dc.contributor.advisor | พัศพันธน์ ชาญวสุนันท์ | |
dc.contributor.author | ณัฐพงศ์ เครือนพคุณ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2024-02-05T09:56:40Z | |
dc.date.available | 2024-02-05T09:56:40Z | |
dc.date.issued | 2566 | |
dc.identifier.uri | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84160 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566 | |
dc.description.abstract | ที่จอดรถเป็นองค์ประกอบสำคัญของอาคารชุดพักอาศัยที่ต้องจัดให้มีจำนวนเพียงพอตามเกณฑ์ข้อบังคับที่กฎหมายกำหนด ซึ่งปัจจุบัน (พ.ศ. 2565) พบว่า มีการนำที่จอดรถอัตโนมัติเข้ามาใช้ในโครงการอาคารชุดแพร่หลายมากขึ้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด วิธีการเลือกรูปแบบ ลักษณะทางกายภาพ การใช้งาน การบริหารจัดการ และข้อดี ข้อจำกัด ของการนำระบบที่จอดรถอัตโนมัติมาใช้ในโครงการอาคารชุด โดยมีกรณีศึกษาเป็นอาคารชุดในเขตวัฒนา 4 โครงการ ด้วยวิธีการสำรวจ การสังเกต และการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนำระบบที่จอดรถอัตโนมัติมาใช้ จากการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการโครงการทั้ง 4 โครงการมีแนวคิดในการนำระบบที่จอดรถอัตโนมัติเข้ามาใช้เพื่อประหยัดพื้นที่จอดรถ จัดการพื้นที่ขายให้มีประสิทธิภาพ ช่วยประหยัดเวลาและพลังงานในการวนหาที่จอดรถ โดยให้ผู้ออกแบบและผู้จัดหาและติดตั้งเป็นผู้นำเสนอข้อมูลและให้คำแนะนำในการเลือกใช้ระบบที่จอดรถอัตโนมัติ ให้เหมาะสมกับลักษณะของพื้นที่และรูปแบบอาคารในโครงการนั้น ๆ ผู้ประกอบการแต่ละโครงการเป็นผู้ตัดสินใจเลือกใช้รูปแบบของระบบที่จอดรถอัตโนมัติ โดยคำนึงถึงต้นทุนของระบบเป็นหลัก แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ (1) แบบมีถาดรองรับ ซึ่งเป็นระบบที่ต้องจอดรถเทียบบนถาดรองรับรถที่อยู่ในลิฟต์รถ ได้แก่ โครงการเซอเลส อโศก ที่ใช้ระบบถาดรถเลื่อน และโครงการเซอร์เคิล สุขุมวิท 31 ที่ใช้ระบบหอสูง และ(2) แบบไม่มีถาดรองรับ เป็นระบบที่ต้องจอดรถเทียบภายในหรือภายนอกช่องลิฟต์ โดยมีหุ่นยนต์รับส่งรถนำรถไปจอดยังตำแหน่งที่ว่างและใกล้ที่สุด ได้แก่ โครงการไนท์บริดจ์ ไพร์ม อ่อนนุชและมิวนีค สุขุมวิท 23 ใช้ระบบหุ่นยนต์ โดยระบบแบบไม่มีถาดรองรับมีระยะเวลาเฉลี่ยในการนำรถเข้าจอดอยู่ที่ 1.55 นาที ใช้เวลาน้อยว่าระบบแบบมีถาดรับรถซึ่งมีระยะเวลาเฉลี่ย 2.21 นาที ในการบริหารจัดการทุกโครงการมีการบำรุงรักษาเชิงป้องกันประจำทุกเดือนเหมือนกันตามระยะการประกัน แต่โครงการไนท์บริดจ์ไพร์ม อ่อนนุชมีการจัดจ้างช่างดูแลระบบประจำโครงการเพิ่มเติม จากการสำรวจ ทุกโครงการพบปัญหาและอุปสรรคที่คล้ายกัน คือ ความลำบากในการเข้าจอดเทียบทั้งภายในและภายนอกช่องลิฟต์รถ เนื่องจากระยะการเลี้ยวรถและพื้นที่รอด้านหน้าลิฟต์ไม่เพียงพอ ข้อดีของระบบที่เหมือนกันคือ ช่วยประหยัดการใช้พื้นที่ ที่แตกต่างกันคือ ระบบที่ใช้ถาดรับรถมีการใช้งานและการซ่อมแซมง่ายไม่ซับซ้อน และมีราคาที่จอดรถต่อช่องจอดและค่าซ่อมบำรุงที่ค่อนข้างถูก ส่วนระบบแบบไม่มีถาดรองรับเป็นระบบที่ทันสมัย การทำงานที่ต่อเนื่องและรวดเร็วกว่า ส่วนข้อจำกัดที่แตกต่าง คือ ระบบที่มีถาดรองรับการทำงานของระบบมีเสียงดังรบกวน ส่วนระบบแบบไม่มีถาดรองรับมีราคาที่จอดรถต่อช่องจอดและค่าซ่อมบำรุงที่ค่อนข้างแพงกว่า และมีวิธีการซ่อมแซมแก้ไขระบบที่ซับซ้อนกว่า ผลจากการวิเคราะห์พบว่า เนื่องจากที่จอดรถอัตโนมัติไม่ต้องมีทางลาดและมีทางวิ่งรถน้อย ที่จอดรถอัตโนมัติจึงมีการใช้พื้นที่น้อยกว่าที่จอดรถแบบปกติประมาณ 2 เท่า ทำให้ประหยัดพื้นที่จอดรถได้มากถึง 50% และสามารถเพิ่มจำนวนที่จอดรถได้มากเป็น 2 เท่าของที่จอดรถแบบปกติ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของผู้ประกอบการในการนำที่จอดรถอัตโนมัติมาใช้ จากผลการศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะว่า ผู้ประกอบการควรคำนึงถึงความปลอดภัยและความสะดวกในการใช้งานให้มากขึ้น โดยควรจัดวางตำแหน่งลิฟต์รถแต่ละตัวให้มีระยะห่างที่เหมาะสมและมีพื้นที่วงเลี้ยวที่สัมพันธ์กับระยะวงเลี้ยวรถ และควรจัดพื้นที่รอเข้าจอดรถหน้าลิฟต์ให้เพียงพอ มีระบบป้องกันประตูลิฟต์ปิดเองและมีระบบตรวจสอบการเข้าเกียร์จอดรถหรือมีระบบยึดล้อรถเพื่อป้องกันรถไหลเลื่อนตกจากลิฟต์ยกรถและถาดรับรถ รวมทั้งมีการบริหารจัดการและดูแลบำรุงรักษาระบบที่จอดรถอัตโนมัติอย่างสม่ำเสมอให้เป็นไปตามสัญญาของประกันที่ทำไว้กับบริษัทผู้จัดหาและติดตั้งระบบอย่างเคร่งครัด | |
dc.description.abstractalternative | Parking spaces play a pivotal role in residential condominiums, but they require compliance with legally stipulated regulatory standards to ensure adequate supply. To meet this need, it has been noted that, at present (2022 AD), many residential condominiums are increasingly incorporating automated parking systems. This study aims to examine the concepts and methodologies employed when selecting automated parking system designs for condominium projects, as well as analyzing their usage patterns and management practices. Furthermore, the article delves into the advantages and limitations of automated parking systems across various projects, focusing on 4 case studies of residential condominiums in the Watthana district. The study utilizes surveys, observations, and interviews with associated stakeholders on the implementation of automated parking systems. The study reveals that all four projects share a common objective in adopting automated parking systems to optimize building space, efficiently manage salable areas, and save time and energy of searching for parking. Designers and suppliers play a leading role by providing information and guidance in selecting appropriate automated parking systems tailored to the characteristics of the project plot size and building layout. Property developers for each project decide on the system type based primarily on cost considerations, categorizing them into two types: (1) the Pallet Type, exemplified by the Cart Parking System used in the CELES Asoke project and the Tower Parking System in the Circle Sukhumvit 31 project, and (2) the Non-Pallet Type, which involves robotic systems for parking cars within or outside the lift shaft, exemplified by the KnightsBridge Prime Onnut and Muniq Sukhumvit 23 projects. The Non-pallet Type system requires an average parking time of 1.55 minutes, faster than the Pallet Type at an average time of 2.21 minutes. All projects follow a consistent preventive maintenance schedule every month, adhering to the warranty period. However, the KnightsBridge Prime Onnut project employs additional contracted technicians for ongoing system care. Survey results indicate shared challenges among the projects, including difficulties in both internal and external parking alignment due to insufficient turning space and waiting areas in front of the lift. Similarities in terms of benefits include saving space, while differences lie in ease of operation and maintenance costs, the Pallet Type being simpler and more cost-effective to operate. The Non-pallet Type, while modern and efficient, incur higher parking and maintenance costs, along with a more complex troubleshooting and repair process. The analysis results indicate that automated parking, characterized by the absence of ramps and reduced driveways, utilizes significantly less space compared to conventional building parking, saving up to 50% of parking space. Thus, it allows for an increase in parking capacity by up to twice that of conventional parking. This spatial efficiency emerges as a crucial factor influencing property developers' decisions in adopting automated parking systems. Based on the study findings, it is recommended that property developers should prioritize safety and user convenience. This involves strategically placing each car lift in an area with appropriate spacing and designing turning areas relative to the turning radius of the vehicles. Additionally, there should be sufficient waiting space in front of the lift entrances. Implementing self-closing lift doors, gear engagement checks, or wheel clamp systems is crucial in preventing vehicles from slipping off the lift during operation. Moreover, effective management and regular maintenance are essential to ensure the consistent performance of the automated parking system in accordance with the contractual obligations of the supplier company. | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.subject.classification | Social Sciences | |
dc.subject.classification | Social Sciences | |
dc.subject.classification | Real estate activities | |
dc.title | การนำที่จอดรถอัตโนมัติมาใช้ในอาคารชุดพักอาศัยกรณีศึกษา โครงการอาคารชุดในเขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร | |
dc.title.alternative | Utilization of automatic parking in residential condominiums, case study of condominiums in Watthana district, Bangkok | |
dc.type | Thesis | |
dc.degree.name | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์ | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |