Abstract:
โครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีบทบาทสำคัญต่อการแก้ไขบรรเทาวิกฤตการณ์น้ำแล้ง-น้ำท่วมในลุ่มน้ำป่าสักและลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง จึงทำให้โครงการอยู่ในความสนใจเป็นพิเศษจากประชาชนทั่วไป เพื่อให้การดำเนินงานของโครงการมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด จึงเกิดการศึกษาโครงการาประเมินผลโครงการ เพื่อให้ทราบประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด จึงเกิดการศึกษาโครงการประเมินผลโครงการ เพื่อให้ทราบถึงผลสำเร็จของการปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์ ปัญหาอุปสรรค และผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงจากการดำเนินโครงการ และนำไปเป็นข้อมูลประกอบในการพิจารณาปรับปรุงโครงการในระยะต่อไป โครงการประเมินผลโครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ด้านประสิทธิผลการจัดการน้ำผิวดินและผลกระทบต่อน้ำใต้ดิน ศึกษาในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสัก และลุ่มเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่างตั้งแต่เริ่มก่อสร้างเขื่อนจนถึงปัจจุบัน และคาดการณ์สภาพอนาคตประมาณ 20 ปีข้างหน้า โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ 1. ประเมินประสิทธิผล และแนวทางการบริหารจัดการของโครงการ ตามวัตถุประสงค์ที่ระไว้ในรายงานการศึกษาความเหมาะสมโครงการ 2. ประเมินผลกระทบน้ำใต้ดิน เนื่องจากการพัฒนา (ก่อสร้าง) โครงการ 3. เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงการบริหารจัดการน้ำตามวัตถุประสงค์ของโครงการการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประเมินผล ครอบคลุมหัวข้อ ดังนี้ 1. แหล่งน้ำผิวดิน การบรรเทาอุทกภัย ระบบโทรมาตร 2. การชลประทาน การจัดสรรน้ำ และการบริหารอ่างเก็บน้ำ 3. แหล่งน้ำใต้ดิน 4. การใช้น้ำ และความต้องการใช้น้ำ ผลการดำเนินการได้ศึกษาวิเคราะห์และพิจารณาแนวทางปรับปรุงการบริหารโครงการภายใต้กรอบบริหารจัดการน้ำที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน โดยพิจารณาเน้นเพิ่มงานศึกษาเพื่อพัฒนาเครื่องมือการวิเคราะห์และนำผลการวิจัยที่ได้มาสรุปใช้ในการจัดสรรน้ำต่อไป สำหรับองค์ประกอบของข้อเสนอปรับปรุงการบริหารจัดการน้ำของโครงการ ประกอบด้วย 1) การพัฒนาระบบการประเมินความต้องการใช้น้ำ 2) การปรับปรุงเทคนิคการทำนายปริมาณน้ำท่าไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ 3) การพัฒนาเกณฑ์ควบคุมการเก็บกักและการปล่อยน้ำของอ่างเก็บน้ำ 4) การศึกษาโอกาสการใช้น้ำร่วมระหว่างผิวดินและน้ำใต้ดิน 5) การกำหนด การจัดลำดับความสำคัญ และแนวทางการจัดสรรน้ำ 6) ข้อเสนอแนะการปรับปรุงด้านการเกษตรในพื้นที่ชลประทาน 7) นวัตกรรมใหม่ในการบริหารจัดการน้ำในอนาคต