dc.contributor.advisor |
เกษม ชูจารุกุล |
|
dc.contributor.author |
ธาตรี รักมาก |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-08-04T07:37:44Z |
|
dc.date.available |
2023-08-04T07:37:44Z |
|
dc.date.issued |
2565 |
|
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83156 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 |
|
dc.description.abstract |
ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2565 ประเทศไทยมีสัดส่วนของผู้สูงอายุประมาณร้อยละ 18.31และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ใกล้เคียงกับนิยามสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ควรมีความพร้อมสำหรับรองรับการใช้งานในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องความปลอดภัยในการเดินทาง รวมถึงการข้ามถนน ซึ่งสัญญาณไฟสำหรับคนข้ามถนนแบบมีชุดนับเวลาถอยหลัง ก็เป็นหนึ่งในมาตรการที่ส่งเสริมความปลอดภัยแก่คนเดินเท้า โดยจะแสดงเวลานับถอยหลังให้คนเดินข้าม พร้อมทั้งกำกับให้ยานพาหนะหยุดรอ งานวิจัยนี้จึงทำการศึกษาพฤติกรรมการใช้ทางข้ามที่สัญญาณไฟแบบนับถอยหลังของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเร็วในการข้ามของผู้สูงอายุ พร้อมทั้งเปรียบเทียบกับความเร็วที่ใช้ในการออกแบบสัญญาณไฟในพื้นที่จริง และความเร็วมาตรฐานต่างประเทศ โดยใช้การทดสอบสมมติฐาน t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ในกรณีที่กลุ่มตัวอย่างมีการแจงแจงแบบปกติ และใช้การทดสอบของครัสคาลและวอลลิส ในกรณีที่กลุ่มตัวอย่างมีการแจงแจงแบบไม่ปกติ จากนั้นใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายเพื่อหาความเร็วที่เหมาะสมสำหรับใช้ออกแบบสัญญาณไฟตามสัดส่วนคนข้ามที่เป็นผู้สูงอายุ จากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ 227 คน ผลลัพธ์ที่ได้คือ ความเร็วการเดินที่ 15th Percentiles เฉลี่ยจากสัดส่วนผู้สูงอายุ ไม่แตกต่างกับความเร็วแนะนำ Highway Capacity Manual (2016) อย่างมีนัยสำคัญ และมีทางข้าม 3 แห่งจากที่ศึกษา 6 แห่งที่ใช้ความเร็วที่มากกว่าความเร็วการเดินที่ 15th Percentiles เฉลี่ยจากสัดส่วนผู้สูงอายุ ในทางข้ามนั้นอย่างมีนัยสำคัญ ในส่วนของปัจจัยที่ส่งผลต่อความเร็วในการข้ามของผู้สูงอายุ พบว่าตัวแปรช่วงวัย ทางข้ามที่แตกต่างกัน การถือสัมภาระ ส่งผลต่อความเร็วของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญ และความเร็วที่เหมาะสมสำหรับใช้ออกแบบสัญญาณไฟตามสัดส่วนคนข้ามที่เป็นผู้สูงอายุจากข้อมูลทุกทางข้ามรวมกันมีความพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ |
|
dc.description.abstractalternative |
On 31 January 2022, Thailand's elder proportion is around 18.31 percent of Thailand's population, and still growing. For this reason, the infrastructure should be prepared for the growth of the elderly population, including travel safety treatment and road crossing. This research mentions the signalized crossing with a countdown display. Although this treatment has a clear signal, if the walking time is too short, it may affect elderly pedestrians, one of the low walking speed groups. Therefore, this research studies elderly pedestrian crossing behavior at signalized crossings with countdown display in Bangkok and factors that affect elderly pedestrians' walking speed. Then this research finds a proper walking speed to calculate duration related to elder pedestrian proportion. Results from 227 elderly persons indicate that the 15th Percentiles walking speed from the elder proportion is significantly indifferent compared with standard walking speeds from Highway Capacity Manual (2016) and three crossing use design's walking speed for signalized crossing over the 15th Percentiles walking speed from the elder proportion at those crossing. The factor that significantly affects elderly walking speeds is age groups, different crossing and carrying. Lastly, a proper walking speed to calculate duration from every data significantly related to elder pedestrian proportion. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.828 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.title |
พฤติกรรมการข้ามถนนของผู้สูงอายุบนทางข้ามที่มีสัญญาณไฟแบบนับถอยหลังในกรุงเทพมหานคร |
|
dc.title.alternative |
Crossing behavior of elderly pedestrians at signalized crossings with countdown display in Bangkok |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
วิศวกรรมโยธา |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2022.828 |
|