DSpace Repository

ความเครียดจากการทำงานและภาวะสุขภาพจิตของพนักงานขับรถโดยสารประจำทางในองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

Show simple item record

dc.contributor.advisor พรชัย สิทธิศรัณย์กุล
dc.contributor.author ชยุตม์ ต่างวิวัฒน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2024-02-05T06:19:30Z
dc.date.available 2024-02-05T06:19:30Z
dc.date.issued 2566
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84091
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาความเครียดจากการทำงานและภาวะสุขภาพจิตของพนักงานขับรถโดยสารประจำทางในองค์การ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานขับรถโดยสารประจำทาง จำนวน 329 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลในเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2566 โดยการใช้แบบประเมินความเครียดจากการทำงาน (Thai JCQ-45) และแบบประเมินภาวะสุขภาพจิต (Thai GHQ-12) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ระหว่างสองตัวแปรและวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่าง มีความเครียดจากการทำงานสูง ร้อยละ 30.4 และมีความเสี่ยงในการมีปัญหาสุขภาพจิต ร้อยละ 19.5 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับความเครียดจากการทำงาน ได้แก่ เพศหญิง (aOR= 2.37, 95%CI: 1.17-4.80) การทำอาชีพเสริม (aOR= 4.04, 95%CI: 1.03-15.80) ผู้ที่มีการเรียกร้องจากงานด้านกายภาพสูง (aOR= 7.49, 95%CI: 3.98-14.10) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับความเครียดจากการทำงาน ได้แก่ การออกกำลังกาย (aOR= 0.35, 95%CI: 0.12-0.98)  ความมั่นคงของงานสูง (aOR= 0.27, 95%CI: 0.08-0.97)  และการสนับสนุนทั้งสังคมสูง (aOR= 0.09, 95%CI: 0.03-0.32) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับความเสี่ยงในการมีปัญหาสุขภาพจิต ได้แก่ ชั่วโมงการทำงาน (aOR= 2.08, 95%CI: 1.06-4.07 ) อันตรายในงานสูง (aOR=, 95%CI: 1.90-7.66) และผู้ที่มีความเครียดจากการทำงานสูงมีความเสี่ยงในการมีปัญหาสุขภาพจิตเป็น 1.77 เท่า (95%CI: 1.01-3.11) ดังนั้นหน่วยงานควรส่งเสริมมาตรการในการป้องกันความเครียดจากการทำงานและปัญหาสุขภาพจิต
dc.description.abstractalternative This research is a cross-sectional descriptive study. The objective of this study was to investigate the problem of work-related stress and mental health among bus drivers in the Bangkok Mass Transit Authority. The sample group consisted of 329 bus drivers selected through a multistage random sampling. The study was conducted from January to March 2023 using Thai JCQ-45 to assess work-related stress and Thai GHQ-12 to assess mental health. Data were analyzed using descriptive statistics, bivariate analysis, and multiple logistic regression analysis. The results showed that the prevalence of high work-related stress was 30.4% and the prevalence of risk for mental health problems was 19.5%. Factors positively associated with work-related stress included female gender (aOR=2.37, 95%CI: 1.17-4.80), having a second job (aOR=4.04, 95%CI: 1.03-15.80), high physical demands (aOR=7.49,95%CI: 3.98-14.10). Factors negatively associated with work-related stress included exercise (aOR=0.35, 95%CI: 0.12-0.98), high job security (aOR=0.27, 95%CI: 0.08-0.97), and high social support (aOR=0.09,95%CI: 0.03-0.32). Factors positively associated with the risk of mental health problems included working hours (aOR=2.08, 95%CI:1.06-4.07), high workplace hazard (aOR= 95%CI: 1.90-7.66). Individuals with high work-related stress had a 1.77 times higher risk of mental health problems (95%CI:1.01-3.11). Therefore, the organization should promote programs to prevent work-related stress and mental health problems.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Medicine
dc.subject.classification Medicine
dc.subject.classification Human health and social work activities
dc.title ความเครียดจากการทำงานและภาวะสุขภาพจิตของพนักงานขับรถโดยสารประจำทางในองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
dc.title.alternative Work-related stress and mental health among bus drivers in Bangkok Mass Transit Authority
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record