DSpace Repository

การติดตามผลกระทบของโครงสร้างทางวิศวกรรมต่อการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.author บุศวรรณ บิดร
dc.contributor.author เสรี จันทรโยธา
dc.contributor.author ณฐมน พนมพงศ์ไพศาล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-22T04:25:35Z
dc.date.available 2023-09-22T04:25:35Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83561
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้ได้ติดตามผลกระทบของการใช้โครงสร้างป้องกันชายฝั่งต่อการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่ง 43.1 กิโลเมตรของชายฝั่งเพชรบุรีซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอ่าวไทยตอนบนในช่วงปี 2497-2560 ตำแหน่งของแนวชายฝั่งในอดีตที่ช่วงเวลาต่าง ๆ ได้จากข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศปี 2497, 2510, 2519, 2537 และข้อมูลดาวเทียมปี 2541, 2552, 2558 และ 2560 โดยใช้ซอฟท์แวร์ระบบสารสนเทศ ArcGIS โดยข้อมูลภาพทั้งหมดจะถูกตรึงพิกัดสู่ระบบ World Geodetic 1983 (WGS 1983) เพื่อกำจัดความบิดเบี้ยงจากภาพถ่ายและข้อมูลดาวเทียม ตำแหน่งของแนวชายฝั่งของพื้นที่ศึกษาถูกลากขึ้นสำหรับแต่ละช่วงปีข้อมูล ระบบ Digital Shoreline Analysis (DSAS) เวอร์ชัน 4.4 ถูกใช้เพื่อการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งแนวชายฝั่งบริเวณพื้นที่ศึกษา ผลการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ประมาณ 47 เปอร์เซ็นต์ ของแนวชายฝั่งในพื้นที่ศึกษาเกิดการถดถอยอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 60 ปี ด้วยอัตราเฉลี่ย -1.3 และ -5 เมตรต่อปี สำหรับชายฝั่งทรายและชายฝั่งโคลนตามลำดับ ชายฝั่งส่วนที่เหลือซึ่งเป็นชายฝั่งโคลนมีการงอกเพิ่มอย่างต่อเนื่องด้วยอัตราสูงสุด 30 เมตรต่อปี และอัตราเฉลี่ย 8.6 เมตรต่อปี สำหรับสาเหตุของการถดถอยของชายฝั่งจะเกี่ยวข้องกับกระบวนการชายฝั่งเฉพาะที่เป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาพคลื่นและกระแสน้ำโครงสร้างทางวิศวกรรมหลายประเภท เช่น กำแพงกันคลื่น เขื่อนกันคลื่น และคันดักตะกอน ถูกนำมาใช้ในการป้องกันแนวชายฝั่งที่ถูกกัดเซาะ จากการวิเคราะห์แนวชายฝั่งพบว่า โครงสร้างเขื่อนกันคลื่นสามารถนำมาใช้ในการรักษาเสถียรภาพของหาดทรายของชายฝั่งเพชรบุรีได้สำเร็จ อย่างไรก็ตามเสถียรภาพของชายฝั่งดังกล่าวได้ก่อให้เกิดการสลายตัวของสันทรายแหลมผักเบี้ยซึ่งเป็นหนึ่งในสันทรายธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากขาดตะกอนทรายจากด้านเหนือน้ำเข้ามาเติมในพื้นที่ ในขณะที่การก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นและกำแพงกันทรายบริเวณชายฝั่งโคลนของจังหวัดเพชรบุรีไม่แสดงผลกระทบด้านลบต่อการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งในพื้นที่ศึกษาแต่กลับช่วยรักษาเสถียรภาพของแนวชายฝั่งไว้ได้ en_US
dc.description.abstractalternative This study monitor the effect of coastal protection structures on shoreline change along the 43.1 km of the Phetchaburi coast located on the western portion of the Upper Gulf of Thailand during the period 1953-2017. Historical shoreline positions along the coast were derived from the aerial photographs taken in 1953, 1967, 1976, 1994, 2002 and the satellite imagery in 2006, 2009, 2014, and 2017 using the Geographic Information System (ArcGIS) software. All imagery data were geo-referenced into World Geodetic System 1983 (WGS1983) to eliminate distortion from the aerial photographs and satellite imagery. The shoreline positions along the study area were then digitized for each time period. The Digital Shoreline Analysis System (DSAS) version 4.4 was used to analyze the changes of shoreline positions in the study area. Results from this study revealed that about 47% of the study area had continuously retreated over the past sixty years with the average rates of -1.3 and -5 m/y for the sandy and muddy beaches, respectively. The remaining, which was muddy coast, had advanced seaward with the maximum rate of 30 m/y and average rate of 8.6 m/y. The causes of shoreline recession mainly related to local coastal processes, especially wave and current conditions. Several engineering structures, such as seawalls, breakwaters, and groins, were applied to these areas to protect the eroded shorelines. Based on shoreline analysis, it was found that the breakwaters have successfully stabilize the shoreline along the sandy coast of the Phetchaburi coast by reducing wave energy and inducing sedimentation behind the structures. Unfortunately, the stable shoreline has caused a destruction of Laem Pak Bia spit, which is one of the largest natural sand spit of Thailand due to the lack of sediment supply from upcoast. Meanwhile, the construction of breakwaters and seawalls along the Phetchaburi muddy coast did not show any negative effect on shoreline change but stabilize the coast. en_US
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช ประจำปี 2560 en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การป้องกันชายฝั่ง (ชลศาสตร์) en_US
dc.subject การเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง -- ไทย en_US
dc.subject วิศวกรรมชายฝั่ง en_US
dc.subject Shore protection en_US
dc.subject Coast changes -- Thailand en_US
dc.subject Coastal engineering en_US
dc.title การติดตามผลกระทบของโครงสร้างทางวิศวกรรมต่อการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งในประเทศไทย en_US
dc.title.alternative Monitoring of the impact of engineering structures on shoreline changes in Thailand en_US
dc.type Technical Report en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record