710 |
|