DSpace Repository

การแปลบทกวีนิพนธ์เชิงอภิปรัชญาชุด Songs and Sonnets ของจอห์น ดันน์

Show simple item record

dc.contributor.advisor แพร จิตติพลังศรี
dc.contributor.author อาทิมา พวงเข็มแดง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-08-04T08:20:37Z
dc.date.available 2023-08-04T08:20:37Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83294
dc.description สารนิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาการถ่ายทอดแนวคิดและวัจนลีลาที่โดดเด่นในกวีนิพนธ์แนวอภิปรัชญาจำนวน 6 เรื่องที่คัดสรรจากชุด Songs and Sonnets ของจอห์น ดันน์ ได้แก่ The Flea, The Apparition, Woman’s Constancy, The Canonization, The Bait และ A Valediction: Forbidding Mourning จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับแนวคิดเชิงอภิปรัชญาและบทวิเคราะห์ลักษณะการประพันธ์ของดันน์และกวีแนวอภิปรัชญาคนอื่น ๆ เพื่อนำมาใช้ประกอบกับทฤษฎีวาทกรรมวิเคราะห์ ของคริสติอาเนอ นอร์ด ในการวิเคราะห์และทำความเข้าใจตัวบทและแนวคิดเชิงอภิปรัชญาที่สอดแทรกอยู่ พร้อมทั้งศึกษาทฤษฎีการแปลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทฤษฎีการแปลแบบครบความ ของปีเตอร์ นิวมาร์ค ทฤษฎีการแปลแบบยึดความหมาย ของมารี-อานน์ เลเดแรร์ กลวิธีในการคิดหาคำแปล ของโมนา เบเคอร์ ทฤษฎีการแปลชดเชย ของเฮอร์วีย์ ซานดอร์ และเอียน ฮิกกินส์ แนวทางการแปลวรรณกรรม ของวัลยา วิวัฒน์ศร และแนวทางการแปลกวีนิพนธ์ ของเจมส์ โฮล์มส์ เพื่อหาแนวทางการแปลที่เหมาะสมโดยเฉพาะสำหรับตัวบทประเภทกวี­นิพนธ์ พร้อมทั้งถ่ายทอดแนวคิดอภิปรัชญาที่สำคัญและลีลาการประพันธ์ของกวีเป็นร้อยกรองภาษาไทย โดยคำนึงถึงความใกล้เคียงของผลลัพธ์ที่เกิดจากเครื่องมือทางวรรณศิลป์ในภาษาไทยเมื่อเทียบกับกวีนิพนธ์ต้นฉบับ และการทำความเข้าใจความหมายของผู้อ่านกวีนิพนธ์ฉบับแปลไปควบคู่กัน เพื่อให้ผู้อ่านกวีนิพนธ์ฉบับแปลสามารถวิเคราะห์สาระสำคัญของแนวคิดอภิปรัชญาที่สอดแทรกอยู่ในกวีนิพนธ์ และได้รับสุนทรียภาพผ่านกลวิธีทางวรรณศิลป์ที่กวีใช้เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดแนวคิดนั้นให้ได้มากที่สุด
dc.description.abstractalternative This special research aims to study strategies in translating the ideologies and the prominent styles in 6 metaphysical poems from John Donne’s Songs and Sonnets, namely The Flea, The Apparition, Woman’s Constancy, The Canonization, The Bait and A Valediction: Forbidding Mourning, from English to Thai. An analytical study of Donne’s and other metaphysical poets’ works, together with Christiane Nord’s discourse analysis theory, has been applied to analyze and comprehend the source text’s ideas. Several translation theories including Peter Newmark’s semantic translation, Marianne Lederer’s interpretive theory of translation, Mona Baker’s translation strategies, Hervey Sandor and Ian Higgins’ compromise and compensation, Vallaya Vivatsorn’s literature translation approach and James Holmes’ poetry translation approaches have also been applied to this study to find the best way to translate English poetry and convey the fundamental metaphysical ideas found in the selected poems as well as the poet’s styles in the source text into its Thai translation. Formally as well as schematically appropriate Thai prosodies and literary devices have been applied to ensure the comprehension of the translated text’s readers about the conveyed metaphysical ideas while maintaining their aesthetics through Thai literary devices that can best recreate similar effects as in the source text.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.192
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Arts and Humanities
dc.subject.classification Arts, entertainment and recreation
dc.subject.classification Foreign languages
dc.title การแปลบทกวีนิพนธ์เชิงอภิปรัชญาชุด Songs and Sonnets ของจอห์น ดันน์
dc.title.alternative The translation of John Donne’s metaphysical poems in Songs and Sonnets
dc.type Independent Study
dc.degree.name อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การแปลและการล่าม
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2022.192


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record