dc.contributor.advisor |
จารุณี หงส์จารุ |
|
dc.contributor.advisor |
พันพัสสา ธูปเทียน |
|
dc.contributor.author |
สิริจุฑา รักชาติเจริญ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2024-02-05T09:59:09Z |
|
dc.date.available |
2024-02-05T09:59:09Z |
|
dc.date.issued |
2566 |
|
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84184 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566 |
|
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์เล่มนี้ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกระบวนการสอนการแสดงสำหรับนักร้องเพลงลูกกรุง โดยใช้หลักการและแบบฝึกหัดลี สตราสเบิร์กและแซนฟอร์ด ไมส์เนอร์มาปรับใช้สำหรับการสอน โดยมีวัตถุประสงค์คือเพื่อค้นหาแนวทางการสอนการแสดงและแบบฝึกหัดทางการแสดงที่เหมาะสมในการถ่ายทอดความรู้สึกผ่านบทเพลงสำหรับนักร้อง และเพื่อให้ผู้วิจัยได้ศึกษากระบวนการสอนการแสดงสำหรับนักร้องอย่างลึกซึ้ง ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการในฐานะครูสอนการแสดง และได้เลือกศึกษากับผู้เข้ารับวิจัยจำนวน 5 คน โดยมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 1) เป็นบุคคลกลุ่มเพศใดก็ได้ 2) เป็นผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป 3) เป็นผู้ที่มีพื้นฐานการร้องเพลงอยู่แล้ว 4) เป็นผู้ที่ต้องการพัฒนาศักยภาพของตนเองในด้านถ่ายทอดความรู้สึกผ่านบทเพลง ผู้วิจัยได้ออกแบบแผนการสอนที่เน้นใช้แบบฝึกหัดของลี สตราสเบิร์ก และแซนฟอร์ด ไมส์เนอร์ให้ผู้เข้ารับวิจัยได้ฝึกไว้เป็นหลัก ซึ่งมีระยะเวลาการสอนทั้งหมดจำนวน 12 ครั้ง ครั้งละ 3 ชั่วโมง และเมื่อผู้เข้ารับวิจัยเรียนครบตลอดแผนการสอนแล้วจึงได้จัดคอนเสิร์ตประกอบวิทยานิพนธ์เพื่อแสดงต่อหน้าผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อนำข้อเสนอแนะรวมถึงแบบสอบถามจากผู้ชมมาประเมินผล ผลการวิจัยพบว่าแบบฝึกหัดและหลักการของทั้งลี สตราสเบิร์กและแซนฟอร์ด ไมส์เนอร์ ที่ผู้วิจัยนำสอนสามารถใช้พัฒนาผู้เข้ารับวิจัยได้เป็นอย่างดี ซึ่งผู้วิจัยค้นพบว่าหลักการของลีสตราสเบิร์กในเรื่องของการสร้างความจริงจากภายในโดยใช้จิตนาการแห่งการรื้อฟื้นความทรงจำในอดีตนั้น สามารถทำให้ผู้เข้ารับการวิจัยสามารถถ่ายทอดและสื่อสารความรู้สึกออกมาได้อย่างจริงใจได้จริง รวมถึงแบบฝึกหัดการพูดซ้ำ (Repetition) ในหลักการของแซนฟอร์ด ไมส์เนอร์ที่เน้นให้ผู้เข้ารับวิจัยอยู่กับมีสติปัจจุบันขณะแม้อยู่ภายใต้สถานการณ์สมมตินั้นก็สามารถทำให้ผู้เข้ารับวิจัยอยู่กับปัจจุบันขณะ (Moment) ได้เป็นอย่างดี แต่ทั้งนี้ฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอเพื่อรักษาเสถียรภาพการอยู่กับปัจจุบันขณะให้มั่นคงจนสามารถนำสามารถมาใช้ได้เป็นเองโดยอัตโนมัติ การทำวิจัยครั้งนี้ทำให้ผู้วิจัยค้นพบการที่จะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดนั้นแบบฝึกหัดอย่างเดียวอาจจะไม่พอ จะต้องขึ้นอยู่กับความตั้งใจของผู้เรียนเองเพราะพลังแห่งความตั้งใจนี้จะส่งผลให้ผู้เรียนไม่ทำอะไรอย่างครึ่งๆ กลางๆ และสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างก้าวกระโดด อีกประการหนึ่งคือทักษะด้านการร้องเพลงของผู้เรียนเอง ผู้เรียนควรมีทักษะการร้องที่ดีอยู่แล้วจึงจะต่อยอดทักษะทางด้านนี้ต่อไปได้ เพราะหากยังพะวงเกี่ยวกับการร้องเพลงของตนเองอยู่ จะส่งผลทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่าสมาธิผิดที่ได้โดยง่าย นอกจากนี้ครูผู้สอนจำเป็นจะต้องมีความรู้ทางด้านการแสดงที่แม่นยำเพื่อที่จะได้ฝึกผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพอันนำไปสู่การพัฒนาอย่างสูงสุด |
|
dc.description.abstractalternative |
This thesis is about the process of acting coaching for Lukkrung singers using by the principle of Lee Strasberg and Sanford Meisner. The purposes are finding the guidelines for acting coaching and practices appropriate for expressing feelings through songs for the singers and to enable the research(s) to profoundly study the acting coaching processes for the singers. This research study was conducted by the researcher(s) as an acting coach for singers, and it studied five sampled singers with the following qualities: 1) having any gender, 2) being 18 years or older, 3) having a good singer skill and 4) desiring to improve their potentials for expressing feeling through songs. The teaching plans were designed by the researcher(s) by mainly applying the practices of Lee Strasberg and Sanford Meisner for the samples to practice. There were 12 sessions. Each session were three hours. After the samples studied according to all of the teaching plans, a concert was held as a part(s) of the thesis in order to show expert as well as to obtain suggestions returned for audiences for evaluations. According to the findings, it was found that the practices and principles of Lee Strasberg and Sanford Meisner used by the researcher(s) could effectively improve the singers. However, these were dependent on the learner’s desires to improve themselves because these desires would drive them to use all of their abilities and improve themselves very effectively. Additionally, these were also dependent on the singing skills of the learners. The learners should have good singing skills in order to improve further because they would easily have conditions that were called wrong concentrations if they were still concentrate on their singing skills. Finally acting coach should have accurate knowledge in order to effectively train students to achieve their improvable goal. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Arts and Humanities |
|
dc.subject.classification |
Arts, entertainment and recreation |
|
dc.subject.classification |
Music and performing arts |
|
dc.title |
กระบวนการสอนการแสดงสำหรับนักร้องเพลงไทยลูกกรุงโดยใช้หลักการของลี สตราสเบิร์กและแซนฟอร์ด ไมส์เนอร์ |
|
dc.title.alternative |
The process of acting coaching for Lukkrung singersusing the principles of lee Strasberg and Sanford Meisner |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
ศิลปการละคร |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|