Abstract:
บทความวิจัยเรื่องแนวคิดและกระบวนการสร้างสรรค์เพลงพื้นบ้าน
ภาคใต้ร่วมสมัยของเอกชัย ศรีวิชัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ชีวประวัติของ
เอกชัย ศรีวิชัย 2) แนวคิดและกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานเพลงพื้นบ้าน
ภาคใต้ร่วมสมัย และ 3) วิเคราะห์ผลงานเพลงพื้นบ้านภาคใต้ร่วมสมัยที่มี
อิทธิพลต่อการส่งเสริมเพลงพื้นบ้านภาคใต้ในปัจจุบัน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัย
เชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ เอกชัย ศรีวิชัย และผู้ให้
ข้อมูลรอง จำนวน 20 คน โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ศิลปินเพลง
พื้นบ้านภาคใต้ 2) นักวิชาการหรือนักมานุษยวิทยาการดนตรี3) ครูอาจารย์
และนักวิชาการศึกษาที่ปฏิบัติการสอนเพลงพื้นบ้านภาคใต้ในสถานศึกษา
ท้องที่ภาคใต้ผลการศึกษา พบว่า เอกชัย ศรีวิชัย ได้เรียนรูปการแสดงพื้นบ้านภาคใต้
จากบิดา และหนังตะลุงครวญ แสงแก้ว จนกระทั่งสามารถนำมาประกอบอาชีพ
ศิลปินที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง โดยใช้แนวคิดการหยิบยืมทางศิลปะ
พื้นบ้านเป็นต้นทุนทางวัฒนธรรมในการพัฒนาเป็นเพลงลูกทุ่งพื้นบ้านร่วมสมัย
จากการวิเคราะห์โดยแบ่งประเด็นการวิเคราะห์เป็นต้นทุนวัฒนธรรมที่มาจาก
การหยิบยืมในด้านต่าง ๆ 5 ด้าน ได้แก่ 1) โครงสร้างทางดนตรีด้านจังหวะ
2) โครงสร้างทางดนตรีด้านการใช้เสียงและทำนอง 3) โครงสร้าง
ด้านวรรณกรรมและภาษา 4) โครงสร้างด้านการแต่งกาย และ 5) โครงสร้าง
และแนวคิดการสร้างความร่วมสมัย จากผลงานเพลงของเอกชัย ศรีวิชัย ทั้ง 9
เพลง ได้แก่ อย่าลืมมโนราห์ ห่วงแม่ห่วงบ้าน คนใต้คอยแฟน ผัวน้องพร
อย่าตีหม้อ นุ้ยเหออย่าไป สาธิตการประชันเพลงบอกของนายรอดหลอ
และนายปานบอด เพลงบอกขน และเพลงบอกเอกชัย ผลงานดังกล่าวมีอิทธิพล
ต่อการส่งเสริมเพลงพื้นบ้านภาคใต้ เนื่องจากเป็นการสร้างสรรค์เพลงพื้นบ้าน
ให้มีความร่วมสมัย เข้าใจง่าย ทำให้คนทุกเพศ ทุกวัย สามารถรับชม และรับฟัง
ได้อย่างเข้าใจ