Abstract:
งานวิจัยฉบับนี้ทำการศึกษาข้อมูลบริษัทผลิตเครื่องใช้ในครัวเรือน มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อชิ้นส่วน ลดมูลค่าสินค้าคงคลังโดยการจัดลำดับความสำคัญของกลุ่มสินค้า วางแผนการสั่งซื้อชิ้นส่วนจากการวิเคราะห์รูปแบบความต้องการสินค้าจากข้อมูลความต้องการสินค้าย้อนหลัง เพื่อหาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม และสามารถความคุมปริมาณสินค้าคงคลังได้ ในสถานการณ์ปัจจุบันของบริษัทกรณีศึกษาพบว่าสินค้าคงคลังมีมูลค่าสินค้าคงคลังไม่สอดคล้องกับมูลค่าการขาย ซึ่งสังเกตได้จากอัตราหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnovers Ratio) ที่มีค่าน้อยกว่า 1 ในบางเดือน ผู้จัดทำวิจัยได้จัดลำดับความสำคัญของกลุ่มสินค้าโดยใช้เทคนิค ABC Analysis ในการจัดลำดับความสำคัญของสินค้า โดยสินค้าที่มีมูลค่าสินค้าคงคลังมากกว่า 70%ของมูลค่าสินค้าคงคลังทั้งหมดจะจัดอยู่ในสินค้า Group A ซึ่งกลุ่มสินค้า Group A สามารถแบ่งเป็น Group A1 และ Group A2 ซึ่งผู้จัดทำสนใจที่จะศึกษากลุ่มสินค้า Group A1 เป็นความสำคัญแรกที่นำมาศึกษารูปแบบความต้องการสินค้าเพื่อกำหนดนโยบายและวิธีการสั่งซื้อ หลังการปรับปรุงกระบวนการสั่งซื้อด้วยเทคนิคการหาจุดสั่งซื้อ (Reorder Point: ROP) และสินค้าคงคลังสำรอง (Safety Stock: SS) ที่เหมาะสม พบว่ามูลค่าสินค้าคงมีมูลค่าลดลงรวมทั้งสิ้น 25.12 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าสินค้าคงคลังก่อนการปรับปรุงในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 คิดเป็น 58.42%ของมูลค่าสินคงคลังทั้งหมดของสินค้า Group A และจากการปรับปรุงนโยบายด้วยวิธีฮิวริสติกของ Silver-Meal (SM) พบว่าการประมาณค่าใช้จ่ายรวมต่อการสั่งซื้อหลังปรับปรุงมีค่าลดลงจากก่อนปรับปรุง ทั้งนี้สาเหตุสำคัญที่ค่าใช้จ่ายรวมต่อการสั่งซื้อก่อนปรับปรุงมีค่ามากเกินความจำเป็นเนื่องมาจากความผิดพลาดในการสั่งซื้อของพนักงานและการไม่ประเมินความคุ้มค่าต่อการสั่งซื้อ