Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจในชีวิตและความขัดแย้งระหว่างงานกับ ครอบครัวของคู่สมรสที่ทำงานในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือผู้ใหญ่ที่สมรสแล้วอายุระหว่าง 25-45 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป คู่สมรสทำงานทั้งคู่ เป็นงานประจำในหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 243 คน เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ คือแบบวัดความพึงพอใจในชีวิต และแบบวัดความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัว ใช้การวิเคราะห์ ความแปรปรวนสองทางและทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธี Dunnett't3 หรือ Scheffe และหาค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า คู่สมรสที่ทำงานในกรุงเทพมหานคร 1. มีความพีงพอใจในชีวิตสูง มีความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวน้อย ทั้งในรูปแบบงานก้าวก่าย ครอบครัวและครอบครัวก้าวก่ายงาน 2. บางกลุ่มมีความข้ดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวในระดับ ปานกลาง ทั้งในงานก้าวก่ายครอบครัวและครอบครัวก้าวก่ายงาน 3. กลุ่มผู้หญิงมีความข้ดแย้ง ระหว่างงานกับครอบครัวในรูปแบบงานก้าวก่ายครอบครัวที่มีสาเหตุจากความเครียดมากกว่า กลุ่มผู้ชาย เฉพาะกลุ่มที่มีบุตร กลุ่มผู้หญิงมีความพึงพอใจในชีวิตน้อยกว่ากลุ่มผู้ชาย 4. กลุ่มที่อยู่ ในช่วงอายุ 32.38 ปี มีความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวในรูปแบบงานก้าวก่ายครอบครัว ที่มีสาเหตุจากเวลา และจากความเครียดมากกว่าผู้ที่อยู่ในช่วงอายุ 39.45 ปี 5. กลุ่มที่มีบุตร 1 คน มีความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวในรูปแบบงานก้าวก่ายครอบครัวที่มีสาเหตุจากเวลา ความเครียด และพฤติกรรม และในรูปแบบครอบครัวก้าวก่ายงานที่มีสาเหตุจากความเครียด และพฤติกรรมมากกว่ากลุ่มผู้ที่ไม่มีบุตร 6. กลุ่มที่มีบุตรอายุช่วงแรกเกิด-5 ปี มีความขัดแย้งระหว่าง งานกับครอบครัวในรูปแบบงานก้าวก่ายครอบครัวที่มีสาเหตุจากความเครียด และในรูปแบบครอบครัว ก้าวก่ายงานที่มีสาเหตุจากเวลามากกว่าผู้ที่มีบุตรอายุช่วง 6-11 ปี และมีความขัดแย้งระหว่างงานกับ ครอบครัวในรูปแบบครอบครัวก้าวก่ายงานที่มีสาเหตุจากพฤติกรรมมากกว่ากลุ่มผู้ที่มีบุตรอายุช่วง 12-15 ปี 7. กลุ่มที่ไม่มีผู้ช่วยในครัวเรือนมีความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวในรูปแบบครอบครัว ก้าวก่ายงานที่มีสาเหตุจากความเครียดมากกว่ากลุ่มที่มีผู้ช่วยในครัวเรือน 8. เฉพาะกลุ่มที่มีบุตร กลุ่มที่ไม่มีผู้ช่วยในครัวเรือนมีความขัดแย้งในรูรูปแบบงานก้าวก่ายครอบครัวและครอบครัวก้าวก่าย งานที่มีสาเหตุจากความเครียดและพฤติกรรม มากกว่าผู้ที่มีผู้ช่วยในครัวเรือน 9.ความพึงพอใจในชีวิตมีความสัมพันธ์ทางลบกับความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัว ทั้งในด้านรูปแบบของความขัดแย้ง และสาเหตุของความขัดแย้ง 10. ความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวมีความสัมพันธ์กันทางบวกกับ รูปแบบของความขัดแย้ง และสาเหตุของความขัดแย้ง