DSpace Repository

โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในการเมืองโลก: กรณีศึกษาเส้นทางสายไหมดิจิทัลของสาธารณรัฐประชาชนจีน 2015-2021

Show simple item record

dc.contributor.advisor สรวิศ ชัยนาม
dc.contributor.author วิทวัส อภิญ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2024-02-05T10:03:25Z
dc.date.available 2024-02-05T10:03:25Z
dc.date.issued 2566
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84203
dc.description วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566
dc.description.abstract เนื่องจากความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้เส้นทางสายไหมดิจิทัลมีความสำคัญมากขึ้น (Digital Silk Road; DSR) โดย DSR เป็นส่วนหนึ่งของโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative; BRI) ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาระดับทวีปของสาธารณรัฐประชาชนจีน ด้วยความสำคัญที่มากขึ้นนี้นำไปสู่การศึกษาถึงเป้าหมายของ DSR และวิธีการของจีนเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว งานศึกษานี้จึงมีขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การศึกษา DSR มีความจำเป็นโดยเฉพาะในประเด็นเรื่องการลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับดิจิทัลทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลอันเป็นรากฐานของการคงอยู่ของกิจกรรมทางดิจิทัลโดยรวม และสามารถเป็นตัวแปรต้นในการศึกษาผลกระทบที่เกิดจากโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวในการเมืองระหว่างประเทศ ข้อค้นพบในงานศึกษานำไปสู่คำตอบของเป้าหมายของ DSR คือการตอบสนองต่อปัจจัยภายในว่าด้วยความท้าทายทางเศรษฐกิจและความท้าทายทางข้อมูล รวมถึงปัจจัยภายนอก คือ การเมืองระหว่างประเทศโดยเฉพาะประเด็นความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา ทั้งสองปัจจัยกลายเป็นแรงผลักให้จีนแสวงหาอธิปไตยทางดิจิทัล เพื่อให้ DSR ประสบความสำเร็จจีนได้ดำเนินการลงทุนในต่างประเทศเกี่ยวกับดิจิทัลทั้งทางตรงและอ้อม โดยวิธีการทางเศรษฐกิจของจีนสามารถศึกษาผ่านเครื่องมือของเสรีนิยมใหม่อย่าง โซน (Zone) การสร้างนิเวศเศรษฐกิจ (business ecosystem) นอกจากนี้ยังมีการก่อร่างของโครงร่างระบบระหว่างประเทศของจีนผ่านการนำเสนอระเบียบดิจิทัลที่มาพร้อมกับ DSR
dc.description.abstractalternative The importance of digital technology has led to the growing significance of the Digital Silk Road (DSR). DSR is part of the Belt and Road Initiative (BRI), a transcontinental development program of the People's Republic of China. It is therefore crucial to study the goals of DSR as well as China's tools for achieving them. Foregrounding the importance of digital technology, this thesis focuses on DSR, especially China’s direct and indirect investments in digital-related industries and the digital infrastructure, which is also a factor impacting international politics. It shows that economic and information challenges are the dominant internal factor driving DSR while relations with the United States serve as the main external factor. These two factors are behind China's pursuit of digital sovereignty. To facilitate the success of DSR, China has relied not only on direct and indirect overseas investments but also neoliberal zoning technology to carve out its own digital and business ecosystem. The shape of China's international system is also coming into full view through the introduction of the digital order that is accompanying DSR.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Economics
dc.subject.classification Arts and Humanities
dc.subject.classification Social Sciences
dc.subject.classification Information and communication
dc.subject.classification Basic / broad general programmes
dc.title โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในการเมืองโลก: กรณีศึกษาเส้นทางสายไหมดิจิทัลของสาธารณรัฐประชาชนจีน 2015-2021
dc.title.alternative Digital infrastructure in global politics: a case study of the people's republic of China's Digital Silk Road, 2015-2021
dc.type Thesis
dc.degree.name รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record