DSpace Repository

ปัจจัยทำนายความรู้สึกกลัวความก้าวหน้าของความเจ็บป่วยในบุคคลภายหลังเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

Show simple item record

dc.contributor.advisor ระพิณ ผลสุข
dc.contributor.author ชาลินี ปุรินทะ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2024-02-05T03:04:54Z
dc.date.available 2024-02-05T03:04:54Z
dc.date.issued 2566
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83971
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนายเพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความรู้สึกกลัวความก้าวหน้าของความเจ็บป่วยในบุคคลภายหลังเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคคลที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน จำนวน 214 คน ที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรมโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าและโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทั้งหมด 9 ส่วน คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจ 3) แบบสอบถามการรับรู้อาการเจ็บหน้าอก 4) แบบสอบถามการรับรู้ความเจ็บป่วยฉบับย่อ 5) แบบสอบถามความรู้สึกกลัวความก้าวหน้าของโรคฉบับย่อ 6) แบบสอบถามความวิตกกังวลในผู้ป่วยโรคหัวใจ 7) แบบประเมินความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย 8) แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และ 9) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .70, 1, .77, .83, .94, .91, .92 และ 1 ตามลำดับ และผ่านการตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือเท่ากับ .70, .71, .84, .80, .81, .84 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ  ผลการศึกษาพบว่า 1. บุคคลภายหลังเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมีความรู้สึกกลัวความก้าวหน้าของความเจ็บป่วยในระดับน้อยคิดเป็นร้อยละ 23.8 มีความรู้สึกกลัวความก้าวหน้าของความเจ็บป่วยในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 57.9 มีความรู้สึกกลัวความก้าวหน้าของความเจ็บป่วยในระดับมากคิดเป็นร้อยละ 18.2 และบุคคลภายหลังเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมีความรู้สึกกลัวความก้าวหน้าของความเจ็บป่วยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 36.92, SD = 9.89) 2. ปัจจัยทำนายความรู้สึกกลัวความก้าวหน้าของความเจ็บป่วยในบุคคลภายหลังเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ประกอบด้วย 4 ตัวแปร ได้แก่ ความวิตกกังวล (Beta = .369) ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย (Beta = .281) การรับรู้ความเจ็บป่วย (Beta = .119) และการรับรู้สมรรถนะแห่งตน (Beta = - .309) สามารถทำนายความรู้สึกกลัวความก้าวหน้าของความเจ็บป่วยในบุคคลภายหลังเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันคิดเป็นร้อยละ 69.6 (Adjusted R2 = 69.6, p < .05) ในขณะที่ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจ ความรุนแรงของโรค และการสนับสนุนทางสังคม ไม่สามารถทำนายความรู้สึกกลัวความก้าวหน้าของความเจ็บป่วยในบุคคลภายหลังเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้
dc.description.abstractalternative This predictive correlational research aimed to identify factors predicting fear of illness progression among persons with post-acute myocardial infarction. A purposive sampling was used to sample 214 persons who met inclusion criteria and were recruited from the Cardiovascular outpatient department of Phramongkutklao Hospital and Nopparatrajathanee Hospital. Data were collected using nine questionnaires: 1) Demographic Data Form 2) Coronary Artery Disease Education Questionnaire Short Version 3) Perceived Chest Pain Questionnaire 4) Brief illness perception questionnaire 5) Fear of illness progression questionnaire-Short Form 6) Cardiac Anxiety 7) Uncertainty in illness 8) Social support questionnaire and 9) Self-efficacy questionnaire. Five experts validated all questionnaires. Their CVI ware .70, 1, .77, .83, .94, .91, .92 and 1 respectively. Reliability ware .70, .71, .84, .80, .81, .84 and .89 respectively. Data were analyzed using multiple regression statistics.  Results: 1. fifty-one persons (23.8) reported mild fear of illness progression, one hundred twenty-four persons (57.9) reported moderate fear of illness progression, and thirty-nine persons (18.3) reported severe fear of illness progression. Persons with post-acute myocardial infarction had a moderate fear of illness progression. (Mean = 36.92, SD = 9.89) 2. Four variables significantly predict fear of illness progression among persons with post-acute myocardial infarction. They ware anxiety (Beta = .369), uncertainty in illness (Beta = .281), illness perception (Beta = .119) and self-efficacy (Beta = - .309). They could explain 69.6 of the fear of illness progression among persons with post-acute myocardial infarction (Adjusted R2 = 69.6, p < .05). However, knowledge, perceived chest pain, and social support could not predict fear of illness progression among persons with post-acute myocardial infarction.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Nursing
dc.subject.classification Professional, scientific and technical activities
dc.title ปัจจัยทำนายความรู้สึกกลัวความก้าวหน้าของความเจ็บป่วยในบุคคลภายหลังเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
dc.title.alternative Factors predicting fear of illness progression among persons with post acute myocardial infarction
dc.type Thesis
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record