Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความสามารถในการปรับตัวทางด้านอาชีพ และเพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลความสามารถในการปรับตัวทางด้านอาชีพที่แบ่งตามเพศ กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 330 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบวัดความสามารถในการปรับตัวทางด้านอาชีพฉบับสั้น ตรวจสอบคุณภาพโดยการวิเคราะห์ค่าความเที่ยง ค่าดัชนีอำนาจจำแนกรายข้อ ความตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์โดยใช้โปรแกรม SPSS และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและวิเคราะห์โมเดลสมการพหุ ด้วยโปรแกรม LISREL 8.72 ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1. ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคโดยรวมทั้งฉบับเท่ากับ .90 รายองค์ประกอบมีค่าอยู่ระหว่าง .74 ถึง .81
2. ค่าดัชนีอำนาจจำแนกมีค่าอยู่ระหว่าง .55 ถึง .69
3. การวิเคราะห์ความตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์พบว่า มีความสัมพันธ์กับแบบวัดมโนทัศน์การปรับตัวทางอาชีพของนักเรียนในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r= .66)
4. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่า โมเดลความสามารถในการปรับตัวทางด้านอาชีพมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า gif.latex?\chi&space;^{2} = 57.79, df = 45, p=0.095, GFI=0.972, AGFI=0.951, RMR=0.016 และ RMSEA=0.029 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบของทุกตัวแปรสังเกตได้และองค์ประกอบทั้ง 4 องค์ประกอบมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. การทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลความสามารถในการปรับตัวทางด้านอาชีพ พบว่า รูปแบบโมเดลและพารามิเตอร์ของโมเดลมีค่าไม่แปรเปลี่ยนระหว่างนิสิตเพศชายและนิสิตเพศหญิง