dc.contributor.advisor |
ปชาณัฏฐ์ นันไทยทวีกุล |
|
dc.contributor.author |
ผกายรัตน์ สหเจริญชัย |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2024-02-05T03:04:58Z |
|
dc.date.available |
2024-02-05T03:04:58Z |
|
dc.date.issued |
2566 |
|
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83983 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนายเพื่อศึกษาอำนาจการทำนายความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนของผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองชนิดแตก ตีบตัน ครั้งแรก/เป็นซ้ำ ทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 114 ราย ที่มารับการตรวจติดตามการรักษา ณ แผนกผู้ป่วยนอกหน่วยตรวจโรคประสาทศัลยศาสตร์และอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โรงพยาบาลตำรวจ และสถาบันประสาทวิทยา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความต้องการการดูแลแบบสนับสนุน แบบประเมินภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล แบบประเมินโรคร่วม แบบประเมินความเหนื่อยล้า และแบบประเมินระดับความพิการ แบบสอบถามหาค่าความตรงเชิงเนื้อหาได้เท่ากับ .88,1, .99 และ 1 ตามลำดับ ส่วนแบบประเมินระดับความพิการซึ่งเป็นแบบประเมินมาตรฐาน มีการนำมาใช้ในการวิจัยอย่างแพร่หลายดังนั้นผู้วิจัยจึงไม่ทำการทดสอบซ้ำ และได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .87, .88, .89, .97 และ .78 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบเป็นขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า
1. ผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง มีความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 86.40 (SD = 21.56)
2. ปัจจัยที่สามารถทำนาย ความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนของผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองได้สูงสุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ระดับความพิการ (beta = .447) รองลงมา คือ ภาวะโรคร่วม (beta = .310) ภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล (beta = .251) และ ความเหนื่อยล้า (beta = .155) ตามลำดับ โดยตัวแปรทำนายทั้ง 4 ตัวแปร สามารถทำนายความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนของผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง ได้ร้อยละ 78.1 (Adjusted R2 = .781, F = 187.420, p<. 05) อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติที่ระดับ .05 |
|
dc.description.abstractalternative |
The objective of this predictive correlational research was to identify factors predicting supportive care needs in stroke survivors. The sample is Patients diagnosed by a doctor as having a first/recurrent Ischemic or hemorrhagic stroke. Both males and females, aged 18 years and over, totaling 114 patients, who were out-patients at the medicine and surgery neurology department, King Chulalongkorn Memorial Hospital, Police General Hospital and Neurological Institute of Thailand. The instruments used for data collection were a personal data questionnaire, Supportive care needs evaluation, Hospital anxiety and depression scale, Charlson criteria checklist, Fatigue severity scale and Modified Rankin scale. Their content validity index was .88, 1, .99 and 1 respectively except the Modified Rankin scale is standardized and the reliabilities of these questionnaires were .87, .88, .89, .97 and .78 respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis. The result found that:
1. The subjects had an overall need for supportive care at a moderate level (Mean = 86.40, SD = 21.56)
2. The factors that could predict supportive care needs in stroke survivors with the highest statistical significance were level of disability (beta = .447, p<.05), followed by
comorbidity (beta = .310, p<.05), depression and anxiety (beta = .251, p<.05), and fatigue (beta
= .155, p<.05), respectively. Those factors were able to predict the need for supportive care in
stroke survivors 78.1 % (Adjusted R2 = .781, F = 187.420, p <. 05) |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Nursing |
|
dc.subject.classification |
Professional, scientific and technical activities |
|
dc.title |
ปัจจัยทำนายความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนในผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง |
|
dc.title.alternative |
Predicting factors for supportive care needs in stroke survivors |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|