Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความคิดเห็นของผู้เรียน 2) พัฒนาหนังสือการ์ตูน เออาร์ที่ใช้เทคนิค PWIM 3) ศึกษาผลการใช้หนังสือการ์ตูนเออาร์ที่ใช้เทคนิค PWIM เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านสำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความคิดเห็นของผู้เรียน ระยะที่ 2 พัฒนาหนังสือการ์ตูนเออาร์ที่ใช้เทคนิค PWIM ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้หนังสือการ์ตูนเออาร์ที่ใช้เทคนิค PWIM เพื่อพัฒนาความสามารถ ในการอ่านสำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาผลการใช้ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โดยแบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบทดสอบก่อนเรียนและ หลังเรียน 2) หนังสือการ์ตูนเออาร์ด้วยเทคนิค PWIM 3) แบบบันทึกการอ่านออกเสียงและการอ่านรู้เรื่อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test dependent sample (Paired t-test) และ t-test independent sample
ผลการวิจัย พบว่า ระยะที่ 1 ผู้เรียนส่วนใหญ่ชอบการ์ตูนที่มีสีสดใส ดูสบายตา ตัวการ์ตูนน่ารัก เท่ เห็นเส้นของการ์ตูนชัดเจนและลักษณะการ์ตูนที่ผู้เรียนไม่ชื่นชอบคือการ์ตูนที่มีสีอ่อน ไม่สดใส สีดำหรือมืด ตัวการ์ตูนหน้าบึ้ง มองเห็นลายเส้นของการ์ตูนไม่ชัด และทฤษฎีเกี่ยวกับเทคนิค PWIM มี 4 หลักการคือ 1. การดูรูปภาพและระบุคำศัพท์ 2. การอ่านออกเสียงเพื่อเชื่อมโยงคำและรูป 3. การจัดกลุ่มคำหรือการคิดแบบอุปนัย 4. การนำไปใช้ ระยะที่ 2 องค์ประกอบของหนังสือการ์ตูนเออาร์ฯ ประกอบด้วย 1. การ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ และการ์ตูนประกอบเรื่อง 2. ตัวชี้วัดภาษาไทย 3. เนื้อเรื่อง 4. ตัวละคร 5. ความเป็นจริงเสริม ขั้นตอนการใช้เทคนิค PWIM มี 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การดูรูปภาพและระบุคำศัพท์ 2. การอ่านออกเสียงเพื่อเชื่อมโยงคำและรูป 3. การจัดกลุ่มคำหรือการคิดแบบอุปนัย 4. การนำไปใช้ และมีคุณภาพของหนังสือการ์ตูนเออาร์ด้วยเทคนิค PWIM อยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{x}=4.36,S.D.=0.72) ระยะที่ 3 1) ความสามารถในการอ่านก่อนเรียนและหลังเรียนของกลุ่มทดลองเก่ง กลาง อ่อน กลุ่มทดลองทุกกลุ่มมีความสามารถ ในการอ่านหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการอ่านหลังเรียน ของกลุ่มทดลองกลุ่มเก่ง กลาง อ่อนมีความสามารถในการอ่านหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมกลุ่มเก่ง กลาง อ่อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05