dc.contributor.author |
เกษม ชูจารุกุล |
|
dc.contributor.author |
สรวิศ นฤปิติ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.coverage.spatial |
ไทย |
|
dc.coverage.spatial |
กรุงเทพฯ |
|
dc.date.accessioned |
2008-10-28T03:04:32Z |
|
dc.date.available |
2008-10-28T03:04:32Z |
|
dc.date.issued |
2549 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8377 |
|
dc.description.abstract |
ป้ายจราจรอิเล็กทรอนิกส์เป็นระบบที่นำมาใช้ในการให้ข้อมูลข่าวสารจราจรต่างๆ และแนะนำการเลี่ยงเส้นทางที่มีการจราจรคับคั่ง แม้ว่าระบบป้ายดังกล่าวได้รับการติดตั้งเป็นระยะเวลาหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานครแล้ว แต่จากอดีตที่ผ่านมายังไม่มีการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ระบบแผ่นจราจรอิเล็กทรอนิกส์ในมุมมองของผู้ขับขี่ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็นและจัดเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้ประเมินถึงประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากระบบได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงข้อความที่แสดงบนแผ่นจราจรอิเล็กทรอนิกส์โดยมุ่งเน้นรายละเอียดของข้อความที่แสดงบนแผ่นป้ายจราจรอิเล็กทรอนิกส์ว่ามีผลต่อการรับรู้และการตัดสินใจของผู้ขับขี่อย่างไร ผลจากการศึกษาพบว่า ผู้ขับขี่ในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่สังเกตเห็นแผ่นจราจรอิเล็กทรอนิกส์เป็นประจำร้อยละ 68.5 แต่มีผู้ขับขี่เพียง 1 ใน 5 ที่ใช้ป้ายดังกล่าวเป็นแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจเปลี่ยนเส้นทาง และพบว่าผู้ขับขี่จะตัดสินใจเปลี่ยนเส้นทางการเดินทางสูงสุด เมื่อได้รับข่าวสารจากจราจรอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งแสดงข้อมูลอันประกอบด้วยทิศทางการจราจร สาเหตุของปัญหา และเส้นทางแนะนำ นอกจากนี้จากการวิเคราะห์ทางสถิติจากข้อมูลประเภท Stated Preference ด้วยแบบจำลองแบบ logit พบว่านอกเหนือจากข้อมูลที่แสดงบนป้ายจราจรอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนเส้นทางแล้ว ตัวแปรอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจประกอบด้วย ความคุ้นเคยเส้นทาง เพศ อาชีพ ระยะทางการเดินทางโดยเฉลี่ยใน 1 วัน ความคุ้นเคยกับป้ายจราจรอิเล็กทรอนิกส์และวัตถุประสงค์การเดินทาง อย่างไรก็ดี อุปสรรคหลักต่อการตัดสินใจเปลี่ยนเส้นทางของผู้ขับขี่ได้แก่ความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่แสดงบนแผ่นป้าย ซึ่งในปัจจุบันผู้ขับขี่เห็นว่ายังไม่น่าเชื่อถือมากนัก |
en |
dc.description.abstractalternative |
Variable Message Sign (VMS) refers to an advanced traffic system that provides motorists with traffic information, as well as diversion routes in case of traffic congestion. Although such system has been implemented in Bangkok for a period of time, none of the past studies has investigated how motorists are aware of the system. This information is important and can be considered fundamental in evaluating the usefulness of the VMS system. The objective of the study is to investigate the information shown on the VMS by addressing how the message contents of VMS affect the awareness and the decision making of motorists. The indicated that nearly 68.5 percent of Bangkok drivers perceive the existence of the VMS; however, merely one-fifth the information as a source for route selections. It was also found that the optimal content on VMS that influent motorists to make a diversion are consisting of direction of travel, source of congestion, and suggested alternate route. Moreover, results from statistical analysis of stated preference data by applying logit models showed that in addition to the message content of VMS, other influencing factors include route familiarity, gender, occupation, average daily vehicle-kilometer of travel, VMS familiarity, and trip purpose. Nevertheless, the main impediment to motorist decision falls into the lack of credibility of the information shown on the VMS boards, which from the motorist perspective is relatively unreliable. |
en |
dc.description.sponsorship |
ทุนวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปี 2548 |
en |
dc.format.extent |
17327249 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.relation.ispartofseries |
โครงการวิจัยเลขที่ 79G-CE-2548 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
คนขับรถ -- ไทย -- กรุงเทพฯ |
|
dc.subject |
เครื่องหมายจราจร -- ไทย -- กรุงเทพฯ |
|
dc.subject |
ระบบขนส่งอัจฉริยะ |
|
dc.title |
การรับรู้และการตัดสินใจของผู้ขับขี่ต่อข้อมูลข่าวสารในระบบแผ่นป้ายจราจรอิเล็กทรอนิกส์ในกรุงเทพมหานคร |
en |
dc.type |
Technical Report |
es |
dc.email.author |
kasem.c@eng.chula.ac.th |
|
dc.email.author |
Sorawit.N@Chula.ac.th, kong@chula.ac.th |
|