Abstract:
การวิเคราะห์หาปัจจัยเสี่ยงและการติดตามความเสี่ยงต่อการหกล้มในช่วงเวลากลางคืนของผู้สูงอายุโดยใช้ผู้ป่วยพาร์กินสันเป็นต้นใบบในการศึกษา จุดประสงค์ เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ sensor วัดการเคลื่อนไหวเวลากลางคืน (night recorder) เพื่อประเมินอาการเคลื่อนไหวลำบากตอนกลางคืน หรือขณะนอนในผู้ป่วยพาร์กินสัน วิธีดำเนินการวิจัย อุปกรณ์ sensor วัดการเคลื่อนไหวเวลากลางคืน (night recorder) ประกอบด้วย 5 ส่วนคือ a microcontroller, a power management module, a sensor module, a real-time clock module, and a data storage module. โดย sensor module เป็น triaxial integrated microelectromechanical systems ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้ในการประเมินการเคลื่อนไหว ตำแหน่งของร่างกายจะใช้แนวแรงโน้มถ่วงเป็นค่าเปรียบเทียบ เพื่อดูค่าการพลิกตัวบนเตียงนอน ซึ่งการดำเนินงานวิจัยโดยใช้อุปกรณ์ night recorder เพื่อประเมินการพลิกตัวและการลุกจากที่นอน โดยเริ่มทำให้ผู้ป่วยพาร์กินสันและคู่สามีหรือภรรยาของผู้ป่วยจำนวน 6 คู่ เป็นเวลา 1 คืน ที่บ้านของผู้ป่วยเอง ผลการวิจัย จากการศึกษา พบการเคลื่อนไหวขณะนอนทั้งหมด 134 ครั้ง เป็นการพลิกตัว 115 ครั้ง และการลุกจากที่นอน 19 ครั้ง โดยผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน มีจำนวนครั้งการพลิกตัวที่น้อยกว่าคู่สามีหรือภรรยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.028) และมุมที่เปลี่ยนแปลงในการพลิกตัวของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ก็น้อยกว่าคู่สามีหรือภรรยา อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (P=0.028) แต่เวลาที่ใช้ในการพลิกตัวเพื่อเปลี่ยนท่า ไม่มีความแตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อประเมินเป็นความเร็วและความเร่งในการพลิกตัวเปลี่ยนท่า แล้วผู้ป่วยโรคพาร์กินสันก็ยังมีความเร็วและความเร่งในการพลิกตัวเปลี่ยนท่าที่น้อยกว่าคู่สามีหรือภรรยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.028) นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน มีจำนวนครั้งการลุกจากที่นอนที่มากกว่าคู่สามีหรือภรรยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.02) สรุป จากการศึกษานี้ แสดงให้เห็นถึงการพัฒนา อุปกรณ์ sensor วัดการเคลื่อนไหวขณะนอน (night recorder) ที่มีขนาดเล็ก ใช้ติดกับผู้ป่วยได้ง่าย สามารถบันทึกการเคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากกับแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วย เพื่อประเมินอาการช่วงกลางคืน แต่ยังจำเป็นที่ต้องทำการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อหาแนวทางการวินิจฉัยภาวะ nocturnal hypokinesia ให้ได้ครบถ้วน