DSpace Repository

การศึกษาความต้องการปริมาณเงินของ สปป ลาว

Show simple item record

dc.contributor.advisor พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม
dc.contributor.author ตุนี่ วิพรมมะวงสา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2024-02-05T09:47:38Z
dc.date.available 2024-02-05T09:47:38Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84103
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการปริมาณเงินของ สปป ลาว โดยทำการทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว Cointegration Test ด้วยวิธีของ Johansen (1995) ทดสอบการปรับตัวระยะสั้นกลับเข้าสู่จุดดุลยภาพในระยะยาวด้วยวิธี Vector Error Correction Model (VECM) และทำการทดสอบเสถียรภาพของแบบจำลองความต้องการปริมาณเงินของ สปป ลาว ด้วยวิธีผลรวมสะสม The Cumulative Sum (CUSUM) และ The Cumulative Sum of Squares (CUSUMSQ) การศึกษาครั้งนี้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิแบบอนุกรมเวลา รายไตรมาสตั้งแต่ 1991Q1 ถึง 2021Q4 รวม 124 ไตรมาส โดยใช้ข้อมูลจากธนาคารแห่ง สปป ลาว ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรในแบบจำลองมีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวมากกว่า 1 รูปแบบทั้งสองแบบจำลอง โดยที่แบบจำลองความต้องการปริมาณเงิน M1 พบว่า รายได้ที่แท้จริง อัตราเงินเฟ้อ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับความต้องการปริมาณเงิน M1 ในขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนกีบต่อดอลลาร์ มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับปริมาณเงิน M1 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ และตัวแปร QR Code แทนการชำระเงินผ่านระบบธนาคาร ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติกับความต้องการปริมาณเงิน M1 ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ แบบจำลองความต้องการปริมาณเงิน M2 พบว่า รายได้ที่แท้จริง อัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะสั้น 1 ปีสกุลเงินกีบ และตัวแปร QR Code มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับความต้องการปริมาณเงิน M2 ในขณะที่ อัตราเงินเฟ้อ และอัตราแลกเปลี่ยนกีบต่อดอลลาร์ มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับความต้องการปริมาณเงิน M2 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ผลการทดสอบความเสถียรของแบบจำลองความต้องการปริมาณเงินของ สปป ลาว พบว่ามีความเสถียรในระยะยาว ซึ่งเป็นการสนับสนุนและยืนยันว่า สปป ลาวนั้นมีความเหมาะสมสำหรับกรอบนโยบายการเงินที่กำหนดเป้าหมายปริมาณเงินเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อเป็นหลัก และการกำหนดเป้าหมายปริมาณเงินของธนาคารกลางนั้นอาจจะสูงเกินความต้องการเงินที่แท้จริงของ สปป ลาว ซึ่งอาจนำไปสู่เงินเฟ้อที่สูงเกินที่ควรจะเป็น ดังนั้น การกำหนดเป้าหมายปริมาณเงินให้มีความเหมาะสมกับความต้องการเงินที่แท้จริงของ สปป ลาว จะทำให้นโยบายการเงินของ สปป ลาว นั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และ สามารถควบคุมเงินเฟ้อได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งข้อจำกัดในการศึกษาครั้งนี้ไม่ได้พิจารณาประเด็นเรื่องของ Currency Substitute ใน สปป ลาว ซึ่งมันอาจจะเป็นประเด็นที่ทำให้การกำหนดเป้าหมายปริมาณเงินของธนาคารกลางสูงเกินไป
dc.description.abstractalternative The purpose of this research is to study the demand for money in the Lao PDR by the cointegration test proposed using Johansen (1995) adopted to extract the long-run relationship of variables. The vector error correction model (VECM) is applied to exhibit the short-run adjustment and test the stability of demand for money in the Lao PDR model by the Cumulative Sum (CUSUM) and the Cumulative Sum of Squares (CUSUMSQ) methods. Data used in this study are secondary data (time series) quarterly from 1991Q1 to 2021Q4 total of 124 quarters used data from the bank of Lao PDR. The results found that all variables in both models have more than one long-run relationship. The demand for money M1 model found that real income and Inflation rate are the same correlation with demand for money M1. While the exchange rate kip per dollar is an inverse correlation with demand for money M1, which is consistent with the hypotheses. The dummy variable instead of using a QR Code in banking payments instead of cash does not significant for demand for money M1, which is inconsistent with the hypothesis. The demand for money M2 model found that real income, The deposit interest rate for 1 year in Kip, and The dummy variable instead of using a QR Code in banking payments instead of cash are the same correlation with demand for money M2, while the inflation rate and the exchange rate kip per dollar are inverse correlation with demand for money M2, which is consistent with the hypothesis. The results of the stability test of the Lao PDR demand for money models were found to be stable over the long term. This supports and confirms that the Lao PDR is a good fit for a monetary policy framework that targets money supply primarily to control inflation and the central bank's money supply targets may exceed the real money demand of Lao PDR, which could lead to high inflation. The real money of Lao PDR will make the Lao PDR monetary policy more efficient and it can control inflation better. The constraints in this study do not consider the issue of a currency substitute in Laos, where it may be an issue that overestimates the central bank's money supply targets.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Economics
dc.subject.classification Financial and insurance activities
dc.subject.classification Finance, banking, insurance
dc.title การศึกษาความต้องการปริมาณเงินของ สปป ลาว
dc.title.alternative A study of demand for money in the Lao PDR
dc.type Thesis
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record