dc.contributor.author |
อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-11-24T08:25:23Z |
|
dc.date.available |
2023-11-24T08:25:23Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83754 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยเรื่อง “รูปแบบการผนึกกำลังระหว่างกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและเทคโนโลยี กับกลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์สำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศ” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน 2) วิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จ และ 3) พัฒนารูปแบบ การผนึกกำลังระหว่างกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและเทคโนโลยีกับกลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์สำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้ให้สัมภาษณ์ 9 คน ผู้ตอบแบบสอบถาม 138 คน และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินรูปแบบ 10 คน วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยสถิติขั้นพื้นฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน มีการเน้นการบูรณาการหลักสูตร องค์ ความรู้ แนวคิดในการสร้างนวัตกรรม ศิลปกรรมกับวิทยาศาสตร์ ศิลปกรรมกับนวัตกรรม กระบวนการคิด สร้างสรรค์ การนำศาสตร์มารวมกัน โดยสามารถบูรณาการข้ามศาสตร์ การจัดทำหลักสูตรเป็น Blended และการบูรณาการในลักษณะของ Interdisciplinary 2) ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ประกอบด้วย (1) การนำ การวิจัยและการบริการวิชาการมาพัฒนาการเรียนการสอน (2) การเน้นความสำคัญที่ผลลัพธ์ของผู้เรียน (3) การทำงานเป็นทีม (4) การบูรณาการทฤษฎีและองค์ความรู้ และแนวคิดในการสร้างนวัตกรรม และ 3) การพัฒนารูปแบบ ประกอบด้วย หลักการและเหตุผลที่มุ่งเน้นการผนึกกำลังทางด้านวิชาการเพื่อการ พัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพและเทคโนโลยี กับทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ส่งผลต่อ การพัฒนาประเทศเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ประกอบด้วย (1) การบริหารจัดการและงบประมาณ (2) อาจารย์ผู้สอน (3) ศาสตร์และเนื้อหาการเรียนรู้ (4) กิจกรรมการเรียนรู้ (5) การวัดและประเมินผล |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
The Research “Coalition Models between Health Sciences and Technology and Social Sciences and Humanities for Creating Innovation for National Development” comprising three objectives: 1) to study the current situations 2) to analyze the success factors 3 ) to develop Coalition Models between Health Sciences and Technology and Social Sciences and Humanities for Creating Innovation for National Development. The sample are composed of 9 interviewers, 138 questionnaires, and 10 experts. The data were analyzed by basic statistics. The research results were found that: 1) The results of the study of the current state emphasized on the integration of the knowledge-based curriculum, concepts for creating innovation, fine arts and sciences, fine arts and innovation, creative thinking process, integration of science, integration across science, blended courses, and interdisciplinary courses; 2) The results of analyzing the success factors were consisted of (1) the application of research and academic services to develop teaching and learning (2) emphasis on student outcomes (3) teamwork (4) theory and knowledge integration and ideas for creating innovation; 3) The results of the development of coalition model were composed of principles and rationales that were consisted of (1) management and budget (2) faculty members (3) science and learning content (4) learning activities (5) measurement and evaluation |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
นวัตกรรมทางการศึกษา |
en_US |
dc.subject |
การศึกษาขั้นอุดมศึกษา |
en_US |
dc.subject |
การศึกษากับการพัฒนาประเทศ |
en_US |
dc.title |
รูปแบบการผนึกกำลังระหว่างกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและเทคโนโลยีกับกลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์สำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศ |
en_US |
dc.title.alternative |
Coalition Models between Health Sciences and Technology and Social Sciences and Humanities for Creating Innovation for National Development |
en_US |
dc.type |
Technical Report |
en_US |