dc.contributor.author |
อมรพันธุ์ เสรีมาศพันธุ์ |
|
dc.contributor.author |
จินตนา จิรถาวร |
|
dc.contributor.author |
กนิษฐา ภัทรกุล |
|
dc.contributor.author |
ธนาภัทร ปาละกะ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-11-24T08:14:59Z |
|
dc.date.available |
2023-11-24T08:14:59Z |
|
dc.date.issued |
2554 |
|
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83753 |
|
dc.description.abstract |
โรคเลปโตสไปโรซิสเป็นโรคติดเชื้อจากสัตว์สู่คนที่พบได้ทั่วโลก โดยมีเชื้อเลปโตสไปราสายพันธุ์ก่อโรคเป็นเชื้อสาเหตุ ปัจจุบันวิธีมาตรฐานที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคเลปโตสไปโรซิสคือ Microscopic agglutination test (MAT) แต่วิธีนี้มีความไวไม่เพียงพอในการวินิจฉัยโรคในระยะต้นของการติดเชื้อ โปรตีน LipL32 เป็นโปรตีนที่พบมากที่สุดในผนังชั้นนอกของเชื้อเลปโตสไปราเฉพาะในสายพันธุ์ก่อโรคเท่านั้น นอกจากนั้นยังพบว่า โปรตีน LipL32 มีคุณสมบัติในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี และมีการแสดงออกระดับสูงในระยะต้นของการติดเชื้อ ดังนั้นโปรตีน LipL32 จึงเป็นแอนติเจนที่เหมาะสมสำหรับในการตรวจวินิจฉัยโรคเลปโตสไปโรซิสในระยะแรกเริ่ม การศึกษานี้จึงได้ผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีต่อโปรตีน LipL32 และประเมินผลของแอนติบอดีที่ติดฉลากกับอนุภาคทองคำระดับนาโนเพื่อใช้ในการตรวจหาเชื้อ เชื้อเลปโตสไปราสายพันธุ์ก่อโรคด้วยวิธีใช้แผ่นตรวจ lateral-flow assay โดยทำการฉีดโปรตีนสกัดบริสุทธิ์ของรีคอมบีแนนท์ LipL32 ในหนู BALB/c เพื่อผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีต่อโปรตีน LipL32 โดยอาศัยไฮบริโดมาเทคนิค จากการวิเคราะห์โดยวิธี indirect ELISA พบว่าได้เซลล์ไฮบริโดมาอย่างน้อย 4 โคลน ที่สามารถหลั่งแอนติบอดีที่จำเพาะสูงต่อโปรตีน LipL32 ของเชื้อเลปโตสไปราสายพันธุ์ก่อโรคและไม่จับกับเชื้อเลปโตสไปราสายพันธุ์ที่ไม่ก่อโรครวมทั้งเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่น ๆ การศึกษานี้ได้ทำการสกัดโมโนโคลนอลแอนติบอดีต่อโปรตีน LipL32 จากหนึ่งในสี่โคลนโดยวิธี affinity chromatography และนำมาใช้เป็นแอนติบอดีบนเส้นทดสอบของแผ่นตรวจ ภายหลังการทดสอบหาภาวะที่เหมาะสมพบว่าแผ่นตรวจที่ได้ในการศึกษานี้สามารถตรวจพบเชื้อเลปโตสไปราสายพันธุ์ก่อโรคได้ที่จำนวนอย่างน้อย 104 โดยให้ผลลบแม้จะใช้เชื้อเลปโตสไปราสายพันธุ์ไม่ก่อโรคจำนวนมากถึง 107 ในการทดสอบ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีตัวอย่างผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นโรคเลปโตสไปซิสเพื่อนำมาทดสอบ กลุ่มผู้วิจัยจะพัฒนาแผ่นตรวจที่มีความไวและความจำเพาะให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการตรวจวินิจฉัยโรคเลปโตสไปโรซิสได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ในระยะแรกของโรค |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Leptospirosis, a worldwide zoonotic disease, is caused by pathogenic Leptospira. The standard method for diagnosis of leptospirosis is the microscopic agglutination test (MAT), but it is not useful during the early phase of illness. LipL32, the major outer membrane protein of pathogenic Leptospira, is highly conserved, immunogenic, and is expressed during acute infection. Therefore, LipL32 may be a good candidate for antigen detection for early diagnosis of leptospirosis. The purpose of this study was to produce and evaluate monoclonal antibodies against LipL32 antigen and used for detection of Leptospira by lateral flow assay. BALB/c mice were immunized with purified recombinant LipL32 to obtain splenocytes for hybridoma production. Hybridoma clones were screened and selected for clones that secreted specific antibodies, which reacted to pathogenic Leptospira but were unable to bind to non-pathogenic Leptospira and other bacteria. Anti-LipL32 monoclonal antibody derived from one of four selected hybridoma clones were purified by affinity chromatography and used as a capture antibody on the test line of lateral flow assay. After optimization, the lateral flow strip test developed in this study was able to detect at least 104 pathogenic leptospires but showed no cross-reactivity with 107 non-pathogenic leptospires. However, no samples from confirmed cases of leptospirosis were obtained for testing. We will further develop sensitive and specific lateral flow assay system which is a useful tool for early and rapid diagnosis of leptospirosis. |
en_US |
dc.description.sponsorship |
งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยประเภทโครงการ 2-V Research Program : โครงการเพื่อเพิ่มคุณค่าและมูลค่าผลผลิตจากงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ : กรณีผลงานด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering) จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ |
en_US |
dc.rights |
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ |
en_US |
dc.subject |
เลปโตสไปโรซิส |
en_US |
dc.subject |
ชุดตรวจวินิจฉัยโรคสำเร็จรูป |
en_US |
dc.title |
การพัฒนาชุดตรวจโรคเลปโตสไปโรซิสในรูปแผ่นตรวจโรคโดยใช้อนุภาคนาโนเมตร : รายงานการวิจัย |
en_US |
dc.title.alternative |
Development of Nanoparticle-Based Lateral flow strip test for diagnosis of Leptospirosis |
en_US |
dc.type |
Technical Report |
en_US |