Abstract:
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารงานวิชาการของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) สังเคราะห์องค์ประกอบของการบริหารงานวิชาการของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) พัฒนายุทธศาสตร์การบริหารงานวิชาการของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยผู้บริหารและคณาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยผู้วิจัยสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 28 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม จำนวน 57 คน และจัดประชุมผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อรับรองยุทธศาสตร์ จำนวน 8 คน ผลการวิจัยพบว่า วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ และยุทธศาสตร์ในอนาคต มีดังนี้ วิสัยทัศน์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะเป็นเสาหลักของการบริหารงานวิชาการมุ่งเน้นการวิจัยพัฒนา และการดำเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พันธกิจ การบริหารงานวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในด้านการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน การนิเทศการศึกษา การวัดและประเมินผล การบริการวิชาการแก่สังคม วัตถุประสงค์ เพื่อธำรงรักษามาตรฐานวิชาชีพครู และส่งเสริมให้พัฒนาก้าวหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง โดยมุ่งบุกเบิกแสวงหาความรู้ และความคิดใหม่ทางการศึกษา เผยแพรและถ่ายทอดความรู้ ความคิด เพื่อความก้าวหน้าทางครุศาสตร์และวิชาชีพครูและให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน ตลอดจนทำนุศิลปวัฒนธรรมของชาติ โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยุทธศาสตร์ที่ 1 การวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจอพอเพียงประกอบด้วย กลยุทธ์การวางแผนและการดำเนินการ กลยุทธ์ส่งเสริมและสนับสนุน ยุทธศาสตร์ที่ 2 การจัดหลักสูตรที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย กลยุทธ์การจัดหลักสูตรที่เน้นหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลยุทธ์การประยุกต์ใช้หลักสูตร กลยุทธ์การประเมินหลักสูตร ยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประกอบด้วย กลยุทธ์การจัดแผนการเรียน กลยุทธ์การจัดตารางสอน กลยุทธ์การจัดอาจารย์เข้าสอน กลยุทธ์การจัดชั้นเรียน กลยุทธ์การเลือกตำราเรียน ยุทธศาสตร์ที่ 4 การนิเทศการศึกษาที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย กลยุทธ์การติดตามควบคุมการเรียนการสอน กลยุทธ์การพัฒนาการเรียนการสอน กลยุทธ์การสนับสนุนการเรียนการสอน ยุทธศาสตร์ที่ 5 การวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วยกลยุทธ์การกำหนดระเบียบวิธีการปฏิบัติ กลยุทธ์การดำเนินการวัดและประเมินผล กลยุทธ์การประเมินผลการปฏิบัติงานด้านวิชาการ ยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารวิชาการแก่สังคมที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประกอบด้วย กลยุทธ์การวางแผนและการดำเนิน กลยุทธ์การส่งเสริมและสนับสนุน ยุทธศาสตร์ที่ 7 การบูรณาการทั้ง 6 ยุทธศาสตร์ให้มีความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง