dc.contributor.author | พีริยา หาญบำรุงธรรม | |
dc.contributor.author | ใจทิพย์ ณ สงขลา | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-09-26T03:29:50Z | |
dc.date.available | 2023-09-26T03:29:50Z | |
dc.date.issued | 2565-04 | |
dc.identifier.citation | วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 5,14 (เม.ย..-มิ.ย. 2565) หน้า 22-35 | en_US |
dc.identifier.issn | 0985-0827 (Online) | |
dc.identifier.uri | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83604 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความคิดเห็นของผู้เรียน 2) พัฒนาหนังสือการ์ตูน เออาร์ที่ใช้เทคนิค PWIM 3) ศึกษาผลการใช้หนังสือการ์ตูนเออาร์ที่ใช้เทคนิค PWIM เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านสำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความคิดเห็นของผู้เรียน ระยะที่ 2 พัฒนาหนังสือการ์ตูนเออาร์ที่ใช้เทคนิค PWIM ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้หนังสือการ์ตูนเออาร์ที่ใช้เทคนิค PWIM เพื่อพัฒนาความสามารถ ในการอ่านสำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาผลการใช้ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โดยแบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบทดสอบก่อนเรียนและ หลังเรียน 2) หนังสือการ์ตูนเออาร์ด้วยเทคนิค PWIM 3) แบบบันทึกการอ่านออกเสียงและการอ่านรู้เรื่อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test dependent sample (Paired t-test) และ t-test independent sample ผลการวิจัย พบว่า ระยะที่ 1 ผู้เรียนส่วนใหญ่ชอบการ์ตูนที่มีสีสดใส ดูสบายตา ตัวการ์ตูนน่ารัก เท่ เห็นเส้นของการ์ตูนชัดเจนและลักษณะการ์ตูนที่ผู้เรียนไม่ชื่นชอบคือการ์ตูนที่มีสีอ่อน ไม่สดใส สีดำหรือมืด ตัวการ์ตูนหน้าบึ้ง มองเห็นลายเส้นของการ์ตูนไม่ชัด และทฤษฎีเกี่ยวกับเทคนิค PWIM มี 4 หลักการคือ 1. การดูรูปภาพและระบุคำศัพท์ 2. การอ่านออกเสียงเพื่อเชื่อมโยงคำและรูป 3. การจัดกลุ่มคำหรือการคิดแบบอุปนัย 4. การนำไปใช้ ระยะที่ 2 องค์ประกอบของหนังสือการ์ตูนเออาร์ฯ ประกอบด้วย 1. การ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ และการ์ตูนประกอบเรื่อง 2. ตัวชี้วัดภาษาไทย 3. เนื้อเรื่อง 4. ตัวละคร 5. ความเป็นจริงเสริม ขั้นตอนการใช้เทคนิค PWIM มี 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การดูรูปภาพและระบุคำศัพท์ 2. การอ่านออกเสียงเพื่อเชื่อมโยงคำและรูป 3. การจัดกลุ่มคำหรือการคิดแบบอุปนัย 4. การนำไปใช้ และมีคุณภาพของหนังสือการ์ตูนเออาร์ด้วยเทคนิค PWIM อยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{x}=4.36,S.D.=0.72) ระยะที่ 3 1) ความสามารถในการอ่านก่อนเรียนและหลังเรียนของกลุ่มทดลองเก่ง กลาง อ่อน กลุ่มทดลองทุกกลุ่มมีความสามารถ ในการอ่านหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการอ่านหลังเรียน ของกลุ่มทดลองกลุ่มเก่ง กลาง อ่อนมีความสามารถในการอ่านหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมกลุ่มเก่ง กลาง อ่อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 | en_US |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this study were 1) to review related literature and explore students’ opinions, 2) to develop an AR comic book with the PWIM technique, and 3) to examine the effects of the AR comic book on primary school students’ reading competence. The design of the study was the Research and Development comprising three phases. The first phase was the literature review and the exploration of students’ opinions. The second phase was the development of the AR comic book with PWIM technique. and the third phase was to examine the effects of the AR comic book to improve primary school students’ reading competence. The sample of the study included grade 2 primary students who were studying in the second semester of the academic year 2021. One was an experimental group of 30 students and the other was a control group of 30 students. The samples were randomly selected using cluster random sampling method. The research instruments consisted of 1) a pre-test and a post-test, 2) the AR comic book with PWIM technique, 3) a reading competence scoring sheet. The quantitative data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, and T-test (dependent sample (Paired t-test) and independent sample). The findings of the study suggested that: In the first phase, the study found that most students prefer colorful and good-looking cartoons. The characters should be cute or smart. The drawing lines are clear. On the other hand, the students did not favor light, dim, or dark-colored cartoons, as well as the characters with unhappy faces and blurred drawing lines. In addition to the students’ opinion, the literature review also suggested that PWIM technique is composed of four principles including 1) looking at pictures and identifying words, 2) reading aloud to make connections between words and pictures, 3) practicing inductive thinking, and 4) applying the words in contexts. In the second phase, the study found that the AR comic book should be composed of five major components including 1) 2D cartoon animations and illustrated cartoons, 2) Thai language indicators, 3) a story, 4) characters, and 5) augmented reality. The processes of using the AR comic book should consist of four steps as follows: 1) looking at pictures and identifying words, 2) reading aloud to make a connection between words and pictures, 3) practicing inductive thinking, and 4) applying the words in contexts. The quality of AR comic book using PWIM technique is good (gif.latex?\bar{x}=4.36 S.D.=0.72). In the third phase, the findings indicated that all experimental groups have improved their reading competence after the implementation of the book with a statistical significance at a level of .05. Moreover, the post-test mean scores of the low, average, and high groups of students in the experimental group were higher than the post-test mean scores of those in the control group with a statistical significance at a level of .05. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | กองบรรณาธิการ วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | en_US |
dc.relation.uri | https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/253285 | |
dc.rights | กองบรรณาธิการ วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | en_US |
dc.title | การพัฒนาหนังสือการ์ตูนเออาร์ด้วยเทคนิค PWIM เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านสำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น | en_US |
dc.title.alternative | Development of AR Comic Book with PWIM Technique for Reading Competence of Primary School Students | en_US |
dc.type | Article | en_US |