DSpace Repository

การสร้างสรรค์เรียงความภาพถ่ายเพื่อสื่อสารเรื่องชีวิตและความตายจากวรรณกรรมเรื่องทิวส์เดส์วิทมอร์รี

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปอรรัชม์ ยอดเณร
dc.contributor.author ภัทรพร มะณู
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
dc.date.accessioned 2024-02-05T09:51:59Z
dc.date.available 2024-02-05T09:51:59Z
dc.date.issued 2566
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84110
dc.description วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566
dc.description.abstract งานวิจัยเชิงสร้างสรรค์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างสรรค์เรียงความภาพถ่ายเพื่อสื่อสารเรื่องชีวิตและความตายจากวรรณกรรมเรื่องทิวส์เดส์วิทมอร์รี 2) เพื่อสำรวจทัศนคติของผู้ชมที่มีต่อเรียงความภาพถ่ายจากวรรณกรรมเรื่องทิวส์เดส์วิทมอร์รี มีเครื่องมือในการวิจัยดังต่อไปนี้ 1) วรรณกรรมทิวส์เดส์วิทมอร์รีฉบับภาษาอังกฤษและฉบับแปลไทย 2) บันทึกการสร้างสรรค์ 3) การทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญ 4) การสนทนากลุ่ม 5) แบบสอบถาม  ผลการวิจัยพบว่า 1) ขั้นตอนก่อนการสร้างสรรค์ ต้องศึกษาและวิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่องของวรรณกรรมฯ เพื่อทำความเข้าใจและศึกษาเรื่องชีวิตและความตาย และงานดัดแปลงที่ผ่านมา 2) ขั้นตอนการสร้างสรรค์ ได้แก่ 1) การคัดเลือกและสังเคราะห์วรรณกรรมฯ บทที่แสดงถึงเรื่องชีวิตและความตายเพื่อสร้างสรรค์บทกลอนและตัวละคร 2) การสร้างฉาก 3) การถ่ายและตกแต่งภาพ 4) การจัดทำรูปเล่ม 5) การตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 3) ​ขั้นตอนหลังการสร้างสรรค์ การเผยแพร่ผลงานและสำรวจทัศคติผู้ชม 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มการสนทนากลุ่ม 2) กลุ่มการตอบแบบสอบถาม แบ่งออกเป็นกลุ่มผู้ที่เคยและไม่เคยอ่านวรรณกรรมฯ ผลการสำรวจผู้ที่เคยอ่านวรรณกรรมฯ สามารถเข้าใจเนื้อหาและแนวคิดเรื่องชีวิตและความตายได้ราบรื่นกว่าอีกกลุ่ม ทั้ง 2 กลุ่มนั้นชื่นชอบองค์ประกอบด้านภาพถ่ายมากที่สุด ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าภาพถ่ายและกลอนนั้นส่งเสริมกัน การประเมินด้านการรับรู้เรื่องชีวิตและความตายมีเกณฑ์ในแต่ละองค์ประกอบส่วนใหญ่คือ มาก
dc.description.abstractalternative This creative research aims to 1) create a photo essay conveying ideas about life and death adapted from Tuesdays with Morrie 2) investigate audience attitudes towards the photo essay adapted from Tuesdays with Morrie. This research conducted by using English and Thai version of Tuesdays with Morrie, a journal documenting the creative process, a reliability test, focus group discussions, and questionnaires. The results illustrate that 1) the pre-production phase consists of an examination of life and death ideation and narrative structures of “Tuesdays with Morrie”, alongside prior adaptations 2) the production phase including the selection and synthesis of relevant chapters in order to create poems and characters, scene design, shooting and editing, forming a cohesive photo essay, and the assessment of tool reliability 3) the post-production phase consists of publication, and the evaluation of audience attitudes. Audience participants are categorized into two groups based on their familiarity with “Tuesdays with Morrie”, revealing those who have read the book tend to comprehend the messages more readily. Questionnaire responses indicate a share appreciation for visual elements, emphasizing the complementary relationship between visual and poetic components, with a generally high score of depictions related to life and death.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Arts and Humanities
dc.subject.classification Information and communication
dc.subject.classification Basic / broad general programmes
dc.title การสร้างสรรค์เรียงความภาพถ่ายเพื่อสื่อสารเรื่องชีวิตและความตายจากวรรณกรรมเรื่องทิวส์เดส์วิทมอร์รี
dc.title.alternative Creation of photo essay conveying ideas about life and deathadapted from Tuesdays with Morrie
dc.type Thesis
dc.degree.name นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นิเทศศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record