dc.contributor.author |
นพดล กิตนะ |
|
dc.contributor.author |
จิรารัช กิตนะ |
|
dc.contributor.author |
วิเชฏฐ์ คนซื่อ |
|
dc.contributor.author |
ผุสตี ปริยานนท์ |
|
dc.contributor.author |
มุกเรขา เชี่ยวชาญชัย |
|
dc.contributor.author |
ยุพาพร วิสูตร |
|
dc.contributor.author |
ธฤษวรรณ ไตรจิตร์ |
|
dc.contributor.author |
รังษิมา ผิวผ่อง |
|
dc.contributor.author |
รชตะ มณีอินทร์ |
|
dc.contributor.author |
ขัตพันธุ์ จันทะวงษ์ศรี |
|
dc.contributor.author |
สุธิโรจน์ มีสวัสดิ์ |
|
dc.contributor.author |
พชร สิทธิชีวภาค |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-09-28T03:15:53Z |
|
dc.date.available |
2023-09-28T03:15:53Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83623 |
|
dc.description |
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนองพระราชดำริโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.description.abstract |
เกาะทะลุ จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นหนึ่งในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ที่ยังคงสภาพอุดมสมบูรณ์ เป็นที่อยู่ของสัตว์สำคัญหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเต่ากระ Eretmochelys imbricate ซึ่งปัจจุบันกองทัพเรือและภาคเอกชนที่ดูแลเกาะ ได้ร่วมมือกันบริหารจัดการพื้นที่หาดทรายให้เหมาะสมกับการขึ้นทำรังวางไข่ จนประสบผลสำเร็จในการเพาะฟักไข่และอนุบาลลูกเต่าได้เป็นจำนวนมากก่อนปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ การนำลูกเต่าทะเลจากธรรมชาติมาทำการเพาะฟัก และอนุบาลให้แข็งแรง ช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของลูกเต่าทะเล ส่งผลดีต่อการอนุรักษ์ประชากรของเต่าทะเลในธรรมชาติ แต่การเลี้ยงเต่าทะเลในบ่อเลี้ยง อาจทำให้เต่าเกิดความเครียดได้ และส่งผลต่อสุขภาวะของเต่าทะเล การประเมินความเครียด และสุขภาวะของเต่ากระบในบ่อเลี้ยง จึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเลี้ยงเต่ากระให้ดียิ่งขึ้น ในการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบสหสัมพันธ์ระหว่างความเครียดและค่าทางโลหิตวิทยาของเต่ากระในบ่อเลี้ยง เพื่อเป็นแนวทางในการประเมินความเครียดและสุขภาวะของเต่ากระ โดยเก็บตัวอย่างเลือดเต่ากระกลุ่มที่สุขภาพปกติ (28 ตัว) และ กลุ่มที่ป่วย (31 ตัว) ในบ่อเลี้ยง ณ เกาะทะลุ ในเดือนกันยายน และเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 นำมาตรวจสอบค่าทางโลหิตวิทยาและวัดปริมาณคอร์ติโคสเตอโรนในพลาสมาด้วยเทคนิค enzyme-linked immunosorbent assay พบว่าเต่ากระกลุ่มปกติ และกลุ่มที่ป่วย มีค่าทางโลหิตวิทยาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ คือ ร้อยละของเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ (70.85 และ 63.95 ในเดือนกันยายน กับ 77.89 และ 69.40 ในเดือนพฤศจิกายน) ร้อยละของเซลล์เม็ดเลือดขาวโมโนไซต์ (4.14 และ 5.78) ร้อยละของเซลล์เม็ดเลือดขาวเฮเทอโรฟิล (23.91 และ 28.54 ในเดือนกันยายน กับ 16.28 และ 24.35 ในเดือนพฤศจิกายน) และอัตราส่วนเซลล์เม็ดเลือดขาวเฮเทอโรฟิลต่อลิมโฟไซต์ (0.34 และ 0.46 ในเดือนกันยายน กับ 0.21 และ 0.37 ในเดือนพฤศจิกายน) และพบความแตกต่างของระดับคอร์ติโคสเตอโรน (9.64 และ 21.87 ng/mL) โดยเต่าทั้งหมดมีฮอร์โมนในช่วง 3.51-42.72 ng/mL ทั้งนี้ไม่พบสหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่างระดับคอร์ตอโคสเตอรโรนกับค่าทางโลหิตวิทยา ข้อมูลทางโลหิตวิทยาและฮอร์โมนคอร์ติโคสเตอโรนที่ได้จากการศึกษานี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประเมินความเครียดและสุขภาวะของเต่ากระต่อไปในอนาคต ขนาดประชากรของเต่ากระอาจประมาณได้จากข้อมูลการทำรังวางไข่ของเต่ากระที่เกาะทะลุ ในปี พ.ศ. 2555 และ 2558 ซึ่งพบว่ามีเต่ากระเพศเมียอย่างน้อย 6 ตัว ที่ใช้เกาะทะลุเป็นพื้นที่ทำรังวางไข่ แต่ไม่สามารถระบุถึงจำนวนเต่ากระเพศผู้ได้ การศึกษานี้จึงได้พัฒนาเทคนิคทางชีววิทยาโมเลกุล เพื่อตรวจสอบจำนวนเต่ากระเพศเมียที่ขึ้นวางไข่ ควบคู่ไปกับการศึกษาภาวะ multiple paternity เพื่อตรวจสอบว่ามีเต่าเพศผู้อย่างน้อยกี่ตัวที่ผสมพันธุ์กับเต่าเพศเมียที่วางไข่รังนี้ โดยใช้เลือดจากตัวอย่างเต่ากระอายุ 1-2 ปี ที่ใช้ศึกษาสุขภาวะและการเจริญเติบโต ผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ในการตรวจสอบจำนวนเต่ากระเพศเมีย สามารถใช้บริเวณ control region ของ mitochondrial DNA ระบุอัตลักษณ์ของแม่เต่าได้ ส่วนการตรวจสอบจำนวนเต่ากระเพศผู้ microsatellite primer อย่างน้อย 3 คู่ ที่มีศักยภาพในการใช้ตรวจสอบอัตลักษณ์ของพ่อเต่าได้ |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Talu Island in Prachuab Khiri Khan province is one of the protected area of the Plant Genetic Conservation Project under the Royal Initiative of HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn. The island ecosystem is rich in biodiversity with a presence of important reptile, especially the hawksbill sea turtle, Eretmochelys imbricata. Currently, a sea turtle head start program has been established under the cooperation between the Royal Thai Navy and the private sectors. In this program, nesting beach on Talu Island is routinely monitored. Upon nesting, turtle eggs will be incubated ex situ in a semi-natural beach until hatch and hatchlings will be raised in a hatchery for a certain period before releasing to the wild. To monitor health of turtles in the head start program, the current study thus aims to evaluate correlation between stress and hematological parameters of the hawksbill turtle in captivity. Blood samples were collected from normal (n=28) and sick (n=31) hawksbill turtles raised at Talu Island in September and November 2016. All samples were subjected to hematological evaluation and measurement for plasma corticosterone level by an ELISA. The results indicate that normal and sick turtles showed significant differences in percentage of lymphocyte (70.85 vs. 63.95 in September and 77.89 vs. 69.40 in November), percentage of monocyte (4.14 vs. 5.78), percentage of heterophil (23.91 vs. 28.54 in September and 16.28 vs. 24.35 in November) and heterophil to lymphocyte ratio (0.34 vs. 0.46 in September and 0.21 vs. 0.37 in November). There was also a significant difference in plasma corticosterone level (9.64 vs. 21.87 ng/ml) with the general range of 3.51- 42.72 ng/ml. However, significant correlation between corticosterone level and hematological parameters was not found. These hematological parameters and corticosterone levels can be used for evaluation of stress and health of the hawksbill turtle in the future. Population of the hawksbill turtle in this area was initially estimated from the nesting incidence. During 2012-2015 nesting season, it was estimated that at least 6 female hawksbill turtles used this island as their nesting sites. However, it is still not possible to estimate number of male turtles. In this study, molecular biology techniques have been employed to estimate 1) number of nesting female turtles and 2) number of male turtles that sired these hatchlings. Blood samples of the immature turtles hatched during the 2013 nesting season were subjected to DNA extraction, PCR and sequence analysis. Preliminary results showed that control region of the mitochondrial DNA can be used as a marker to identify female, while at least 3 pairs of microsatellite primer is feasible to be used to identify male turtles. |
en_US |
dc.description.sponsorship |
ทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดินปี 2560 |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
เต่าทะเล |
en_US |
dc.subject |
Sea turtles |
en_US |
dc.title |
สุขภาวะ นิเวศสรีรวิทยา และประชากรของเต่าทะเล ในระบบนิเวศเกาะ : รายงานผลการดำเนินงาน |
en_US |
dc.title.alternative |
Health, ecophysiology abd population of sea turtle in Island ecosystem |
en_US |
dc.type |
Technical Report |
en_US |