dc.contributor.author |
นราพร สมบูรณ์นะ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-08-07T09:28:31Z |
|
dc.date.available |
2023-08-07T09:28:31Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83414 |
|
dc.description.abstract |
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม พืชที่ปลูกส่วนใหญ่ได้แก่ ข้าว ตามด้วยผักและผลไม้ชนิดต่างๆ ปัจจุบันมีแนวโน้มการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แต่กลับพบว่าพื้นที่ๆใช้สำหรับเพาะปลูกเกือบทั้งหมดนั้นเป็นดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์และเสื่อมสภาพทั้งทางเคมีและทางกายภาพ อันเนื่องมาจากการใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง ปัญหาดินเปรี้ยวหรือดินเค็ม ทำให้ดินมีคุณภาพเสื่อมลงและสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ทำให้พืชโตช้า และได้ผลผลิตทางการเกษตรน้อย มีงานวิจัยจำนวนมากชี้ให้เห็นว่าการทำเกษตรอินทรีย์ หรือการปลูกพืชโดยใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยชีวภาพนั้นสามารถคงความหลากหลายทางชีวภาพและความอุดมสมบูรณ์ของดินได้มากกว่าการทำเกษตรที่ใช้สารเคมี ทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพเป็นจำนวนมาก ดังนั้นโครงการวิจัยนี้จึงมุ่งหวังเพื่อที่จะศึกษาจุลินทรีย์ในมูลสัตว์แต่ละชนิด เพื่อที่จะคัดเลือกมูลสัตว์ที่มีคุณสมบัติที่ดีที่สุดและนำมาใช้ในการพัฒนาเป็นปุ๋ยคอก และใช้เพื่อปรับปรุงฟื้นฟูดินที่เสื่อมสภาพจากการทำการเกษตร ด้วยการเปรียบเทียบฐานข้อมูลประชากรจุลินทรีย์แบคทีเรีย อาร์เคีย และราในมูลสัตว์ชนิดต่างๆ ได้แก่ มูลโคนม มูลไส้เดือน มูลแพะ มูลกวางลูซี่ มูลกระต่าย และมูลโคเนื้อภูพาน ด้วยวิธีการสร้างห้องสมุดยีน 16s ไรโบโซมอลอาร์เอ็นเอและ sequencing หรือไมโครไบโอม ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีที่เหมาะในการใช้เพื่อสร้างฐานข้อมูลและเพื่อใช้วิเคราะห์ระบบนิเวศอย่างถูกต้อง เนื่องจากมีแบคทีเรียจำนวนมากที่ไม่เหมาะต่อการเพาะเลี้ยงและยังให้ข้อมูลที่ครบถ้วนอีกด้วย จากผลของงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของมูลสัตว์แต่ละชนิดทั้งในด้านคุณสมบัติ ลักษณะทางกายภาพ เคมี และความหลากหลายทางชีวภาพของจุลินทรีย์ที่พบในมูลสัตว์ โดยพบว่าไฟลัม Fibrobacteres, Actinobacteria และ Planctomycetes เป็นไฟลัมที่พบได้มากที่สุดในมูลสัตว์ทุกชนิด ซึ่งมูลไส้เดือนนั้นมีความหลากหลายแบคทีเรียรวมมากที่สุด และยังมีโครงสร้างประชากรแบคทีเรียที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับมูลสัตว์ชนิดอื่นๆ ซึ่งแบคทีเรียในกลุ่ม Rhizobiales, Actinomycetales และ Flavobacteriales พบได้มากในมูลของไส้เดือนอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุอาหารที่สำคัญที่ต่อพืชอย่างครบถ้วน ได้แก่ ไนโตรเจน โพแทสเซียม และฟอสฟอรัส ซึ่งเหมาะสมต่อการนำมาพัฒนาเป็นปุ๋ยคอกต่อไป |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Thailand is an agricultural country, particularly in the Northeastern that covers one-third of the region. Main cultivars include rice (>50%) followed by local vegetables and fruits. Yet, the soil quality of the Northeastern is sandy and inappropriate for agriculture. In addition, water amount from ponds and annual rain is limited, and the soil is also salty because of the recently heavy use of chemicals, such as pesticide. Instead of synthetic fertilizer that yields only individual minerals for soil, the present study analyzed animal feces from various species that farmers use in farming (feces of earthworm, cow, dairy cow, buffalo, goat, pig, Lucy deer, chicken and rabbit), for physiochemical properties and microbiota compositions via culture-independent 16S rRNA gene sequencing methods. Inclusion of proper microbial population in animal feces is expected to supportively function to recover the soil nutrition and condition for fertile land. Results indicated that phylum Fibrobacteres, Actinobacteria, and Planctomycetes were found more abundance in all fecal samples. Earthworm feces yielded the most variety of minerals (nitrogen, potassium, and Phosphorus). It also showed appropriate levels of pH, salt, moisture, and the most diversity of bacterial phyla. Compared with other animals, earthworm yielded significantly more proportion of Rhizobiales, Actinomycetales and Flavobacteriales. Many species of these phyla are important for soil quality. Examples are nitrogen-fixer Rhizobium and organic-digested Actinomycetales. |
en_US |
dc.description.sponsorship |
ได้รับทุนอุดหนุนทั่วไปจากรัฐบาล ประจำปีงบประมาณ 2561 สัญญาเลขที่ GB-A_61_024_23_05 |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.RES.2018.3 |
|
dc.rights |
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
ปุ๋ยชีวภาพ |
en_US |
dc.subject |
จุลินทรีย์ |
en_US |
dc.subject |
มูลสัตว์ |
en_US |
dc.title |
การคัดสรรและพัฒนาปุ๋ยชีวภาพและการเกษตรแบบอินทรีย์ จากฐานข้อมูลจุลินทรีย์ |
en_US |
dc.title.alternative |
Selection and development of organic fertilizer and agriculture using microbiome |
en_US |
dc.type |
Technical Report |
en_US |
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.RES.2018.3 |
|