DSpace Repository

สถานภาพของรายวิชาด้านพหุวัฒนธรรมดนตรีในหลักสูตรดนตรีศึกษา ระดับอุดมศึกษา

Show simple item record

dc.contributor.author ธีรวิทย์ กลิ่นจุ้ย
dc.contributor.author สยา ทันตะเวช
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-25T02:29:28Z
dc.date.available 2023-09-25T02:29:28Z
dc.date.issued 2565-01
dc.identifier.citation วารสารครุศาสตร์สาร 16,1 (ม.ค.-มิ.ย. 2565) หน้า 155-165 en_US
dc.identifier.issn 1906-117X
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83580
dc.description.abstract งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพของรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับพหุวัฒนธรรมดนตรี ในหลักสูตรดนตรีศึกษาระดับอุดมศึกษา การวิจัยในครั้งนี้ดำเนินการด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ตามแนวทางการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยทำการศึกษา เอกสารตัวเล่มหลักสูตรดนตรีศึกษา (มคอ.2) ของสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนทางด้านดนตรีศึกษาใน ระดับปริญญาบัณฑิตที่ได้จากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 10 สถาบัน ซึ่งในการวิจัยมุ่งศึกษาใน 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1.ด้านข้อมูลพื้นฐานของรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับพหุวัฒนธรรมดนตรี2.ด้านขอบเขต ของเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้องกับพหุวัฒนธรรมดนตรีและ 3. ด้านขอบเขตของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ภายในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับพหุวัฒนธรรมดนตรี ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านข้อมูลพื้นฐานของรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับพหุวัฒนธรรมดนตรี พบว่าสามารถแบ่งได้ 2กลุ่ม คือ กลุ่มวิชาบังคับ 11 รายวิชา (ร้อยละ 35.48) และกลุ่มวิชาเลือก 20 รายวิชา (64.52) 2) ด้านสถานภาพรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับพหุวัฒนธรรมดนตรีซึ่งแบ่งออกเป็นสถานภาพ ด้านเนื้อหาการจัดการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับพหุวัฒนธรรมดนตรีในประเทศ 13 รายวิชา (ร้อยละ 41.94) นอกประเทศ 11 รายวิชา (ร้อยละ 35.48) ทั้งในและนอกประเทศ 7 วิชา (ร้อยละ22.58) และ 3) ด้านขอบเขตของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ของรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับพหุวัฒนธรรมดนตรี แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มวิชาเชิงแนวคิดทฤษฎีทางดนตรี 9 วิชา (ร้อยละ 29.03) เชิงปฏิบัติทักษะ ดนตรี 16 วิชา (ร้อยละ 51.61) และเชิงบูรณาการดนตรีกับศาสตร์อื่น 6 วิชา (ร้อยละ 19.35) นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวถึงคำสำคัญที่สื่อถึงเนื้อหา วัตถุประสงค์และความเป็นรายวิชาเชิงแนวคิดทฤษฎีทางดนตรี ปฏิบัติทักษะดนตรี และบูรณาการดนตรีกับศาสตร์อื่นที่ชัดเจนสามารถเข้าใจภาพรวมของรายวิชาได้ แต่อย่างไรก็ตามรายวิชาทางด้านพหุวัฒนธรรมดนตรีเป็นวิชาที่ควรมีการทบทวนในมิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวพันกับ การพัฒนาหลักสูตร ในฐานะการเรียนการสอนมีความจำเป็นในสังคมพหุวัฒนธรรมและโลกไร้พรมแดนใน ปัจจุบัน en_US
dc.description.abstractalternative The objective of this research was to study the status of courses related to multicultural music in music education program at the higher education level. This research was conducted with a qualitative research methodology according to the documentary research design. The music education curriculum (TQF 2) documents of the higher education institutions offering music education at the bachelor's degree level were studied, obtained from a purposive sampling from 10 educational institutions. The research aimed to study 3 important issues as follows: 1. Fundamentals of courses related to multicultural music; 2. The scope of the course content related to multicultural music and 3. The scope of the learning style model within the course related to multicultural music. The results of this research indicated that 1. In terms of basic information of courses related to multicultural music, it was found to be divided into 2 groups: Group of 11 compulsory courses (35.48%) and 20 elective courses (64.52). 2. The status of courses related to multicultural music was divided into content status of learning about multicultural music in 13 courses related with culture inside the country (41.94%), 11 courses outside the country (35.48%), 7 courses both focused culture inside and outside the country (22.58%), and 3. The scope of the learning style model of courses related to music multiculturalism were divided into 3 groups, namely 9 music theory and concept subjects (29.03%), 16 music skills practical subjects (51.61%) and 6 subjects that integrated music and other disciplines (19.35%). In addition, the key words conveying the content, objectives and subject matter of music theory and concept, practice music skills and integration of music with other disciplines were also discussed in a clear, comprehensive overview of the course. However, the course of multicultural music should be reviewed in numerous dimensions related to curricular development as teaching and learning are essential in today's multicultural society and borderless world. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher วารสารครุศาสตร์สาร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา en_US
dc.relation.uri https://edujournal.bsru.ac.th/publishes/20/articles/383
dc.rights กองบรรณาธิการวารสารครุศาสตร์สาร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา en_US
dc.title สถานภาพของรายวิชาด้านพหุวัฒนธรรมดนตรีในหลักสูตรดนตรีศึกษา ระดับอุดมศึกษา en_US
dc.title.alternative Statuses of Multicultural Music’s Subjects in Higher Educational Music Education Curriculum en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Thai Journal Article [90]
    บทความวารสารภาษาไทยจากฐานข้อมูลออนไลน์ Free Open Access

Show simple item record