dc.contributor.author |
ชิดชัย จันทร์ตั้งสี |
|
dc.contributor.author |
สกุลทิพย์ นูมหันต์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-11-29T08:46:15Z |
|
dc.date.available |
2023-11-29T08:46:15Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83781 |
|
dc.description |
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนองพระราชดำริโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.description.abstract |
การใช้อนุภาคเงินขนาดนาโนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบันอาจนำไปสู่ปัญหาการปนเปื้อนของอนุภาคนี้ลงสู่สิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงลบต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศที่ได้รับการปนเปื้อน ถึงแม้ว่าคุณสมบัติในการยับยั้งแบคทีเรียของอนุภาคนี้จะเป็นที่ทราบกันดี ผลกระทบของอนุภาคเงินขนาดนาโนต่อจุลชีพกลุ่มยูแคริโอตเซลล์เดียวกลับพบมีรายงานไม่มากนัก การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเป็นพิษของอนุภาคเงินขนาดนาโนในรูปของสารคอลลอยด์อนุภาคนาโนของโลหะเงินต่อซิลิเอต 3 ชนิด ได้แก่ Bresslauides sp., Paramecium sp. และ Telotrochidium sp. โดยพิจารณาผลของอนุภาคดังกล่าวจากค่าความเข้มข้นที่ทำให้ซิลิเอตตายไปครึ่งหนึ่ง ร่วมกับการตอบสนองของเซลล์ทางสัณฐานวิทยา อัตราการเจริญเติบโต และเวลาที่ใช้ในแต่ละชั่วรุ่นของซิลิเอตเมื่อได้รับสาร จากการทดลองพบว่า Paramecium sp. มีความไวต่อสารคอลลอยด์อนุภาคนาโนของโลหะเงินมากที่สุด รองลงมาคือ Bresslauides sp. และ Telotrochidium sp. ตามลำดับ โดยมีค่า LC50 หลังจากได้รับสารเป็นเวลา 24 ชั่วโมง เท่ากับ 0.753, 0.978 และ 1.741 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ โดยซิลิเอตที่ได้รับสารจะมีการเคลื่อนที่ช้าลง ภายในเซลล์เกิดแวคิวโอล ผิวเซลล์เกิดเม็ดพุพอง เซลล์เสียรูปร่าง และแตกสลายในที่สุด นอกจากนี้อนุภาคดังกล่าวยังมีผลลดอัตราการเจริญเติบโต และส่งผลเพิ่มเวลาที่ใช้ในแต่ละชั่วรุ่นของซิลิเอตทั้ง 3 ชนิดขึ้นอีกเท่าตัว ความไวของ Paramecium sp. ต่อสารแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการใช้ซิลิเอตสายพันธุ์นี้เป็นดัชนีชี้วัดทางชีวภาพของแหล่งน้ำที่อาจพบมีการปนเปื้อนของอนุภาคเงินขนาดนาโนได้ต่อไป |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
The rapidly increasing use of silver nanoparticles (silver NPs) nowadays may have led to contamination of silver NPs into environments, generating adverse effects on organisms dwelling in polluted ecosystems. Although the antibacterial property of these particles is widely accepted, their effects on unicellular eukaryotic microorganisms are not frequently reported. The objective of this study was therefore to assess toxicity of the silver NP prepared in a colloidal solution form to three species of ciliates, namely Bresslauides sp., Paramecium sp., and Telotrochidium sp. Morphological response at cellular level, growth rate, and generation time of each ciliate as well as concentrations of the silver NP that produce mortality in 50% of the treated cells (LC₅₀) after 24 h incubation were investigated. The results indicated that Paramecium sp. showed the highest sensitivity to the silver NP, followed by Bresslauides sp. and Telotrochidium sp. with the LC₅₀ values of 0.753, 0.978, and 1.741 mg/l, respectively. In addition, the three examined ciliates treated with the silver NP demonstrated slower swimming locomotion and exhibited several morphological alterations, including formation of intracellular vacuoles, plasma membrane blebbing, cellular deformities, and subsequent disintegration. Furthermore, the silver NP was observed to decrease growth rates and to double generation times of all tested ciliates. The highest sensibility of Paramecium sp. to the silver NP suggests the feasibility of using this isolate as a biological assessor for detecting possible contaminations of the nanoparticle in aquatic environments. |
en_US |
dc.description.sponsorship |
โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เงินงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2561 |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
อนุภาคนาโน |
en_US |
dc.subject |
มลพิษ |
en_US |
dc.subject |
Nanoparticles |
en_US |
dc.title |
การประยุกต์ใช้โพรติสต์จากพื้นที่ อพ.สธ. ในการประเมินความเป็นพิษของมลพิษในห้องปฏิบัติการ: กรณีศึกษาของอนุภาคเงินขนาดนาโนเมตร : รายงานผลการดำเนินงาน |
en_US |
dc.title.alternative |
Application of protists isolated from RSPG areas in assessing toxicity of pollutants in laboratory: A case study of silver nanoparticles |
en_US |
dc.type |
Technical Report |
en_US |