DSpace Repository

ความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัว และความพึงพอใจในชีวิต ของคู่สมรสที่ทำงานในกรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุภาพรรณ โคตรจรัส
dc.contributor.author ดวงหทัย คชเสนี
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.coverage.spatial ไทย
dc.coverage.spatial กรุงเทพมหานคร
dc.date.accessioned 2008-11-05T04:43:54Z
dc.date.available 2008-11-05T04:43:54Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8398
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 en
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจในชีวิตและความขัดแย้งระหว่างงานกับ ครอบครัวของคู่สมรสที่ทำงานในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือผู้ใหญ่ที่สมรสแล้วอายุระหว่าง 25-45 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป คู่สมรสทำงานทั้งคู่ เป็นงานประจำในหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 243 คน เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ คือแบบวัดความพึงพอใจในชีวิต และแบบวัดความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัว ใช้การวิเคราะห์ ความแปรปรวนสองทางและทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธี Dunnett't3 หรือ Scheffe และหาค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า คู่สมรสที่ทำงานในกรุงเทพมหานคร 1. มีความพีงพอใจในชีวิตสูง มีความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวน้อย ทั้งในรูปแบบงานก้าวก่าย ครอบครัวและครอบครัวก้าวก่ายงาน 2. บางกลุ่มมีความข้ดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวในระดับ ปานกลาง ทั้งในงานก้าวก่ายครอบครัวและครอบครัวก้าวก่ายงาน 3. กลุ่มผู้หญิงมีความข้ดแย้ง ระหว่างงานกับครอบครัวในรูปแบบงานก้าวก่ายครอบครัวที่มีสาเหตุจากความเครียดมากกว่า กลุ่มผู้ชาย เฉพาะกลุ่มที่มีบุตร กลุ่มผู้หญิงมีความพึงพอใจในชีวิตน้อยกว่ากลุ่มผู้ชาย 4. กลุ่มที่อยู่ ในช่วงอายุ 32.38 ปี มีความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวในรูปแบบงานก้าวก่ายครอบครัว ที่มีสาเหตุจากเวลา และจากความเครียดมากกว่าผู้ที่อยู่ในช่วงอายุ 39.45 ปี 5. กลุ่มที่มีบุตร 1 คน มีความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวในรูปแบบงานก้าวก่ายครอบครัวที่มีสาเหตุจากเวลา ความเครียด และพฤติกรรม และในรูปแบบครอบครัวก้าวก่ายงานที่มีสาเหตุจากความเครียด และพฤติกรรมมากกว่ากลุ่มผู้ที่ไม่มีบุตร 6. กลุ่มที่มีบุตรอายุช่วงแรกเกิด-5 ปี มีความขัดแย้งระหว่าง งานกับครอบครัวในรูปแบบงานก้าวก่ายครอบครัวที่มีสาเหตุจากความเครียด และในรูปแบบครอบครัว ก้าวก่ายงานที่มีสาเหตุจากเวลามากกว่าผู้ที่มีบุตรอายุช่วง 6-11 ปี และมีความขัดแย้งระหว่างงานกับ ครอบครัวในรูปแบบครอบครัวก้าวก่ายงานที่มีสาเหตุจากพฤติกรรมมากกว่ากลุ่มผู้ที่มีบุตรอายุช่วง 12-15 ปี 7. กลุ่มที่ไม่มีผู้ช่วยในครัวเรือนมีความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวในรูปแบบครอบครัว ก้าวก่ายงานที่มีสาเหตุจากความเครียดมากกว่ากลุ่มที่มีผู้ช่วยในครัวเรือน 8. เฉพาะกลุ่มที่มีบุตร กลุ่มที่ไม่มีผู้ช่วยในครัวเรือนมีความขัดแย้งในรูรูปแบบงานก้าวก่ายครอบครัวและครอบครัวก้าวก่าย งานที่มีสาเหตุจากความเครียดและพฤติกรรม มากกว่าผู้ที่มีผู้ช่วยในครัวเรือน 9.ความพึงพอใจในชีวิตมีความสัมพันธ์ทางลบกับความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัว ทั้งในด้านรูปแบบของความขัดแย้ง และสาเหตุของความขัดแย้ง 10. ความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัวมีความสัมพันธ์กันทางบวกกับ รูปแบบของความขัดแย้ง และสาเหตุของความขัดแย้ง en
dc.description.abstractalternative The aim of this research was to investigate life satisfaction and work-family conflict of employed married adults in Bangkok. Participants were 243 full-time employed adults during the age of 25-45 from dual-career family with at least bachelor degree. The instruments used were the life satisfaction scale and the multi-dimensional measure of work-family conflict. Data was analyzed using a two-way ANOVA design, followed by Dunnett'T3 or Scheffe post-hoc multiple comparison. Also, Pearson correlation coefficient was performed. The major findings were as follows: 1. Employed married adults reported high life satisfaction, and low work-family conflict; both work interference with family (WIF) and family interference with work (FIW). 2. Those in certain subgroups had moderate level of work-family conflict. 3. Female reported more strain-based WIF than male, and, among those with children, female reported less life satisfaction than male. 4. Employed married adults during the age of 32-38 reported more WIF, time-based WIF and strain-based WIF than those during the age of 39-45. 5. Employed married adults with single child reported more WIF, FIW, time-based WIF, strain-based WIF, behavior-based WIF, time-based FIW, and behavior-based FIW than those without children. 6. Employed married adults with newborn to 5-year-old children reported more FIW, strain-based WIF and time-based FIW than those with 6 to 11-year-old children, and, more behavior-based FIW than those with 12 to 15-year-old children. 7. Employed married adults without household helpers reported more FIW and strain-based FIW than those with household helpers. 8. Among those with children, employed married adults without household helpers reported more WIF, FIW, strain-based WIF, behavior-based WIF, strain-based FIW, and behavior-based FIW than those with household helpers. 9. Life satisfaction was negatively related with all types of work-family conflict. 10. All types of work-family conflict were positively related en
dc.format.extent 2052608 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1261
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การทำงานและครอบครัว -- ไทย -- กรุงเทพมหานคร en
dc.subject คู่สมรส -- ทัศนคติ -- แง่จิตวิทยา en
dc.title ความขัดแย้งระหว่างงานกับครอบครัว และความพึงพอใจในชีวิต ของคู่สมรสที่ทำงานในกรุงเทพมหานคร en
dc.title.alternative Work-family conflict and life satisfaction of employed married adults in Bangkok en
dc.type Thesis es
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline จิตวิทยาการปรึกษา es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor ksupapun@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2006.1261


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record