DSpace Repository

การลดมูลค่าสินค้าคงคลังโดยวิธีการปรับปรุงกระบวนการสั่งซื้อชิ้นส่วนของบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปารเมศ ชุติมา
dc.contributor.author ศศิธร คำนนท์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-08-04T07:38:01Z
dc.date.available 2023-08-04T07:38:01Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83166
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract งานวิจัยฉบับนี้ทำการศึกษาข้อมูลบริษัทผลิตเครื่องใช้ในครัวเรือน มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อชิ้นส่วน ลดมูลค่าสินค้าคงคลังโดยการจัดลำดับความสำคัญของกลุ่มสินค้า วางแผนการสั่งซื้อชิ้นส่วนจากการวิเคราะห์รูปแบบความต้องการสินค้าจากข้อมูลความต้องการสินค้าย้อนหลัง เพื่อหาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม และสามารถความคุมปริมาณสินค้าคงคลังได้ ในสถานการณ์ปัจจุบันของบริษัทกรณีศึกษาพบว่าสินค้าคงคลังมีมูลค่าสินค้าคงคลังไม่สอดคล้องกับมูลค่าการขาย ซึ่งสังเกตได้จากอัตราหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnovers Ratio) ที่มีค่าน้อยกว่า 1 ในบางเดือน ผู้จัดทำวิจัยได้จัดลำดับความสำคัญของกลุ่มสินค้าโดยใช้เทคนิค ABC Analysis ในการจัดลำดับความสำคัญของสินค้า โดยสินค้าที่มีมูลค่าสินค้าคงคลังมากกว่า 70%ของมูลค่าสินค้าคงคลังทั้งหมดจะจัดอยู่ในสินค้า Group A ซึ่งกลุ่มสินค้า Group A สามารถแบ่งเป็น Group A1 และ Group A2 ซึ่งผู้จัดทำสนใจที่จะศึกษากลุ่มสินค้า Group A1 เป็นความสำคัญแรกที่นำมาศึกษารูปแบบความต้องการสินค้าเพื่อกำหนดนโยบายและวิธีการสั่งซื้อ หลังการปรับปรุงกระบวนการสั่งซื้อด้วยเทคนิคการหาจุดสั่งซื้อ (Reorder Point: ROP) และสินค้าคงคลังสำรอง (Safety Stock: SS) ที่เหมาะสม พบว่ามูลค่าสินค้าคงมีมูลค่าลดลงรวมทั้งสิ้น  25.12 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าสินค้าคงคลังก่อนการปรับปรุงในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 คิดเป็น 58.42%ของมูลค่าสินคงคลังทั้งหมดของสินค้า Group A และจากการปรับปรุงนโยบายด้วยวิธีฮิวริสติกของ Silver-Meal (SM) พบว่าการประมาณค่าใช้จ่ายรวมต่อการสั่งซื้อหลังปรับปรุงมีค่าลดลงจากก่อนปรับปรุง ทั้งนี้สาเหตุสำคัญที่ค่าใช้จ่ายรวมต่อการสั่งซื้อก่อนปรับปรุงมีค่ามากเกินความจำเป็นเนื่องมาจากความผิดพลาดในการสั่งซื้อของพนักงานและการไม่ประเมินความคุ้มค่าต่อการสั่งซื้อ
dc.description.abstractalternative This research, which was conducted to investigate a Household Appliance Manufacturing Company, aims to improve the part-purchasing process, reduce inventory value by prioritizing products, plan to purchase products by analyzing patterns of demand recorded from previous ones to determine the right order quantity, and control the amount of inventory stock. The number of inventory items in a company's present situation is irrelevant to the selling cost, as the Inventory Turnover Ratio is less than one in some months. An analysis of demand patterns was utilized in developing the purchasing policy, and the ABC analysis was instructed to improve significant products to improve this problem. The ABC analysis places products in Group A that have a high inventory value (greater than 70%). A1 and A2 are parts of Group A. Group A1 products were the first to be developed in terms of demand patterns and purchasing procedures. When compared to the inventory value before the development in September 2021, the inventory value decreased to 25.12 million baht, or 58.42% of the total inventory value of Group A, after optimizing the purchasing process utilizing the appropriate Reorder Point (ROP) and Safety Stock (SS) approaches. The estimate of all costs for one purchase has been reduced as a result of Silver-Meal's (SM) enhancement of the policy using the heuristics method. The main cause of the problem is human error in ordering; they are unable to calculate the full expenses of the purchase.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.904
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title การลดมูลค่าสินค้าคงคลังโดยวิธีการปรับปรุงกระบวนการสั่งซื้อชิ้นส่วนของบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน
dc.title.alternative Inventory cost reduction by improving parts ordering process in a household appliance manufacturer
dc.type Thesis
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิศวกรรมอุตสาหการ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2022.904


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record