DSpace Repository

การจัดทำข้อมูลพื้นฐานของแหล่งที่มาของรังสีตามธรรมชาติและจากมนุษย์ทำขึ้นเพื่อสนับสนุนการเตรียมพร้อมฉุกเฉินทางด้านรังสีของประเทศไทย (เฟสที่ 2) : รายงานฉบับสมบูรณ์

Show simple item record

dc.contributor.author สุพิชชา จันทรโยธา
dc.contributor.author พงษ์แพทย์ แพ่งวาณิชย์
dc.contributor.author ชุติมา กรานรอด
dc.contributor.author รวิวรรณ กฤษณานุวัตร์
dc.contributor.author พงษ์ยุทธ ศรีพลอย
dc.contributor.author ฐมาพร พลอยกระโทก
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-28T08:35:11Z
dc.date.available 2023-09-28T08:35:11Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83627
dc.description.abstract การตรวจวัดรังสีแกมมาตามธรรมชาติในสิ่งแวดล้อมตามเส้นทางถนนสายหลักในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยวิธีการสำรวจทางรถยนต์ ที่ติดตั้งระบบวิเคราะห์รังสีแกมมาชนิดหัววัดเรืองแสงวาบ (Scintillation Detector, NaI(TI)) ขนาด 3 นิ้ว สำหรับเทคนิคการตรวจวัดนี้สามารถทำการสำรวจในพื้นที่ขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว และได้ค่าอัตราปริมาณรังสีสมมูลโดยรอบ และสเปกตรัมพลังงานรังสีแกมมา นอกจากนี้ยังได้ทำการตรวจวัดและวิเคราะห์ปริมาณกัมมันตภาพจำเพาะของนิวไคลด์ ²²⁶Ra, ²²⁸Ra และ ⁴⁰K ในตัวอย่างดินจาก 3 ภูมิภาคของประเทศไทย โดยใช้หัววัดรังสีแบบเจอร์มาเนียมบริสุทธิ์สูง) และระบบการวิเคราะห์แบบแกมมาสเปกโตรเมตรี ณ ห้องปฏิบัติการอีกด้วย จากการตรวจวัดอัตราปริมาณรังสีพื้นหลังใน 3 ภูมิภาคของประเทศไทย นั้นทำให้ได้ข้อมูลรวม 25,346 ข้อมูล และนำข้อมูลดังกล่าวมาแปลงในแผนที่โดยใช้ซอฟต์แวร์ ArcGIS จากการสำรวจพบว่าปริมาณรังสีดูดกลืนเฉลี่ยในอากาศบริเวณภาคกลางมีค่าอยู่ในช่วง 14-106 nGy/h, ภาคเหนือมีค่าอยู่ในช่วง 12-122 nGy/h และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีค่าอยู่ในช่วง 10-62 nGy/h และพบว่าภาคเหนือของประเทศไทยมีปริมาณรังสีดูดกลืนในอากาศสูงสุด en_US
dc.description.abstractalternative Natural background gamma radiation was measured along main roads in the environs of Central, Northern, and Northeastern Thailand using a car-borne survey system with a 3" × 3" NaI(Tl) scintillation gamma radiation detector. The system can quickly survey a large area and obtain ambient dose equivalent rates and gamma-ray energy spectra. In addition, activity concentrations of ²²⁶Ra, ²²⁸Ra and ⁴⁰K in soil samples from those 3 regions of Thailand were determined using laboratory gamma spectrometry system with an HPGe detector. A total of 25,346 data of the background gamma dose rate were collected for those 3 regions of Thailand. The background gamma dose rate of those 3 regions of Thailand was mapped using ArcGIS software. The average absorbed dose rate in air in Central, Northern, and Northeastern Thailand were 14-106 nGy/h, 12-122 nGy/h and 10-62 nGy/h, respectively. The highest absorbed dose rate in air was detected in Northern region of Thailand. en_US
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ปี 2561 สัญญาเลขที่ GB-A_61_028_21_02 en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject รังสีแกมมา -- การวัด en_US
dc.subject รังสีแกมมา -- การตรวจหา en_US
dc.subject Gamma rays -- Measurement en_US
dc.subject Gamma rays -- Detection en_US
dc.title การจัดทำข้อมูลพื้นฐานของแหล่งที่มาของรังสีตามธรรมชาติและจากมนุษย์ทำขึ้นเพื่อสนับสนุนการเตรียมพร้อมฉุกเฉินทางด้านรังสีของประเทศไทย (เฟสที่ 2) : รายงานฉบับสมบูรณ์ en_US
dc.title.alternative Construction of Baseline Data of Natural and Man-made Radiation Sources for Supporting Thailand’s Radiation Emergency Preparedness (Phase 2) en_US
dc.type Technical Report en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record