Abstract:
การวิจัยเรื่อง “ตัวชี้วัดชื่อเสียงของธุรกิจเอกชนในประเทศไทย ศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้ของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” เป็นการศึกษาเกณฑ์ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มในประเทศไทยใช้ในการวัดเสียงองค์กร และศึกษาเปรียบเทียบตัวชี้วัดชื่อเสียงองค์กรจากการรับรู้ของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างกลุ่มกันในประเทศไทย โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มนักลงทุน และพนักงานในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดที่เป็นตัวแทน 4 ภาค จำนวนรวม 1,600 ตัวอย่าง โดยจำแนกเป็นนักลงทุน 445 ตัวอย่าง พนักงาน 1,145 ตัวอย่าง และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารธุรกิจ 12 ราย ซึ่งมีตำแหน่งในองค์กรเป็นผู้บริหารหุ้นส่วนในกิจการ หรือที่ปรึกษากิจการหรือคณะกรรมการของบริษัทจากกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ขนาดธุรกิจละ 4 ราย ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมแล้ว จาก 4 คุณลักษณะที่ธุรกิจที่มีชื่อเสียงดีควรจะมี คือ การยอมรับนับถือ (Esteem) และความไว้วางใจ (Trust) ความชอบ (Liking) (ค่าเฉลี่ย 3.96) และ การชื่นชม (Admire) ทั้งนักลงทุนและพนักงานมีความคิดเห็นว่า การยอมรับนับถือ (Esteem) สำคัญที่สุด ตัวชี้วัดชื่อเสียงองค์กรจากการรับรู้ของกลุ่มนักลงทุน คือ ปัจจัยที่ 1 ด้านสินค้าและบริการขององค์กร (β₇ = 0.17) ตามลำดับ ส่วนของพนักงานมีความคล้ายคลึงกับของนักลงทุน แตกต่างแค่ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมีชื่อเสียงองค์กรอันดับที่ 2 ของพนักงาน คือ ปัจจัยที่ 6 ด้านความเป็นผู้นำ (β₆ = 0.13 ส่วน β1 = 0.53 β₇ = 0.11) ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับผลการศึกษาตัวชี้วัดความมีชื่อเสียงของธุรกิจในประเทศไทย” ที่เก็บข้อมูลจากกลุ่มประชาชนทั่วไป (รุ่งนภา พิตรปรีชา, 2553) และจากการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มธุรกิจทั้ง 3 ขนาดมีความคิดเห็นว่า ปัจจัยที่เป็นตัวชีวัดความมีชื่อเสียงของธุรกิจเอกชนในประเทศไทย คือ ปัจจัยด้านสินค้าและบริการ ปัจจัยด้านผลประกอบการ ปัจจัยด้านการกำกับดูแล และปัจจัยด้านความเป็นพลเมืองดี ดังนั้น สรุปได้ว่าตัวชี้วัดชื่อของธุรกิจเอกชนในประเทศไทยที่สำคัญที่ทั้ง 3 กลุ่มเห็นพ้องกัน คือ ปัจจัยด้านสินค้าและบริการขององค์กร รองลงมา คือ ปัจจัยด้านผลประกอบการปัจจัยเพิ่มเติมที่ต่างกลุ่มมีความคิดเห็นต่างกันคือ กลุ่มประชาชนทั่วไปและนักลงทุนมีความคิดเห็นพ้องกันว่าปัจจัยที่สำคัญต่อความมีชื่อเสียงองค์กร คือ ปัจจัยด้านความเป็นพลเมืองดี ส่วนพนักงานให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านความเป็นผู้นำ ส่วนปัจจัยที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลแตกต่างกันไปตามกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียและตามประเภทธุรกิจ คือ ปัจจัยด้านการกำกับดูแล ปัจจัยด้านสถานที่ทำงาน และปัจจัยด้านนวัตกรรมโดบมีเพียงบางประเภทธุรกิจเท่านั้นที่มีความคิดเห็นว่าเป็นตัวชี้วัดที่น่าจะคำนึงถึงด้วย