DSpace Repository

ตัวชี้วัดชื่อเสียงของธุรกิจเอกชนในประเทศไทยศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้ของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

Show simple item record

dc.contributor.author รุ่งนภา พิตรปรีชา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-12-02T06:32:18Z
dc.date.available 2023-12-02T06:32:18Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83820
dc.description.abstract การวิจัยเรื่อง “ตัวชี้วัดชื่อเสียงของธุรกิจเอกชนในประเทศไทย ศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้ของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” เป็นการศึกษาเกณฑ์ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มในประเทศไทยใช้ในการวัดเสียงองค์กร และศึกษาเปรียบเทียบตัวชี้วัดชื่อเสียงองค์กรจากการรับรู้ของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างกลุ่มกันในประเทศไทย โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มนักลงทุน และพนักงานในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดที่เป็นตัวแทน 4 ภาค จำนวนรวม 1,600 ตัวอย่าง โดยจำแนกเป็นนักลงทุน 445 ตัวอย่าง พนักงาน 1,145 ตัวอย่าง และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารธุรกิจ 12 ราย ซึ่งมีตำแหน่งในองค์กรเป็นผู้บริหารหุ้นส่วนในกิจการ หรือที่ปรึกษากิจการหรือคณะกรรมการของบริษัทจากกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ขนาดธุรกิจละ 4 ราย ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมแล้ว จาก 4 คุณลักษณะที่ธุรกิจที่มีชื่อเสียงดีควรจะมี คือ การยอมรับนับถือ (Esteem) และความไว้วางใจ (Trust) ความชอบ (Liking) (ค่าเฉลี่ย 3.96) และ การชื่นชม (Admire) ทั้งนักลงทุนและพนักงานมีความคิดเห็นว่า การยอมรับนับถือ (Esteem) สำคัญที่สุด ตัวชี้วัดชื่อเสียงองค์กรจากการรับรู้ของกลุ่มนักลงทุน คือ ปัจจัยที่ 1 ด้านสินค้าและบริการขององค์กร (β₇ = 0.17) ตามลำดับ ส่วนของพนักงานมีความคล้ายคลึงกับของนักลงทุน แตกต่างแค่ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมีชื่อเสียงองค์กรอันดับที่ 2 ของพนักงาน คือ ปัจจัยที่ 6 ด้านความเป็นผู้นำ (β₆ = 0.13 ส่วน β1 = 0.53 β₇ = 0.11) ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับผลการศึกษาตัวชี้วัดความมีชื่อเสียงของธุรกิจในประเทศไทย” ที่เก็บข้อมูลจากกลุ่มประชาชนทั่วไป (รุ่งนภา พิตรปรีชา, 2553) และจากการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มธุรกิจทั้ง 3 ขนาดมีความคิดเห็นว่า ปัจจัยที่เป็นตัวชีวัดความมีชื่อเสียงของธุรกิจเอกชนในประเทศไทย คือ ปัจจัยด้านสินค้าและบริการ ปัจจัยด้านผลประกอบการ ปัจจัยด้านการกำกับดูแล และปัจจัยด้านความเป็นพลเมืองดี ดังนั้น สรุปได้ว่าตัวชี้วัดชื่อของธุรกิจเอกชนในประเทศไทยที่สำคัญที่ทั้ง 3 กลุ่มเห็นพ้องกัน คือ ปัจจัยด้านสินค้าและบริการขององค์กร รองลงมา คือ ปัจจัยด้านผลประกอบการปัจจัยเพิ่มเติมที่ต่างกลุ่มมีความคิดเห็นต่างกันคือ กลุ่มประชาชนทั่วไปและนักลงทุนมีความคิดเห็นพ้องกันว่าปัจจัยที่สำคัญต่อความมีชื่อเสียงองค์กร คือ ปัจจัยด้านความเป็นพลเมืองดี ส่วนพนักงานให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านความเป็นผู้นำ ส่วนปัจจัยที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลแตกต่างกันไปตามกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียและตามประเภทธุรกิจ คือ ปัจจัยด้านการกำกับดูแล ปัจจัยด้านสถานที่ทำงาน และปัจจัยด้านนวัตกรรมโดบมีเพียงบางประเภทธุรกิจเท่านั้นที่มีความคิดเห็นว่าเป็นตัวชี้วัดที่น่าจะคำนึงถึงด้วย en_US
dc.description.abstractalternative A research "Indicators for Measuring Business Reputation in Thailand, Comparing stakeholders' perceptions of corporate reputation" is a study of criteria used by each group of stakeholders in Thailand to measure organization's reputation, and a comparative study of organization's reputation indicators from the perception of different groups of stakeholders in Thailand. Quantitative research was conducted in this study by a survey questionnaire to collect information from groups of investors, and employee in Bangkok area and representative provinces of 4 regions in Thailand. All 1,600 samples included 445 samples of investors and 1,145 samples of employee. Qualitative Research was also conducted in this study by an in-depth interview of 12 business executives who took the position in business organization as an executive, shareholder, advisor or board of directors from big, medium and small business, 4 samples each. The result of the research "Corporate Reputation in Thailand: An Analysis of Indicators" conducted in 2010, which targeted to study consumers and public, was compared with the result of this research. It was found in the research result that among the four characteristics business with positive reputation should have, which were Esteem, Trust, Liking and Admire, both investors and employee pointed out that Esteem was the most important among all. Organization's reputation indicators from the investors' perception were Organization's Products and Services (β₁= 0.25), followed by Citizenship (β₅= 0.18) and Performance (β₇= 0.17) respectively. Likewise, organization's reputation indicators from the employee's perception were the same as those of the investors which was organization's products and services (β₁= 0.53) except the factor influencing organization's reputation secondly, which was Leadership (β₆= -0.13). The result of this research was in the same direction as the result of the research "Corporate Reputation in Thailand: An Analysis of Indicators" which collected information from consumers and public (Rungnapar Pitpreecha, 2010). Moreover, it was found from the qualitative research that all 3 sizes of business agreed to point out that the factors influencing indicators for business reputation in Thailand were Products and Services, Performance, Governance and Citizenship. In summary, indicators for measuring business reputation in Thailand that 3 groups agreed to point out were Products and Services, followed by Performance. However, there were the other factors with different opinion of each group, customers, public and investors agreed to give priority to Citizenship while employee gave priority to Leadership. Factors with different levels of importance and influence according to the stakeholders and business categories were Governance, Workplace and Innovation, which only some business categories pointed out that they were the indicators to be considered. en_US
dc.description.sponsorship ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการวิจัยคณะนิเทศศาสตร์ ปีงบประมาณ 2555 en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, en_US
dc.subject การบริหารธุรกิจ en_US
dc.subject บริษัทเอกชน en_US
dc.title ตัวชี้วัดชื่อเสียงของธุรกิจเอกชนในประเทศไทยศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้ของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย en_US
dc.title.alternative Indicator for Measuring Private Corporate Reputation in Thailand A Comparative Study of Stakeholders' Perception en_US
dc.type Technical Report en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record