DSpace Repository

การปรับปรุงกระบวนการสั่งซื้อของอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงดันต่ำในธุรกิจซื้อมาขายไป

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปารเมศ ชุติมา
dc.contributor.author รุจิรางค์ สีโท
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-08-04T07:37:57Z
dc.date.available 2023-08-04T07:37:57Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83164
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการสั่งซื้อของอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงดันต่ำในธุรกิจซื้อมาขายไป จากการศึกษาปัญหาพบว่า สินค้าคงคลังมีมูลค่าสินค้าคงคลังมากกว่ามูลค่ายอดขาย บางครั้งมีการสั่งสินค้ามาเกินความต้องการของลูกค้า ส่งผลให้ต้นทุนสินค้าคงคลังรวมสูง ดังนั้นจึงได้เริ่มการปรับปรุงกระบวนการโดยใช้เทคนิค ABC Analysis ในการจำแนกลำดับความสำคัญของสินค้า โดยใช้ 3 เกณฑ์ ได้แก่ เกณฑ์มูลค่าการใช้ต่อปี เกณฑ์ของระยะเวลานำของสินค้า และเกณฑ์ความถี่ของการสั่งซื้อสินค้า ทำให้ได้กลุ่มของสินค้าที่จะเลือกทำการปรับปรุงทั้งหมด 39 ชนิด แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ MCB, RCBO, Busbar และ Circuit Breaker หลังจากนั้นได้ทำการวิเคราะห์ความต้องการของสินค้าจากข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี (ปี2563-2565) พบว่าสินค้ามีลักษณะแนวโน้มขึ้น/ลง (Trending) และการเปลี่ยนแปลงหรือความผันแปรเนื่องจากเหตุการณ์ผิดปกติ (Assignable Cause) เมื่อทราบลักษณะแนวโน้มเพื่อนำไปกำหนดนโยบายการสั่งซื้อที่เหมาะสมที่สุด โดยวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวนของสินค้า ถ้าค่าของสัมประสิทธิ์ความแปรปรวนมีค่าน้อยกว่า 0.25 คือมีความแปรปรวนน้อย ความต้องการของสินค้ามีลักษณะคงที่ นโยบายสินค้าคงคลังที่ใช้คือ EOQ ถ้าหาค่าของสัมประสิทธิ์ความแปรปรวนมีค่ามากกว่า 0.25 คือมีความแปรปรวนมาก ความต้องการของสินค้ามีลักษณะไม่คงที่ นโยบายสินค้าคงคลังที่ใช้คือ Silver-Meal หลังจากที่นำนโยบายการสั่งซื้อสินค้าไปประยุกต์ใช้เพื่อคำนวณหาต้นทุนรวมสินค้า พบว่า นโยบายที่ใช้เทคนิค EOQ สามารถลดต้นทุนรวมได้ 14,497.16 บาท คิดเป็น 75.18% ของต้นทุนรวมในปัจจุบัน และนโยบายที่ใช้เทคนิค Silver-Meal สามารถลดต้นทุนรวมได้ 169.31 บาท คิดเป็น 4.99% ของต้นทุนรวมในปัจจุบัน
dc.description.abstractalternative This research aims to improve the ordering systems for low-voltage products in the trading business. The problem of the case study found that the inventory value is higher than the sales value, and there are orders that exceed customer demand, resulting in high total inventory costs. Therefore, it has to improve the process by using ABC Analysis to classify product priorities by using 3 criteria, consisting of usage value, lead time, and purchase frequency. There are products for improvement in a group of 39 items, divided into 4 types: MCB, RCBO, Busbar, and Circuit Breaker. After analyzing the demand for the product from the past 3 years (2020-2022), it was found that the product has Trending and Assignable Cause characteristics in order to determine the most suitable ordering policy by analyzing the coefficient of variance of the product. If the coefficient of variance is less than 0.25 indicating that the demand for the product is stable and consistent, therefore suitable for the EOQ method. If the coefficient of variance is greater than 0.25, it indicates that the demand for goods is unstable, therefore it is suitable for the Silver-Meal method. The result of the research found that the application of the EOQ method could reduce the total cost of the inventory by 14,497.16 Baht per year, which is 75.18% of the existing total inventory cost, and the application of the Silver-Meal method could reduce the total cost of the inventory by 169.31 Baht per year, which is 4.99% of the existing total inventory cost.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.901
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title การปรับปรุงกระบวนการสั่งซื้อของอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงดันต่ำในธุรกิจซื้อมาขายไป
dc.title.alternative Ordering system improvement for low voltage products in the trading business
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิศวกรรมอุตสาหการ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2022.901


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record