DSpace Repository

การแปลภาษาเก่าสมัยรัชกาลที่ ๕ ในบทสนทนาจากนวนิยายเรื่อง ทวิภพ ของทมยันตีเป็นภาษาอังกฤษ

Show simple item record

dc.contributor.advisor แพร จิตติพลังศรี
dc.contributor.author พนิดา ออตโตสัน
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-08-04T08:20:38Z
dc.date.available 2023-08-04T08:20:38Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83302
dc.description สารนิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract สารนิพนธ์ชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเพื่อการแปลภาษาเก่าที่พบในบทสนทนาจากวรรณกรรมเรื่อง ทวิภพ ให้เป็นภาษาเก่าในภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อหาวิธีระบุภาษาเก่าในตัวบทต้นฉบับ และศึกษาภาษาเก่าในภาษาปลายทางโดยการศึกษาภาษาเก่าจากวรรณกรรมของเจน ออสเตนและชาร์ลอต บรอนเต้ เพื่อเทียบเคียงภาษาแบบ time-matched archaization, hyper-archaization และ updated-archaization นอกจากนี้ยังวิเคราะห์วัจนลีลาและความสัมพันธ์ของตัวละครในเรื่อง ทวิภพ เพื่อที่จะสามารถเลือกวัจนลีลาในการแปลให้เหมาะสมกับความสัมพันธ์ของตัวละคร การศึกษาภาษาเก่าในภาษาอังกฤษจากวรรณกรรมที่เลือกเน้นศึกษาภาษาที่ใช้ในบทสนทนาเป็นหลักโดยการสุ่มบทสนทนาเพื่อระบุความโดดเด่นของภาษาในด้านของความเก่าของภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในการแปล ทฤษฎีและแนวทางการแปลที่นำมาใช้ในการวิจัยเพื่อการแปลนี้ประกอบไปด้วยทฤษฎี Dynamic Equivalence ของ Eugene A. Nida ทฤษฎี Skopos ของ Hans J. Vermeer และ Scene and Frame Semantics ของ Charles J. Fillmore และใช้กลยุทธ์การแก้ไขปัญหาการแปลข้ามวัฒนธรรมที่เสนอไว้โดย Antony Pym, Mona Baker และ Peter Newmark จากการศึกษาพบว่าภาษาเก่าแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ และการแปลภาษาเก่ามีกลยุทธ์ทั้งหมด 6 ระดับ ดังนั้นในการแปลภาษาเก่าจะต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกันในแง่ของระดับความเก่าของภาษานอกเหนือจากการใช้จากทฤษฎีและแนวทางต่าง ๆ ที่ยกมาไว้ในสารนิพนธ์เล่มนี้
dc.description.abstractalternative This is a research work on translating archaic language in Thai from during the reign of King Rama V found in dialogues from the literature "Tawiphop", into archaic language in English. The study employs data exploration methods to identify the archaic language in the source text and examines archaic languages in the target language by studying the language found in dialogues from selected literature works of Jane Austen and Charlotte Brontë. Archaic translation strategy employed is by using time-matched archaization, hyper-archaization, and updated-archaization strategies. Additionally, the research analyzes the relationships of characters in "Tawiphop" to appropriately select styles in translation that suits the characters' relationships and social statuses. The theoretical and methodological frameworks used in this research include Eugene A. Nida's Dynamic Equivalence, Hans J. Vermeer's Skopos theory, and Charles J. Fillmore's Scene and Frame Semantics. Problem-solving strategies for intercultural translation proposed by Antony Pym, Mona Baker, and Peter Newmark are also employed. The study reveals that archaic languages can be categorized into three levels, and there are six levels of strategies for translating ancient languages. Thus, these factors must be considered appropriately when translating archaic languages.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.190
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Arts and Humanities
dc.subject.classification Arts, entertainment and recreation
dc.subject.classification Foreign languages
dc.title การแปลภาษาเก่าสมัยรัชกาลที่ ๕ ในบทสนทนาจากนวนิยายเรื่อง ทวิภพ ของทมยันตีเป็นภาษาอังกฤษ
dc.title.alternative Translating the archaic language in the King Rama V era from the novel Tawiphob by Thommayanti into English
dc.type Independent Study
dc.degree.name อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การแปลและการล่าม
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2022.190


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record