DSpace Repository

สุขภาวะ และชีววิทยาการสืบพันธุ์ของกบทูดในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ : รายงานผลการดำเนินงาน

Show simple item record

dc.contributor.author จิรารัช กิตนะ
dc.contributor.author นพดล กิตนะ
dc.contributor.author วิเชฏฐ์ คนซื่อ
dc.contributor.author ผุสตี ปริยานนท์
dc.contributor.author มุกเรขา เชี่ยวชาญชัย
dc.contributor.author ยุพาพร วิสูตร
dc.contributor.author ธฤษวรรณ ไตรจิตต์
dc.contributor.author หนึ่งฤทัย วิชัยกุล
dc.contributor.author ภานุพงศ์ ธรรมโชติ
dc.contributor.author รชตะ มณีอินทร์
dc.contributor.author ขัตพันธุ์ จันทะวงษ์ศรี
dc.contributor.author สุธิโรจน์ มีสวัสดิ์
dc.contributor.author พชร สิทธิชีวภาค
dc.contributor.author ฤดีมาศ บุตรศิริ
dc.contributor.author วรภัทร สวัสดิ์วงษ์
dc.contributor.author ปิ่นมนัส นนท์นา
dc.contributor.author ณัฏฐา มธุพยนต์
dc.contributor.author สุวิสาข์ ชอบจิตต์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-11-27T09:20:09Z
dc.date.available 2023-11-27T09:20:09Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83772
dc.description โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนองพระราชดำริโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.description.abstract กบทูด Limnonectes blythii เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบอกที่มีขนาดใหญ่และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 มีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณป่าต้นน้ำบนภูเขาสูง ตามลำห้วยป่าดิบเฉพาะแห่ง โดยในประเทศไทยมีรายงานการสำรวจพบกบทูดทางฝั่งตะวันตก ตั้งแต่ภาคเหนือจรดภาคใต้ มีรายงานการพบประชากรกบทูดธรรมชาติในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมากจากพระราชดำริ จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ที่ได้รับการฟื้นฟูจนมีสภาพระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ จึงเหมาะเป็นแหล่งศึกษาชีววิทยาของกบชนิดนี้ จากการสำรวจภาคสนามด้วยวิธี visual encounter survey ในฤดูแล้วหนาว (เดือนมกราคม) ฤดูแล้งร้อน (เดือนเมษายน) และฤดูฝน (เดือนสิงหาคม) ปี พ.ศ. 2560 พบกบทูดเพศผู้ 7 ตัว เพศเมีย 4 ตัว และกบทูดก่อนวัยเจริญพันธุ์ 3 ตัว รวมทั้งหมด 14 ตัว ทั้งหมดมีลักษณะภายนอกที่สมบูรณ์ โดยเพศผู้มีขนาดใหญ่กว่าเพศเมีย มีค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัวและความยาวจากปลายจมูกถึงรูทวาร เท่ากับ 299 ±105 กรัม และ 141.30 ±14.83 มิลลิเมตร ตามลำดับ ในขณะที่เพศเมียมีค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัวและความยาวจากปลายจมูกถึงรูทวาร เท่ากับ 208 ±27 กรัม และ 129.60 ±10.27 มิลลิเมตร ตามลำดับ จากการศึกษาทางโลหิตวิทยา กบทูดเพศผู้มีค่าเฉลี่ยเซลล์เม็ดเลือดอัดแน่น เท่ากับ 27.07 ±7.01% สูงกว่าเพศเมีย ซึ่งมีค่าเท่ากับ 19.50±10.12% กบทูดทั้งเพศผู้ เพศเมีย และ juvenile มีลักษณะสัณฐานวิทยาของเซลล์เม็ดเลือดชนิดต่าง ๆ ไม่แตกต่างกัน โดยสามารถจำแนกเซลล์เม็ดเลือดออกเป็นเซลล์เม็ดเลือดแดง ทรอมโบไซต์ และเซลล์เม็ดเลือดขาว 5 ชนิด ได้แก่ โมโนไซต์, ลิมโฟไซต์, นิวโทรฟิล, อิโอสิโนฟิล และเบโซฟิล ลักษณะสัณฐานเซลล์เม็ดเลือดของกบทูดมีลักษณะคล้ายคลึงกับที่เคยมีรายงานในกบชนิดอื่น โดยไม่พบลักษณะเซลล์เม็ดเลือดที่ผิดปกติ ข้อมูลทางสัณฐานวิทยา และโลหิตวิทยาของกบทูดที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ จะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับชีววิทยา และสุขภาวะของกบชนิดนี้ในธรรมชาติ เพื่อการวางแผนอนุรักษ์ต่อไปในอนาคต en_US
dc.description.abstractalternative Blyth’s giant frog Limnonectes blythii is a large amphibian and a protected species inhabited in streams and creeks of some specific highland forests. In Thailand, it been reported to inhabit the western to southern forest areas. It was reported that the Blyth’s giant frog has been found in natural habitat at Huai Hongkhrai Royal Development Study Centre, Chiang Mai Province which is one of the RSPG areas. So this area is appropriated to serve as study site in this project. After field collection by visual encounter survey method during cool dry (January), hot dry (April) and wet (August) seasons of 2017 we found 14 frogs: 7 males, 4 females and 3 juveniles. All of the frogs had healthy external appearances. The male frogs were relatively bigger than the females with mean weight and SVL at 299 ± 105 g and 141.30 ± 14.83 mm, respectively. Mean weight and SVL of the females was 208±27 g and 139.60 ± 10.27 mm, respectively. Hematological study revealed that mean PCV of the male frogs (27.07±7.01%) was relatively higher than that of the females (19.50±10.12%). Morphological characters of each blood cell type were not different among sexes or ages. The blood cell types of L. blythii consisted of erythrocyte, thrombocyte and 5 types of leukocytes: monocyte, lymphocyte, neutrophil, eosinophil and basophil. Morphological characters of each blood cell type are similar to that reported in other frog species without any abnormal characters. All data of morphological and hematological studies of L. blythii in this work will be served as baseline data for further biological and health status studies as well as conservation of this frog species in its natural habitat. en_US
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากเงินงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject กบ en_US
dc.subject กบทูด en_US
dc.subject Frogs -- Reproduction en_US
dc.subject Limnonectes blythii en_US
dc.title สุขภาวะ และชีววิทยาการสืบพันธุ์ของกบทูดในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ : รายงานผลการดำเนินงาน en_US
dc.title.alternative Health and reproductive biology of the Blyth's Giant frog Limnonectes blythii in RSPG area en_US
dc.type Technical Report en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record