dc.contributor.author |
พงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา |
|
dc.contributor.author |
วุฒิวงศ์ วิมลศักดิ์เจริญ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-11-24T09:12:07Z |
|
dc.date.available |
2023-11-24T09:12:07Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83758 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้เป็นงานต่อยอดจากการศึกษาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 และ 2557 โดยทางชุมชน ตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ได้มีการดำเนินการจัดการทรัพยากรป่าชุมชนบางส่วนแล้ว เช่น การจัดอบรมสร้างแนวกันไฟ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามพบว่าการศึกษาเชิงลึกในทางนิเวศวิทยาและการสร้างความตระหนักให้กับชุมชนในวงกว้างและต่อเนื่องยังมีความจำเป็น โดยชุมชนเป็นผู้ที่เสนอให้มี การศึกษาต่อเนื่องและต้องการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในงาน การศึกษาครั้งนี้จึงเป็นโครงการต่อเนื่อง โดยปีแรกนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและใช้แบบจำลองในรูปแบบบอร์ดเกม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์และประโยชน์ของป่าชุมชน และศึกษากระบวนการตัดสินใจในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรจากป่าไม้บางชนิดโดยชาวบ้านกลุ่มต่าง ๆ ที่มีฐานะของครัวเรือนที่ต่างกัน และสร้างแบบจำลองทางความคิด (conceptual model) แสดงกระบวนการตัดสินใจใช้ทรัพยากรเพื่อนำไปสร้างแบบจำลองเชิงบูรณาการในปีต่อไป ผลการศึกษาพบว่าแบบจำลองในรูปแบบบอร์ดเกมที่สร้างขึ้นไม่ยากสำหรับผู้เล่นซึ่งมาจากหมู่บ้านต่าง ๆ และตัวแทนองค์การบริหารส่วนตำบลไหล่น่าน ซึ่งช่วยทำให้ผู้เล่นเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบต่าง ๆ ในป่าชุมชนและปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ได้มากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเริ่มทำกิจกรรม และนำไปสู่การอภิปรายหาแนวทางการจัดการป่าชุมชนร่วมกันได้ อย่างไรก็ตามพบว่ามีข้อเสนอแนะคือ ควรมีการทำการ์ดเกมให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อความสะดวกในการเล่นเกม และพบว่าผู้เข้าร่วมทุกคนต้องการเรียนรู้และเข้าร่วมกิจกรรมลักษณะนี้อีก สำหรับผลการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจในการใช้ทรัพยากรของป่าที่สำคัญได้แก่ ผักหวานป่า Melientha suavis, ไข่มดแดง (queen brood of Oecophylla smaragdina) และเห็ด (edible mushrooms) พบว่าสามารถแบ่งประเภทเกษตรกรออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) คนเก็บของป่าเป็นอาชีพ ซึ่งพบน้อยในพื้นที่ศึกษา, 2) คนเก็บของป่าที่ครอบครองพื้นที่ทำการเกษตรขนาดเล็กและขนาดกลางซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประเภทนี้, 3) คนเก็บของป่าที่ครอบครองพื้นที่ทำการเกษตรขนาดใหญ่ มีพื้นที่ทำการเกษตรไม่น้อยกว่า 5.6 เฮกแตร์ และ 4) คนเก็บของป่าที่มาจากตำบลอื่น ซึ่งเกษตรกรแต่ละกลุ่มมีกระบวนการตัดสินใจในการเก็บของป่าที่แตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับความต้องการในการบริโภค ระยะเวลาในการเก็บต่อวัน วันที่จะเริ่มเข้าไปเก็บของป่าและความยาวนานในการเก็บของป่าในรอบปี และปริมาณของป่าที่เก็บ ผลการศึกษาที่ได้จะนำไปสร้างเกมและสถานการณ์จำลองที่มีความซับซ้อนมากขึ้นและใช้ร่วมกับชาวบ้านในหมู่บ้านต่อไปตามข้อเสนอของชาวบ้าน |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
This research is requested by the Lainan Tambon Administrative Organisation (TAO) to study in-depth about community forest management and raising awareness of local people to protect the community forest. In 2013 and 2014, the researcher conducted the 2-year research but the continuous process is important. Therefore, this project is planned for five years to up-scale and out-scale the integrative research. The objectives of the first year were 1) to dissiminate the former research results to local people by using a board game in order to make them understand the interactions among diverse components of a community forest ecosystem, and 2) to study the decision making process to collect non-timber forest products (NTFPS) by different types of harvestors and construct their represented conceptual models. The results showed that the board game was not difficult to use by players (village and TAO representatives). The game could helped them to improve understaning on the interactions among key components of the community forest ecosystem. However, they suggested to improve the game feature by making bigger game card for easier to play. All of them were willing to participate in this kind of shared learning activity in the future. Regarding the study of decision making process to collect 3 key NTFPs (Melientha suavis, queen brood of Oecophylla smaragdina, and edible mushrooms), we found that there were 4 types of harvesters including 1) havesters who collect NTFPs as the main source of income (usually no farmland), 2) harvesters owning small and medium farm size, 3) harvesters owning large farm size (>5.6 ha), and 4) harvesters form outside Lainan subdistrict. Each type of harvester had specific decision making process depending on the need of NTFPs for houseshold consumption, harvesting duration per day, length of harvesting period per year, and amount of products to be harvested. The results from this first year will be used to create more complicated version of gaming and simulation and use with more villagers as requested by villagers. |
en_US |
dc.description.sponsorship |
โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณปี 2560 |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
การจัดการป่าไม้ -- การมีส่วนร่วมของประชาชน |
en_US |
dc.subject |
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ |
en_US |
dc.subject |
ป่าไม้และการป่าไม้ |
en_US |
dc.subject |
นิเวศวิทยาป่าไม้ |
en_US |
dc.subject |
Forest management -- Citizen participation |
en_US |
dc.subject |
Natural resources -- Management |
en_US |
dc.subject |
Forests and forestry |
en_US |
dc.subject |
Forest ecology |
en_US |
dc.title |
แบบจำลองเชิงบูรณาการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องการใช้ประโยชน์ทรัพยากรจากระบบนิเวศป่าไม้อย่างยั่งยืน : รายงานผลการดำเนินงาน |
en_US |
dc.title.alternative |
Integrative modeling for collective learning on sustainable utilization of resources from forest ecosystem |
en_US |
dc.type |
Technical Report |
en_US |