DSpace Repository

สุขภาวะ และชีววิทยาการสืบพันธุ์ของกบทูดในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ : รายงานผลการดำเนินงาน

Show simple item record

dc.contributor.author จิรารัช กิตนะ
dc.contributor.author นพดล กิตนะ
dc.contributor.author วิเชฏฐ์ คนซื่อ
dc.contributor.author ผุสตี ปริยานนท์
dc.contributor.author มุกเรขา เชี่ยวชาญชัย
dc.contributor.author ยุพาพร วิสูตร
dc.contributor.author ธฤษวรรณ ไตรจิตร์
dc.contributor.author ภานุพงศ์ ธรรมโชติ
dc.contributor.author รชตะ มณีอินทร์
dc.contributor.author ธงชัย ฐิติภูรี
dc.contributor.author พชร สิทธิชีวภาค
dc.contributor.author สุวิสาข์ ชอบจิตต์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-29T08:19:10Z
dc.date.available 2023-09-29T08:19:10Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83657
dc.description.abstract พื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ประกอบด้วยระบบนิเวศหลากหลาย ที่ยังคงสภาพอุดมสมบูรณ์ จากผลการศึกษาในภาคสนามที่ผ่านมาพบว่าในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เชียงใหม่ มีความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกค่อนข้างสูง มีสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชนิดสำคัญ เช่น กบทูด Limnonectes blythii ซึ่งเป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและมีสถานภาพเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง และจากศักยภาพในการพัฒนาเป็นสัตว์เศรษฐกิจ โดยคณะผู้วิจัยได้สำรวจสุขภาวะจากค่าทางโลหิตวิทยาของกบทูดในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2560 และกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 (ฤดูแล้งหนาว) เดือนเมษายน พ.ศ. 2560 (ฤดูแล้งร้อน) และเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560 (ฤดูฝน) ได้กบทูดจำนวนทั้งหมด 23 ตัว เป็นกบเพศผู้ 13 ตัว มีน้ำหนักเฉลี่ย 295 กรัม มีความยาวจากปลายจมูกถึงรูทวารเฉลี่ย 141 มิลลิเมตร ได้กบทูดเพศเมียทั้งหมด 5 ตัว มีน้ำหนักเฉลี่ย 216 กรัม มีความยาวจากปลายจมูกถึงรูทวารเฉลี่ย 131 มิลลิเมตร และได้กบระยะ juvenile 5 ตัว จากการศึกษาทางโลหิตวิทยา พบว่ากบทูดมีเซลล์เม็ดเลือดประกอบด้วย erythrocyte, thrombocyte และ leukocyte 5 ชนิด ได้แก่ monocyte, lymphocyte, neutrophil, eosinophil และ basophil โดยที่มีลักษณะทางสัณฐานคล้ายคลึงกับกบชนิดอื่น ๆ ที่เคยมีรายงาน นอกจากนี้ยังพบว่ากบทูดมีการติดปรสิตในเลือด 3 กลุ่ม ได้แก่ Hepatozoon sp. มีกบทูดติดปรสิตชนิดนี้รวม 15 ตัว Microfilaria worm มีกบทูดติดปรสิตชนิดนี้รวม 3 ตัว และ Trypanosoma sp. มีกบทูดติดปรสิตชนิดนี้เพียง 1 ตัว คิดเป็นค่าความชุก (Prevalence) โดยรวมเท่ากับ 65% จากการศึกษาสัดส่วนของเซลล์เม็ดเลือดขาวแต่ละชนิด พบว่า เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด lymphocyte เป็นชนิดที่พบมากที่สุด และการติดปรสิตในเลือดมีผลต่อค่าสัดส่วนเซลล์เม็ดเลือดขาวบางชนิดเท่านั้น ได้แก่ ค่าสัดส่วนของ eosinophil มีค่ามากกว่าในกบทูดที่ติดปรสิต และ monocyte มีค่าต่ำกว่าในกบทูดที่ติดปรสิต ข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ในการศึกษาสุขภาวะและชีววิทยาการสืบพันธุ์ของกบทูดในพื้นที่โครงการ อพ.สธ. ต่อไป เพื่อให้เข้าใจพลวัตประชากรและนิเวศสรีรวิทยาของกบทูด เพื่อการวางแผนการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ในระยะยาวต่อไป en_US
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2561 en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject กบ -- การสืบพันธุ์ en_US
dc.subject กบทูด en_US
dc.subject Frogs -- Reproduction en_US
dc.subject Limnonectes blythii en_US
dc.title สุขภาวะ และชีววิทยาการสืบพันธุ์ของกบทูดในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ : รายงานผลการดำเนินงาน en_US
dc.title.alternative Health and reproductive biology of the Blyth's Giant frog Limnonectes blythii in RSPG area en_US
dc.type Technical Report en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record